ชัวร์ก่อนแชร์: แสงจันทร์วันเพ็ญส่งผลต่อการนอนหลับ จริงหรือ?

03 ตุลาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

1.ผลวิจัยพบว่าแสงจันทร์คืนวันเพ็ญทำให้นอนหลับยากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้คนในพื้นที่ชนบท
2.นอกจากแสงจันทร์แล้ว แสงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกัน


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

หนึ่งในข้อโต้แย้งเรื่องอิทธิพลของดวงจันทร์กับวิถีชีวิตของผู้คนมากที่สุด คือแสงของดวงจันทร์กับการนอนหลับ เมื่อมีความเชื่อว่า ในคืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์ส่องสว่างเต็มดวง จะเป็นช่วงที่ผู้คนการนอนหลับยากกว่าช่วงอื่น ๆ ของเดือน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


ความสว่างของแสงจันทร์วันเพ็ญ

การคิดค้นหลอดไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างในปัจจุบัน ทำให้อิทธิพลของแสงจันทร์ต่อวิถีชีวิตของผู้คนน้อยกว่าในอดีตอย่างมาก

ขณะที่ค่าความสว่างของแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญมีประมาณ 0.1-0.3 lux ถือว่าน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าความสว่างของไฟส่องทางตามท้องถนน ซึ่งมีค่าความสว่างประมาณ 5-15 lux ส่วนจอแสดงผลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ก็มีค่าความสว่างไม่น้อยกว่า 40 lux

ระดับความสว่างของแสงจันทร์

อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ชนบทซึ่งการใช้ไฟฟ้าในยามค่ำคืนมีอย่างจำกัด อิทธิพลของแสงจันทร์ยังมีมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง

Sleep Onset Latency

ในระหว่างการนอน Sleep Onset Latency (SOL) คือช่วงเริ่มต้นที่ร่างกายเข้าสู่กระบวนการนอนหลับ โดยเชื่อว่าการถูกรบกวนด้วยแสงสว่างทำให้ร่างกายใช้เวลาในช่วง SOL นานขึ้น ทำให้คุณภาพของการนอนลดน้อยลง เช่น นอนยากขึ้นหรือนอนน้อยกว่าปกติ

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า ในคืนที่ดวงจันทร์ส่องสว่างเต็มดวง จะพบผู้คนที่มีปัญหาด้านการนอนมากกว่าปกติ

งานวิจัยปี 2013 ของมหาวิทยาลัยเบเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการนอนของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 รายด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ระหว่างนอนหลับ พบว่าในช่วงคืนก่อนพระจันทร์เต็มดวง กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาก่อนหลับนานกว่าปกติ 5 นาที นอนน้อยกว่าปกติ 20 นาที และอยู่ในสภาวะหลับลึกน้อยกว่าปกติที่ 30%

สอดคล้องกับงานวิจัยปี 2021 ที่ศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยเยลจากสหรัฐอมเริกา และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคีล์เมส จากประเทศอาร์เจนติน่า

ทีมวิจัยศึกษากระบวนการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยวอชิงตันจำนวน 464 ราย และ ชาวโทบา ชนพื้นเมืองในประเทศอาร์เจนติน่าจำนวน 98 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมือง กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชนบทที่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยแต่ละคนจะถูกติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบการนอนหลับที่ข้อมือเป็นเวลา 1-2 เดือน

การวิจัยพบว่าในช่วง 3-5 วันก่อนคืนวันเพ็ญ กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาก่อนหลับนานกว่าปกติระหว่าง 30-80 นาที และนอนน้อยกว่าปกติระหว่าง 20-90 นาที โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชนบทที่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด มีปัญหาด้านการนอนหลับในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองซึ่งมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง

แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญต่อการนอนหลับของผู้คนในพื้นที่ชนบทที่การใช้ไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงอย่างชัดเจน

Circadian Rhythm

จุดที่น่าสังเกตจากงานวิจัยปี 2021 คือการพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ชานเมืองบางรายกลับมีปัญหาด้านการนอนหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชนบท

ส่วนผลวิจัยปี 2013 ก็พบว่า ผลกระทบของการนอนหลับในคืนวันเพ็ญ ส่งผลต่อผู้คนแม้ในคืนที่ไม่ได้อยู่ในที่ที่แสงจันทร์ส่องถึงห้องนอนก็ตาม

ผลกระทบของแสงต่อนาฬิกาชีวภาพ

นักวิจัยมองว่า นอกจากแสงจันทร์คืนวันเพ็ญแล้ว ปัญหาการนอนหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง อาจมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของนาฬิกาชีวภาพหรือ Circadian Rhythm วงจรการทำงานของร่างกายที่ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ในรอบวัน รวมถึงการนอนหลับ

เนื่องจากนาฬิกาชีวภาพถูกกำหนดตามช่วงเวลาของการสัมผัสแสงสว่างและความมืด การสัมผัสแสงสว่างในเวลากลางคืนมากเกินไป จะเป็นการรบกวนการควบคุมการนอนหลับที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวภาพ

เมื่อนาฬิกาชีวภาพถูกรบกวนซ้ำ ๆ จะส่งผลกระทบต่อการนอน ซึ่งการอดนอนบ่อย ๆ จะกระตุ้นหรือก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท และโรคไบโพลาร์

นอกจากแสงสว่างจากดวงจันทร์แล้ว การสัมผัสแสงจากหลอดไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนเป็นประจำ ก่อให้เกิดปัญหาด้านการนอนหลับได้เช่นเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://en.wikipedia.org/wiki/Lunar_effect
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5299389/
https://www.healthline.com/health/full-moon-effects
https://edition.cnn.com/2021/01/27/health/moon-phase-sleep-study-wellness-scn/index.html
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7840136/
https://www.science.org/content/article/yes-you-can-blame-moon-bad-night-s-sleep
https://www.cell.com/current-biology/fulltext/S0960-9822(13)00754-9?_returnURL=https%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS0960982213007549%3Fshowall%3Dtrue

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ จากภาคใต้ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก หารือผู้นำและภาคเอกชนชั้นนำของโลก

กทม.จำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามรถบรรทุกวิ่ง เริ่มคืนนี้!

ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามสถานการณ์ฝุ่น กทม. คาดสุดสัปดาห์ระบายอากาศดีขึ้น พร้อมจำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามวิ่งรถบรรทุก เริ่มคืนนี้! ย้ำประชาชนช่วยสอดส่องการลอบเผา ต้นเหตุฝุ่น PM 2.5

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว วันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้ แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟน ฝากลูกหลานช่วยด้วย