“กองทุนสื่อฯ” ครบ 8 ปี เตรียมจัด “มหกรรมสื่อ” หนุนซอฟต์พาวเวอร์ไทย

8 มี.ค. 66 “กองทุนสื่อฯ” แถลงข่าวเตรียมจัด “มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” 24-26 มีนาคม 2566 มุ่งส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศสื่อที่ดี แง้มโชว์ “Nora Thai Fit” ประยุกต์มโนราห์ดั้งเดิมเป็นท่าออกกำลังกาย หนุนซอฟต์พาวเวอร์ สร้างมูลค่าจากวัฒนธรรมไทย กรุงเทพฯ 7 มีนาคม 2566 – กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวเตรียมจัด “มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เนื่องในโอกาสครบรอบ 8 ปี ในวันที่ 24 – 26 มีนาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “Infinite X Inspiration สร้างแรงบันดาลใจ ไม่มีที่สิ้นสุด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศสื่อที่ดี ให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนผู้รับทุนพัฒนาสื่อให้เกิดผลสำเร็จในอนาคต นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯ กล่าวว่า ภายในงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะมีการแสดงผลงานของผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์มากกว่า 50 ผลงาน พร้อมด้วยศิลปินที่มีชื่อเสียง มีกิจกรรมและการแสดงตลอดทั้ง 3 วัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทหารยูเครนประจานชาวเมืองที่ฝักใฝ่รัสเซีย จริงหรือ?

เป็นคลิปการลงโทษผู้ต้องสงสัยในคดีปล้นชิงทรัพย์ร้านค้า ในระหว่างที่ประเทศยูเครนกำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ไม่ใช่การลงโทษเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมือง

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips 🤺 : ลืมบัตรประชาชนก็ขึ้นเครื่องบินได้ แค่มีแอป D.DOPA !

7 มี.ค. 66CyberTips โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์, พีรพล อนุตรโสตถิ์ ทุกคนทราบไหมคะว่าตอนนี้ เราไม่ต้องพกบัตรประชาชนตัวจริงไปยืนยันที่สนามบินแล้วนะ เพราะเราสามารถโชว์บัตรประชาชนดิจิทัลจากแอปพลิเคชัน  D.DOPA ได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่มีผลบังคับ ตั้งแต่ 10 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิเสธการแสดง Digital ID ของเราได้ค่ะ และวันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips จะพาทุกคนไปรู้จักกับแอปพลิเคชัน D.DOPA กันให้มากขึ้นค่ะ แอปพลิเคชัน  D.DOPA  คืออะไร ? D.DOPA เป็นระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล  (DOPA-Digital ID) ของกรมการปกครอง โดยฟังก์ชันหลักของแอปพลิเคชันนี้ คือ เราสามารถใช้บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านดิจิทัล (Digital ID) เพื่อยืนยันตัวตนแทนเอกสารแบบเดิมได้ แอปพลิเคชัน D.DOPA เป็นมากกว่าบัตรประชาชนดิจิทัล ! แอปพลิเคชัน D.DOPA ไม่ได้มีแค่บัตรประชาชนดิจิทัลอย่างเดียวนะคะ แต่สามารถทำได้อีกหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพแมลงจากผักบรอกโคลี จริงหรือ ?

เพลี้ยอ่อนผักสามารถกินได้ ไม่เป็นอันตราย แต่หากไม่อยากบริโภคควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และเขย่าผักในน้ำ หรือเอามือลูบ ก็จะทำให้เพลี้ยอ่อนหลุดออกจากผักได้

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips🤺: เปิดขั้นตอน “แจ้งความออนไลน์” แจ้งง่ายได้ทุกที่ แค่มีอินเทอร์เน็ต 

Cybertips โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์, พีรพล อนุตรโสตถิ์4 มี.ค.66ตั้งแต่ต้นปี 2565 ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รวมถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้เพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อทางออนไลน์  ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานีตำรวจ เพราะสามารถแจ้งความออนไลน์ได้ทุกที่ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการนี้จะช่วยให้สามารถติดตามผู้กระทำผิดกฎหมายมาดำเนินคดีได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วยนะ !   วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips ได้สรุปขั้นตอนการแจ้งความออนไลน์มาฝากทุกคนกันค่ะเข้าใช้งานเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ได้ที่  Thaipoliceonline หรือสแกนคิวอาร์โค้ดได้ตรงด้านล่างนี้ค่ะ เมื่อเราเข้าสู่เว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เป็นครั้งแรก เราต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนให้เรียบร้อยก่อนค่ะ สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่1. บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการลงทะเบียน ขั้นตอนนี้เราจะต้องกรอกข้อมูลทั้งหน้าบัตรและหลังบัตร เพื่อใช้ยืนยันตัวตน2. กรอกอีเมล เพื่อใช้รับรหัส OTP และนำมากรอกในระบบ เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ ขั้นตอนของการแจ้งความออนไลน์ กดปุ่มเมนู “แจ้งเรื่องใหม่” และเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวกับคดีให้พร้อม  กดปุ่มเมนู “แจ้งเรื่องใหม่” เพื่อเริ่มต้นการแจ้งความออนไลน์ ขั้นตอนที่ 1 กดอ่านรายละเอียดข้อตกลงและกดยอมรับ ขั้นตอนที่ 2 […]

[เพิ่ม 4 ธนาคาร] รวม 12 ธนาคาร เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุมิจฉาชีพ โทรได้ 24 ชั่วโมง ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

เสาวภาคย์ รัตนพงศ์, พีรพล อนุตรโสตถิ์, สุวัชรียา จันทร์บัวอัปเดตเมื่อ 11 มีนาคม 2566 จากปัญหาการหลอกลวงของแก๊งมิจฉาชีพที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เมื่อ 3 มีนาคม 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกหลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ มีการโอนเงินออกจากบัญชีผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและธนาคารของรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดแก่ประชาชน ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจรวม 8 แห่ง ได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโทรแจ้งเหตุ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสกัดกั้นความเสียหายให้เร็วที่สุด  ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888 กด 001 ธนาคารกรุงไทย  0-2111-1111 กด 108 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  1572 กด 5 ธนาคารกรุงเทพ  1333 หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หนุมานประสานกาย ต้มดื่มแก้ไอหอบหืด จริงหรือ ?

หนุมานประสานกายแก้หอบหืดได้จริงหรือ?

จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️

ส่วนที่จริง ✅ คือ หนุมานประสายกาย มีสรรพคุณรักษาอาการหอบหืด แก้ไอจริง

ส่วนที่ไม่จริง ❌ คือ วิธีการนำมาต้มดื่ม เพื่อให้หายจากอาการดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความจริง

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือน! ระวังแก๊งมิจฉาชีพแอบอ้าง สปส. หลอกโอนเงิน-ขโมยข้อมูลส่วนตัว

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ประชาสัมพันธ์เตือนประชาชนเกี่ยวกับแก๊งมิจฉาชีพที่ได้แอบอ้างสำนักงานประกันสังคม สร้างเว็บไซต์และเพจปลอม เพื่อหลอกให้ผู้ประกันตนกดลิงก์และขอข้อมูลส่วนตัว และนำไปสวมรอยทำธุรกรรมจนสูญเสียทรัพย์สิน รวมถึงก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนและยุ่งยากภายหลัง  ทางสำนักงานประกันสังคมจึงฝากเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ไม่หลงเชื่อข้อมูลจากโทรศัพท์ทางเดียว หากได้รับสาย ควรติดต่อสอบถามสำนักงานประกันสังคมโดยตรง และไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว การเงินและการทำธุรกรรมออนไลน์ รหัส OTP ที่ได้รับผ่าน SMS ที่สำคัญอย่าโอนเงินตามคำบอกของมิจฉาชีพเด็ดขาด  ทั้งนี้หากผู้ใดพบเห็นข้อความ SMS เพจปลอมหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ หรือได้รับโทรศัพท์ที่แอบอ้างชื่อสำนักงานประกันสังคม สามารถแจ้งไปยังสำนักงานประกันสังคมที่สายด่วน 1506 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากตกเป็นเหยื่อจากการโอนเงินให้มิจฉาชีพ สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายได้ทันที  ข้อมูลจาก : ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ชัวร์ก่อนแชร์: 4 หลักฐานยืนยันชาวยูเครนสนับสนุนระบอบนาซี จริงหรือ?

ภาพและคลิปทั้ง 4 การบิดเบือนข้อมูลเพื่อทำให้เชื่อว่ามีแนวคิดสนับสนุนระบอบนาซีในประเทศยูเครน

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์และโทษของทุเรียน จริงหรือ ?

มีการแชร์เกี่ยวกับผลไม้อย่างทุเรียนเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่า อันตราย กินทุเรียนกับเหล้าอาจทำให้ไส้ทะลัก บ้างก็ว่ากินทุเรียนช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ

ชัวร์ก่อนแชร์: 3 เหตุผลที่รัสเซียจำเป็นต้องรุกรานยูเครน จริงหรือ?

ไม่มีหลักฐานว่าชาวยูเครนส่วนใหญ่สนับสนุนระบอบนาซี, หรือเกิดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาคดอนบาส และไม่พบว่ายูเครนมีแผนพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ : HIFU รักษามะเร็งระยะสุดท้าย จริงหรือ?

ข้อความที่แชร์ต่อๆ กันมานั้นเป็นข้อความเก่าที่วนมาแชร์ใหม่ ตรวจสอบข้อมูล พบว่า แพทย์ไม่แนะนำถึงการใช้วิธีการรักษา ของ HIFU ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

1 102 103 104 105 106 127
...