ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้


7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน

อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ?


2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน เป็นต้น โดยอ้างว่าให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว หรือลงทุนน้อยได้ผลตอบแทนมาก การันตีผลกำไร แอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการลงทุน

อ่านบทความอุบายหลอกลงทุน เพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?, ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

3.เพจสถาบันการเงิน หรือธนาคารปลอม ชักชวนให้กู้เงิน ปล่อยสินเชื่อ บริการกู้เงินฉุกเฉินในวงเงินสูง โดยอ้างว่า สมัครง่ายอนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ไม่ตรวจสอบเครดิต มีกฎหมาย PDPA คุ้มครอง เป็นต้น มักให้โอนเงินค่ามัดจำ เงินค่าค้ำประกันไปก่อน

4.เพจโรงแรม หรือที่พักปลอมในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ หลอกลวงให้โอนเงินเป็นค่าจองที่พัก เงินประกันต่าง ๆ


5.เพจห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าออนไลน์ปลอม หลอกขายสินค้าออนไลน์ โอนเงินแต่ไม่ส่งสินค้า แม้ว่าความเสียหายจะไม่มาก แต่ผู้เสียหายมีจำนวนสูงเป็นอันดับที่ 1

6.เพจหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนปลอม  รับสมัครทำงานออนไลน์ มักเป็นงานง่ายๆ กดไลก์ กดแชร์ รีวิวสินค้า ที่พัก กดออเดอร์สินค้าเป็นต้น โดยจะให้โอนเงินเข้าไปในระบบให้เพียงพอก่อนถึงจะทำกิจกรรม หรือทำภารกิจได้ เริ่มแรกได้เงินคืนจริงภายหลังถอนเงินไม่ได้

7.เพจปลอมแอบอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือบุคคลธรรมดา โดยใช้เหตุการณ์สำคัญๆ เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ กิจกรรม โครงการต่างๆ หลอกลวงรับเงินบริจาค หรือเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากประชาชนผู้ใจบุญ

เช็กให้ชัวร์ เพจเฟซบุ๊กแท้ ดูอย่างไร ?

  1. เพจเฟซบุ๊กปลอมมักมีการซื้อโฆษณาเพื่อให้คนเห็นและเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ มักแอบอ้างข้าราชการระดับสูง หรือบุคคลสำคัญ หากตรวจสอบให้ดีจะพบว่ามีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงานที่ไม่สอดคล้องกันกับเพจ
  2. เพจเฟซบุ๊กปลอม หากตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ จะพบว่าสร้างขึ้นมาได้ไม่นาน และอาจเคยเปลี่ยนชื่อมาจากเพจอื่นที่น่าสงสัย หรือมีผู้ดูแลเพจอยู่ต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศไทย
  3. เพจเฟซบุ๊กจริงจะต้องมีเครื่องหมายถูกสีฟ้ายืนยันตัวตน หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม
  4. เพจเฟซบุ๊กจริง มักจะมีส่วนร่วมในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่อง รวมถึงมีจำนวนผู้ติดตามที่ไม่น้อยจนเกินไป
  5. ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ผ่านสังคมออนไลน์ต่าง ๆ โดยเด็ดขาด หากต้องการแจ้งความออนไลน์ ต้องแจ้งผ่าน https://thaipoliceonline.com เท่านั้น อ่านบทความแจ้งความออนไลน์ด้วยตนเอง : เปิดขั้นตอน “แจ้งความออนไลน์” แจ้งง่ายได้ทุกที่ แค่มีอินเทอร์เน็ต
  6. หลีกเลี่ยงการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา เพราะมักจะเป็นบัญชีม้าที่มิจฉาชีพเตรียมเอาไว้
  7. ตรวจสอบให้แน่ใจ โดยการติดต่อไปยังหน่วยงานนั้น ๆ ผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์โดยตรง เพื่อสอบถาม หรือแจ้งให้ทำการตรวจสอบทันที

ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

ผู้ว่าฯ สตง. เปิดใจครั้งแรก ยันรอผลสอบสาเหตุตึกถล่ม

ผู้ว่าฯ สตง. เปิดใจครั้งแรก ยันรอผลสอบสาเหตุตึกถล่มจากผู้เชี่ยวชาญ 22 ท่าน พร้อมให้ข้อมูลเต็มที่ ผลสอบออกมาเป็นอย่างไร ก็จะยอมรับ ย้ำเชื่อมั่นความโปร่งใส ขณะนี้ สตง.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง บ.อิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด

ปชช.กลับบ้านสงกรานต์ แน่นสถานีขนส่งหมอชิต 2

บรรยากาศที่สถานีขนส่งฯ หมอชิต 2 ประชาชนเข้าใช้บริการแน่นขนัด บขส. ยืนยันจัดรถเสริมไว้บริการเพียงพอ พร้อมทั้งจัดจุดประสานงานจราจร ให้รถโดยสารเข้าถึงชานชาลาได้เร็วขึ้น

ไล่ล่า “บุญเกิด” มือยิง ตร.ดับ ตั้งค่าหัว 1 แสนบาท

คดีคนร้ายยิงตำรวจเสียชีวิต ขณะเข้าตรวจค้นกระท่อมภายในสวนยางพารา เจ้าหน้าที่ยังคงระดมกำลังค้นหาตัวมือยิง เชื่อยังหลบอยู่ในพื้นที่

ลุ้นปาฏิหาริย์ ช่วยแรงงานติดใต้ซากอาคาร สตง.

ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างอาคาร สตง. ถล่ม ยังคงดำเนินต่อเนื่อง หลังพบแสงสัญญาณแห่งความหวัง ที่คาดว่ามีผู้ติดค้างสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่เร่งเจาะเปิดพื้นที่พร้อมเติมท่ออากาศลงไป