สศช. 19 ก.พ.- สศช.เผยจีดีพีปี 60 ขยายตัวร้อยละ 3.9 คาดจีดีพีปี 61 โตต่อเนื่องร้อยละ 4.1 ยอมรับบาทผัวผวนแนวโน้มแข็งค่า ส่งเสริมเอกชนออกไปลงทุนต่างประเทศ
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งปี 60 ขยายตัวได้ร้อยละ 3.9 หลังจากจีดีพีไตรมาส 4 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก, ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 3.9 , ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 4.3 นับว่า GDP ขยับเพิ่มจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ในปี 59 เพราะการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.7 ภาคเกษตรเติบโตดีขึ้นร้อยละ 6.2 จากเคยติดลบร้อยละ 2.5ในปี 59 ส่วนการส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.7 เร่งสูงขึ้นจากปี 59 ขยายตัวร้อยละ 0.1 นับว่า นับว่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 6 ปี อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 0.7 ขนาดจีดีพีของประเทศ 15,450 พันล้านบาท หรือ 455.4 พันล้านดอลลาร์ สอร. รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทย 228,371 บาทต่อปี หรือ 6,729 ดอลลาร์ สอร.ต่อหัวต่อปี
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 61 สศช.ยังคาดการณ์จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.1 หรืออยู่ในช่วงร้อยละ 3.6-4.6 แต่ได้ทบทวนปัจจัยหลายภายใน ทั้งปรับเป้าหมายใหม่จากจีดีพีโลกจากร้อยละ 3.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 3.8 เพราะอัตราแลกเปลี่ยน ผันผวนเดิมคาดการณ์เงินบาทอ่อนค่ามีราคา 33.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงทบทวนค่าเงินบาทใหม่ แข็งค่าประมาณ 31.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะสหรัฐอาจปรับเพิ่มดอกเบี้ย การลดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศจากเดิมขยายตัวร้อยละ 8.1 เหลือเกินดุลร้อยละ 7.8 เพื่อทำให้ลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในการนำรายได้เข้ามาแลกเป็นเงินบาท จึงต้องใช้โอกาสนี้เร่งรัดนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อลงทุนของรัฐวิสาหกิจและเอกชน หรือการส่งเสริมให้ภาคเอกชนรายใหญ่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ
ส่วนราคาน้ำมันตลาดโลกเมื่อเศรษฐกิจเติบโตคาดว่าจะปรับสูงขึ้นด้วย คาดว่าตลาดดูไบราคา 55-65 บาทต่อดอลล์ สรอ.ต่อาร์เรล การส่งออกในรูปดอลลาร์ สอร. ปรับจากร้อยละ 5.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 ถือว่าขยับเป้าหมายส่งออกจากเดิม เพราะมองว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวโตต่อเนื่อง นับว่าศักยภาพในการส่งออกยังสูง เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวซึ่งได้ปรับเป้าหมายใหม่ ส่วนอัตราเงินเฟ้อยอมรับว่าหลังจากมีปัญหาภาวะเงินฝืดร้อยละ 0.2 ในปี 59 และเริ่มดีขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 60 จากนั้นปี 61 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 0.9-1.9 นับว่าเป็นเงินเฟ้อนอ่อนสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
แนวทางบริหารในของรัฐบาลในปี 61 ต้องมุ่งเน้นส่งเสริมการผลิตภาคเกษตรให้เข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากน้ีรองนายกฯสมคิด ยังกำหนดแผนผลักดันการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ให้เติบโตต่อเนื่องจากปี 60 ผลักดันการลงทุนภาครัฐเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ร้อยละ 72 และการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจให้ได้ร้อยละ 77 การสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนจากความต่อเนื่องของนโยบายหลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกตั้ง การดูแลเศรษฐกิจฐานรากให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น .-สำนักข่าวไทย