สศช.เผยหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/67 ต่ำกว่า 90% ในรอบเกือบ 4 ปี

กรุงเทพฯ 25 พ.ย. – สศช.เผยหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 89.6% ต่อจีดีพี ต่ำกว่า 90% ในรอบเกือบ 4 ปี แต่สินเชื่อส่วนบุคคลยังสูง หนี้ NPLs-อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ระบุลดเงินเข้า FIDF ต้องไม่กระทบงบประมาณ ชี้ศึกษา NIT เป็นกลไกให้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย


นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2567 โดยสถานการณ์แรงงานค่อนข้างทรงตัว การจ้างงานในสาขานอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวได้ ขณะที่ภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่อง ด้านค่าจ้าง เพิ่มขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากช่วงเดียวกันของปี 2566 ตัวอยู่ที่ 1.02% หรือจำนวน 4.1 แสนคน ขณะที่ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.1%

สำหรับหนี้สินครัวเรือนไตรมาส 2 ปี 2567 มีมูลค่า 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัวชะลอลงที่ 1.3% จาก 2.3% ในไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับลดลงมาอยู่ที่ 89.6% จาก 90.7% ของไตรมาสก่อน โดยหนี้สินครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัว ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง ประกอบกับคุณภาพสินเชื่อปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ขณะที่คุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดหนี้เสีย หรือ NPLs ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรมีมูลค่า 1.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 8.48% เพิ่มขึ้นจาก 8.01% ของไตรมาสที่ผ่านมา


ทั้งนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับ แนวโน้มการก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ลูกหนี้บ้านที่มีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงในการพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือน และการเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย แต่สิ่งสำคัญที่สุดลูกหนี้ต้องมีวินัยทางการเงินเพื่อไม่ก่อหนี้ใหม่ บวกกับมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) นั้น ต้องไม่ให้เกิดภาระเงินงบประมาณ ซึ่งจะนำมาใช้แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะต่อไป โดยที่ผ่านมากระทรวงการคลัง, ธปท., สมาคมธนาคารไทย และ สศช. ได้หารือกันมาโดยตลอด ซึ่งจะมีการแถลงรายละเอียดต่อไป

สำหรับ Negative Income Tax (NIT) ที่เป็นกลไกให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเป็นการรวมระบบการหารายได้และการให้ความช่วยเหลือไว้ในระบบเดียว ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในรูปแบบหนึ่ง แม้ในหลายประเทศจะนำระบบภาษีนี้มาประยุกต์ใช้แล้ว ในส่วนของ ประเทศไทยยังต้องศึกษารายละเอียดก่อนดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งประชาชนและภาครัฐ ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ความช่วยเหลือให้มีความชัดเจน การกำหนดรายได้และระดับการช่วยเหลือให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิและการจัดเตรียมงบประมาณเพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินการระบบภาษีนี้ และศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและภาระทางการคลัง ซึ่งจะช่วยจูงใจให้แรงงานนอกระบบภาษีกลับเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ได้สวัสดิการตามความเหมาะสม.-516-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย