fbpx

CMDF จับมือพันธมิตรเปิดแคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน”

กรุงเทพฯ 18 ต.ค. – CMDF จับมือพันธมิตรทุกภาคส่วน เปิดแคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” รณรงค์ให้ความรู้ เสริมภูมิคุ้มกันคนไทยให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ ชี้คดีหลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ติด 1 ใน 5 คดีอาชญากรรมออนไลน์ เสียหายกว่า 11,500 ล้านบาท


กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ร่วมกับพันธมิตรภาคตลาดทุน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานรัฐ เปิดแคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันการหลอกลงทุนภายใต้โครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” เสริมภูมิคุ้มกันให้ประชาชนมีความรอบคอบในการลงทุนมากขึ้น ผ่านการบูรณาการการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ครอบคลุมช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ในวงกว้าง เตือนประชาชนให้มีสติเพื่อจะไม่ถูกหลอกลงทุน ตอกย้ำให้ประชาชนรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ สื่อสารข้อเท็จจริง และตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) และประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหามิจฉาชีพที่ชักชวนให้ลงทุนผ่านโซเชียลมีเดียยังคงมีความรุนแรง และมีในหลากหลายรูปแบบ โดยมีการปรับเปลี่ยนกลโกงตลอดเวลา ซึ่งหากดูจากข้อมูลย้อนหลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) พบว่าการหลอกให้ลงทุน โดยเฉพาะการหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ติด 1 ใน 5 ของคดีอาชญากรรมออนไลน์และสร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 11,500 ล้านบาท CMDF ซึ่งมีบทบาทและพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย จึงได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ภายใต้โครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภาคตลาดทุน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานรัฐ และเพื่อรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องให้ประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลงทุน พร้อมนำเสนอแคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” เพื่อให้ความรู้ ย้ำเตือนให้ประชาชนมีความรอบคอบในการลงทุน และแนะนำช่องทางการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการรณรงค์จะมีการบูรณาการการสื่อสารออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ลงทุนและประชาชนในวงกว้างไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลงทุน และก้าวเข้าสู่ตลาดทุนอย่างถูกต้อง


ด้าน ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” ร่วมกับพันธมิตร ว่าสถานการณ์การหลอกลงทุนของมิจฉาชีพมีหลากรูปแบบ ทั้งการแอบอ้างองค์กร ชื่อ ภาพ ผู้บริหารของหลายหน่วยงาน รวมทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกลวงให้มาลงทุน ทั้งหมดนี้ล้วนสร้างความเสียหายแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก จากความร่วมมือภายใต้โครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” หน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมสื่อสารเตือนประชาชนและผู้ลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดขยายผลออกมาเป็นแคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” ในวันนี้ โดยสื่อสารให้ประชาชนทราบว่า ทุกครั้งที่ถูกชักชวนให้ลงทุน ควรตรวจสอบที่มาที่ไปของบริษัทต่างๆ ที่จะเข้าไปลงทุน แคมเปญยังเน้นการรณรงค์เพื่อให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องการหลอกลงทุนแก่ประชาชนในวงกว้าง ซึ่งเชื่อมั่นว่า แคมเปญนี้จะช่วยตอกย้ำให้คนไทยฉุกคิดก่อนลงทุน พร้อมทั้งเกิดความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบข้อมูลการลงทุนอย่างถูกวิธีมากยิ่งขึ้น

ภายใต้แคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน และพันธมิตรทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลอกลงทุน ผ่านการบูรณาการการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบที่ครอบคลุมช่องทางการสื่อสารต่างๆ ในวงกว้าง ทั้งการนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ การสื่อสารที่เข้าใจง่ายผ่านรายการ “ครูเพ็ญศรีจับโกงลงทุน” การจัดเสวนาอย่าหาว่าน้าสอนตอนพิเศษ “รู้ทันทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” โดย “น้าเน็ก เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา” พิธีกรชื่อดังผู้จัดรายการอย่าหาว่าน้าสอน และรายการคุยต้องรวย ที่มาเล่าเรื่องราวและประสบการณ์จากการเห็นบุคคลที่ถูกมิจฉาชีพหลอกลงทุนในรูปแบบต่างๆ โดยมี ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมจัดนิทรรศการพร้อมกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการหลอกลงทุนภายในงานเปิดตัวแคมเปญ ซึ่งจัดขึ้นที่ลานเซ็นทรัล คอร์ต ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปที่มีข้อสงสัยในเรื่องการลงทุน สามารถเข้าไป “เช็กให้ชัวร์ก่อนลงทุน” ผ่านทางแอปพลิเคชัน SEC Check First หรือทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทันที หรือโทรเช็กตรงกับบริษัทที่สนใจจะลงทุน


กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนและพันธมิตรมุ่งหวังว่า แคมเปญ “เช็กทุกดอก ไม่โดนหลอกลงทุน” ภายใต้โครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันและรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพหลอกลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยในขณะเดียวกัน ประชาชนยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออมเงินและการลงทุนอย่างถูกวิธี ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหลอกลงทุนได้ง่าย ซึ่งหลังจากนี้ทางโครงการฯ ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่จะมาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องการลงทุนให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รดน้ำศพอ๋อม อรรคพันธ์

บรรยากาศโศกเศร้า พิธีรดน้ำศพ “อ๋อม อรรคพันธ์”

บรรยากาศโศกเศร้า พิธีรดน้ำศพ “อ๋อม อรรคพันธ์” มีบุคคลในครอบครัว เพื่อนสนิท รวมถึงกลุ่มแฟนคลับ คนบันเทิงและผู้จัด ร่วมไว้อาลัย

บิ๊กแจ๊สชนะเลือกตั้ง

“บิ๊กแจ๊ส” แถลงขอบคุณทุกคะแนนที่ชนะขาด ลั่นพร้อมทำงานทันที

“บิ๊กแจ๊ส” ขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่ชนะขาด ฝากคิดคะแนนน้อยกว่าครั้งก่อน แต่ชนะทิ้งห่างกว่า 60,000 คะแนน

“ครูเบญ” กลับไปสอนโรงเรียนเดิม

กรณี “ครูเบญ” ร้องเรียนผลการสอบคัดเลือกบรรจุเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน สังกัด สพม.สระแก้ว กลับไปสอนโรงเรียนเดิม หลังผลการตรวจสอบคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ระเบียบกำหนดไว้

เมาแล้วขับ

กฎกระทรวงฯ ฉบับใหม่ อายุต่ำ 20 แอลกอฮอล์เกิน 20 MG% คือเมา

หลังจากราชกิจจาฯ เผยแพร่ กฎกระทรวงเกณฑ์ตรวจปัสสาวะ-ตรวจเลือด นักดื่มเมาแล้วขับฉบับใหม่ ต่อไปนี้ ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาแล้วขับ

ข่าวแนะนำ

ครบ 1 เดือน ดินถล่มชุมชนกะรน ยังไร้ทางออก

ครบรอบ 1 เดือนเหตุการณ์ดินจากเทือกเขานาคเกิด ถล่มลงมาทับบ้านเรือนประชาชนในตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 13 ราย ทั้งคนไทยและต่างชาติ ผู้คนและสภาพพื้นที่เป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

ชีวิตต้องสู้…ส่งกำลังใจชาวแม่สายก้าวผ่านวิกฤติชีวิตจากภัยพิบัติ

ผ่านมาเกือบ 2 สัปดาห์แล้วที่ชาวบ้านหลายชุมชนชนชายแดนแม่สายเจอกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ และตอนนี้บ้านเรือนอาคารร้านค้ามากมายยังจมโคลน หลายคนยังเข้าบ้านไม่ได้ บางคนต้องยืนดูบ้านตัวเองที่เสียหายและต้องรื้อทิ้ง หลายคนต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองผ่านวิกฤติครั้งนี้ให้ได้

ภาคเหนืออ่วม ฝนตกหนัก น้ำป่าซัดถล่ม

ภาคเหนือยังวิกฤติ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย น้ำป่าทะลักเข้าท่วมบ้าน และทรัพย์สิน ขณะที่ลำปาง อ่วมหนัก บางจุดน้ำท่วมสูงถึง 3 เมตร เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ฟื้นฟูแม่สาย

ฝนตกหนัก อุปสรรคฟื้นฟูชายแดนแม่สาย

ฝนที่ตกหนักลงมาเมื่อเช้านี้ (23 ก.ย.) ทำให้การฟื้นฟูสภาพชุมชนชายแดนแม่สาย ซึ่งเต็มไปด้วยโคลน ยากลำบากมากขึ้น แม้จะมีการระดมกำลังคนและเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพิ่มมากขึ้น