เปิดกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

31 พฤษภาคม 2566 เผยกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ในมุมที่คุณอาจคาดไม่ถึง ผ่านประสบการณ์ตรงของ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ที่ได้ลงไปทดลองเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้ด้วยตนเอง ปัจจุบัน บนโลกออนไลน์มีภัยมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป มารู้กลวิธีของมิจฉาชีพ และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากเหล่าโจรบนโลกออนไลน์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ความโลภ-ความกลัว-ตัวปลอม | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

30 พฤษภาคม 2566 ความโลภ-โกรธ-หลง อาจเป็นกิเลสที่มนุษย์ละได้ แต่ความโลภ ความกลัว ตัวปลอม อาจทำให้คุณหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ได้ในที่สุด มากระตุ้นการตระหนักคิดให้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม จริงหรือ ?

29 พฤษภาคม 66 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม โดยให้นำก้านมะละกอไปปักในลูกแตงโม รอให้โต แล้วจะกลายเป็นต้นมะละกอที่ออกลูกเป็นแตงโมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโมตามที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผศ.ดร.อารยา กล่าวว่า “จากในคลิปวิดีโอเราจะเห็นว่า มีการนำลูกแตงโมมาเจาะรู และมีการใส่น้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นสารอาหารลงไป จากนั้นเสียบยอดมะละกอ เมื่อเวลาผ่านไปมีการเคลมว่าจะมีรากออกมาจากลูกแตงโม วิธีนี้ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากว่า การนำยอดมาปักชำจะเกิดรากฝอยไม่ใช่รากแก้ว ฉะนั้นเมื่อไม่มีรากแก้วจึงไม่มีโอกาสที่จะแทงทะลุเปลือกแตงโมออกมาเจริญเติบโตได้เลย” ผศ.ดร.อารยา กล่าวต่อว่า “ลูกแตงโมเมื่อมีการเจาะรูแล้ว จุลินทรีย์หรือเชื้อราต่าง ๆ จะลงไปในเนื้อผล ทำให้เกิดการเน่าเสีย ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์น่าจะย่อยยอดของมะละกอ ก่อนที่มะละกอจะออกรากได้ด้วยซ้ำ” ผศ.ดร.อารยา แนะนำวิธีสังเกตคลิปเกี่ยวกับการเกษตรที่น่าตื่นตาตื่นใจว่า “จากในคลิปมีการทิ้งลูกแตงโมไว้ 1-2 สัปดาห์ แต่ลูกแตงโมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังสดและไม่เหี่ยวเลย ตามปกติหากมีการเจาะ หั่น หรือผ่าแตงโมไปแล้ว เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาหารแพลนต์เบส ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช

อาหารแพลนต์เบส คือ รูปแบบการกินที่เน้นพืช อาจจะประกอบด้วย  ผักผลไม้, พืชตระกูลถั่ว, เมล็ดพืช และธัญพืช เป็นอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั่นเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสียงดังในหูเกิดจากไตอ่อนแอ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวว่า เสียงดังในหูมีสาเหตุจากอาการไตอ่อนแอ แนะนำให้บำรุงไต เพื่อช่วยให้อาการหูมีเสียงดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เสียงดังในหูไม่ได้เกิดจากไตอ่อนแอแต่อย่างใด แต่หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายหรือไตทำงานผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ เนื่องจากมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของไตกับหูมีความคล้ายกันสามารถกรองของเสียได้เหมือนกัน ในผู้ป่วยไตวายจะมีภาวะประสาทหูเสื่อมค่อนข้างเร็ว และส่วนใหญ่จะได้ยิน 2 ข้าง ผู้ป่วยไตวายประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นนั้น เนื่องจากว่ามีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายและมีผลต่อระบบเลือดทั้งหมด แต่หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และควบคุมอาการของไตได้ดี ประสาทหูก็จะเสื่อมตามอายุปกติ ส่วนการกินอาหารบำรุงไต เพื่อบำรุงหูนั้น จริง ๆ แล้วไม่เกี่ยวกัน เป็นอวัยวะคนละส่วนกัน หากผู้ป่วยมีความกังวลใจไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 สิ่งไม่ควรทำเมื่อล้างรถยนต์ จริงหรือ?

ห้ามล้างรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างจานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีรถยนต์ลอก สารในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์รุนแรงจะทำให้แล็กเกอร์หรือแว็กซ์เคลือบตัวรถหลุดออกไปด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันมะพร้าวรักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดมาจากฟัน จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือนว่า หินปูนที่เกาะตามฟัน เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่หลุดออกมาจากเนื้อฟันเมื่อเราแปรงฟัน เพราะไม่ใช้ยาสีฟันบางชนิดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แคลเซียมไม่สามารถหลุดออกมาได้ด้วยการใช้ยาสีฟันและการแปรงฟัน แต่จะมีการสูญเสียแคลเซียมในชั้นเคลือบฟันได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งเกิดจากการสร้างกรดอินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียที่จะเป็นสาเหตุทำลายชั้นเคลือบฟันและเกิดการสลายของแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ส่วนสารผสมในยาสีฟันจะมีสารขัดที่มีชื่อว่า ABRASIVE ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ คราบสี หรือคราบอาหารที่ตกค้างอยู่บนผิวฟัน เนื่องจากสารตัวนี้ (ABRASIVE) มีขนาดเล็กจึงไม่ไปทำลายพื้นผิวของชั้นเคลือบฟัน สารพวกนี้จึงมีความปลอดภัย ดังนั้น เรื่องหินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดออกมาจากฟัน จึงไม่เป็นความจริง และไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด สัมภาษณ์เมื่อ : 16 พฤษภาคม 2565ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคประสาทหูเสื่อม

19 พฤษภาคม 2566 – โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ และมีวิธีชะลอการเสื่อมหรือรักษาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร ? เกิดจากการสูญเสียที่หูชั้นใน  เช่น ความพิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ หรือการได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ โดยมากมักจะเป็นแบบถาวร ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ วิธีการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะประสาทหูเสื่อม 1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง 2. หากจำเป็นต้องอยู่สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอด ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่อุดหูกันเสียง ที่ครอบหู 3. ตั้งความดังเสียงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หูฟัง ให้อยู่ในระดับปลอดภัย 4.หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน เช่น รู้สึกได้ยินลดลง มีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MITM ATTACK ? — ปัญหาร้ายแรงด้านความปลอดภัยของข้อมูล

MITM ATTACK (เอ็ม-ไอ-ที-เอ็ม-แอ็ตแท็ก) ย่อมาจากคำว่า Man-in-the-Middle หมายถึง การแฝงตัวแทรกระหว่างการสื่อสารของสองฝ่ายเข้าใจว่ากำลังติดต่อกับตัวจริง

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกกล้วย DIY ง่าย ๆ แค่ปักลงดิน จริงหรือ ?

21 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกกล้วย DIY ปลูกง่าย ๆ โดยใช้ผลกล้วยสวย ๆ ปักลงไปในดิน จากนั้นให้นำขวดหรือถุงพลาสติกมาครอบเอาไว้ แล้วจะทำให้มีรากออกมาจากผลกล้วยได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายผลกล้วยไม่มีเนื้อเยื่อเจริญ ดังนั้นการนำผลกล้วยปักลงดินแล้วจะมีรากงอกออกมาจึงไม่สามารถเป็นไปได้ ในคลิปมีการสาธิตให้ดูว่ารากงอกออกมาจากผลกล้วยได้ ? อาจารย์กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่รากจะงอกออกมาจากผล เพราะลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณปลายผลนั้นไม่มีส่วนของเนื้อเยื่อที่จะไปกระตุ้นสร้างให้เกิดเป็นรากในสภาพธรรมชาติได้ แม้กระทั่งในห้องปฏิบัติการก็ถือว่าทำได้ยากเช่นกัน ส่วนในเรื่องของการนำขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกมาคลุมเอาไว้ ก็ไม่ได้ช่วยให้ผลกล้วยเจริญเติบโตไปเป็นต้นได้เช่นกัน” ในคลิปยังบอกอีกว่า เมล็ดในผลกล้วยจะสามารถงอกได้ ? อาจารย์กล่าวต่อว่า “โอกาสที่จะติดเมล็ดงอกเป็นต้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ถึงแม้กล้วยบางชนิดจะมีเมล็ด เช่น กล้วยน้ำว้า ซึ่งเราอาจจะพบการติดเมล็ดได้ แต่ในส่วนของกล้วยหอมนั้น ไม่พบการติดเมล็ดแต่อย่างใด และจากคลิปมีการสาธิตด้วยการใช้กล้วยหอม และบอกว่าจะงอกเป็นต้นใน 2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้นั้นจึงไม่มี ส่วนการปลูกกล้วยด้วยหัวปลีนั้นมีโอกาสแต่ก็น้อยมากเช่นกัน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เสียงดังในหู

เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]

1 39 40 41 42 43 52