ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ข้อดี-ข้อเสีย ของการรีแมพโปรแกรมรถยนต์ จริงหรือ ?

28 มีนาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อดี ข้อเสีย ของการปรับแต่งเครื่องยนต์ใหม่ หรือที่คนไทยเรียกว่า “การรีแมพโปรแกรมรถยนต์” เช่น เมื่อรีแมพแล้วจะทำให้รถยนต์แรงขึ้นแต่ประกันจะหมด หรือ จะช่วยทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับคุณสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ การรีแมพ คืออะไร ? รีแมพ (Remap) คือ การปรับจูนค่าระบบต่างๆ ในกล่อง ECU (Electronic Control Unit)  เพื่อทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้ออกตัวดีขึ้น รถแรงขึ้น จริงหรือ ? การรีแมพโปรแกรมรถยนต์ทำให้รถเร็วแรงขึ้นได้จริง ซึ่งการตอบสนองจุดนี้จะมากน้อยก็จะเป็นไปตามพื้นฐานของรถแต่ละคัน เช่น รถที่มีระบบอัดอากาศจะสามารถเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ เพราะรถที่มีระบบอัดอากาศ สามารถตั้งค่าปริมาณอากาศที่อัดเข้าไปในกระบอกสูบได้มากขึ้นด้วยการเพิ่มปริมาณอากาศนั่นเอง ทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น จริงหรือ ? เรื่องความประหยัดอาจแตกต่างกันไม่มากนัก แต่พอจับความรู้สึกได้ เช่น เคยใช้คันเร่ง 5% เท่ากันแต่ตอบสนองเร็วขึ้น การเร่งแซงใช้เวลาสั้นลง เมื่อไม่ต้องแช่คันเร่งยาวในการเร่งแซง […]

ChatGPT กับอนาคตของ A.I. ในโลกไซเบอร์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

30 มีนาคม 2566 #THECYBERMINDSET รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย : ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท การพัฒนาที่ข้ามขั้นไปกว่าเดิมของ “ChatGPT” ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือในโลกดิจิทัล ส่งผลให้มนุษย์ต้องเริ่มหาเครื่องมือไว้ “ควบคุม” สิ่งเหล่านี้ มาร่วมวิเคราะห์แนวโน้มของ Chatbot ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน บทบาทที่เปลี่ยนไปของ “ChatGPT” และความแนบเนียนในการสร้างผลงาน นำไปสู่การใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการหลอกลวงที่เกินกำลังมนุษย์ในการควบคุม เราจะมีวิธีรับมือกับความก้าวล้ำแบบนี้ได้อย่างไร ติดตามได้ใน EPISODE นี้

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : ฉีดฟิลเลอร์ ทำให้ตาบอดได้ จริงหรือ ?

จริง แชร์ได้ เนื่องจากเส้นเลือดบนใบหน้ามีความซับซ้อนและมีการเรียงตัวของเส้นเลือดของแต่ละคนต่างกัน หากฉีดฟิลเลอร์เข้าไปโดนเส้นเลือด ที่ลำเลียงไปบริเวณจอประสาทตา จะทำให้ เกิดการอุดตัน อาจตาบอดในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้ขาดแร่ธาตุ จริงหรือ ?

ส่วนที่จริง คือ การดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้ปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำ แต่อันตรายจากการดื่มน้ำมากเป็นภาวะที่เกิดได้ยากในคนปกติที่มีสุขภาพดี 

ส่วนที่ผิด คือ เมื่อร่างกายขาดแร่ธาตุขั้นวิกฤตแล้วให้ดื่มน้ำวิตามินเพื่อทดแทนนั้นไม่เป็นความจริง

“บัญชีม้า | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET “

ความเสียหายหลัก “หมื่นล้าน” จากการโจรกรรมออนไลน์และปัญหาจาก “บัญชีม้า” อาจเป็นผลมาจากโทษทางกฎหมายที่ไม่รุนแรงมากพอ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็น พรก. ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฉบับใหม่ที่จะช่วยป้องกันการตกเป็นเหยื่อและหยุดวงจรการหลอกลวงบนโลกไซเบอร์ มาอัปเดตความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายได้ใน EPISODE นี้

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสรรพคุณกระท่อมและกัญชา จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์

ยังไม่มีการศึกษาว่าใบกระท่อมแก้เบาหวานให้หายขาด และตามตำรับยาสมุนไพรดั้งเดิม กระท่อมก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในยาซึ่งมีสมุนไพรอื่นควบคู่อยู่ด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : สีปัสสาวะ บอกโรคได้ จริงหรือ?

จริง แชร์ได้
ปัสสาวะปกติควรมีสีเหลืองอ่อนและไม่มีกลิ่น หรือกลิ่นน้อยมาก แต่กลิ่นก็ขึ้นอยู่กับเราทานอะไรเข้าไป หากพบว่ามีสีเข้มขึ้นหรือมีปริมาณน้อย ขุ่น และกลิ่นฉุน อาจกำลังเป็นโรคอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นความผิดปกติของร่างกาย ต้องพบแพทย์

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : ข้อเท็จจริง เรื่อง ซีเซียม 

20 มีนาคม 2566 อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” ชวนคุยในหัวข้อ : ข้อเท็จจริง เรื่อง ซีเซียม คืออะไร – อันตรายแค่ไหน – สังเกตอาการอย่างไร ? กับ นพ. เพชร อลิสานันท์ แพทย์ประจำหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย จริงหรือ ?

อาการตากระตุกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านบน และหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านล่าง โดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกจะเป็นลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง ไม่เจ็บปวด เกิดขึ้นและหายได้เอง ยกเว้นในบางกรณีที่อาจมีอาการตากระตุกอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดกระตุกได้ตามปกติ เนื่องจากอาจเป็นอาการร่วมของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท

1 40 41 42 43 44 49