ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 สิ่งไม่ควรทำเมื่อล้างรถยนต์ จริงหรือ?

ห้ามล้างรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างจานเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีรถยนต์ลอก สารในน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์รุนแรงจะทำให้แล็กเกอร์หรือแว็กซ์เคลือบตัวรถหลุดออกไปด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันมะพร้าวรักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดมาจากฟัน จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือนว่า หินปูนที่เกาะตามฟัน เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่หลุดออกมาจากเนื้อฟันเมื่อเราแปรงฟัน เพราะไม่ใช้ยาสีฟันบางชนิดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แคลเซียมไม่สามารถหลุดออกมาได้ด้วยการใช้ยาสีฟันและการแปรงฟัน แต่จะมีการสูญเสียแคลเซียมในชั้นเคลือบฟันได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งเกิดจากการสร้างกรดอินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียที่จะเป็นสาเหตุทำลายชั้นเคลือบฟันและเกิดการสลายของแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ส่วนสารผสมในยาสีฟันจะมีสารขัดที่มีชื่อว่า ABRASIVE ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ คราบสี หรือคราบอาหารที่ตกค้างอยู่บนผิวฟัน เนื่องจากสารตัวนี้ (ABRASIVE) มีขนาดเล็กจึงไม่ไปทำลายพื้นผิวของชั้นเคลือบฟัน สารพวกนี้จึงมีความปลอดภัย ดังนั้น เรื่องหินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดออกมาจากฟัน จึงไม่เป็นความจริง และไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด สัมภาษณ์เมื่อ : 16 พฤษภาคม 2565ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคประสาทหูเสื่อม

19 พฤษภาคม 2566 – โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ และมีวิธีชะลอการเสื่อมหรือรักษาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร ? เกิดจากการสูญเสียที่หูชั้นใน  เช่น ความพิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ หรือการได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ โดยมากมักจะเป็นแบบถาวร ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ วิธีการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะประสาทหูเสื่อม 1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง 2. หากจำเป็นต้องอยู่สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอด ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่อุดหูกันเสียง ที่ครอบหู 3. ตั้งความดังเสียงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หูฟัง ให้อยู่ในระดับปลอดภัย 4.หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน เช่น รู้สึกได้ยินลดลง มีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MITM ATTACK ? — ปัญหาร้ายแรงด้านความปลอดภัยของข้อมูล

MITM ATTACK (เอ็ม-ไอ-ที-เอ็ม-แอ็ตแท็ก) ย่อมาจากคำว่า Man-in-the-Middle หมายถึง การแฝงตัวแทรกระหว่างการสื่อสารของสองฝ่ายเข้าใจว่ากำลังติดต่อกับตัวจริง

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกกล้วย DIY ง่าย ๆ แค่ปักลงดิน จริงหรือ ?

21 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกกล้วย DIY ปลูกง่าย ๆ โดยใช้ผลกล้วยสวย ๆ ปักลงไปในดิน จากนั้นให้นำขวดหรือถุงพลาสติกมาครอบเอาไว้ แล้วจะทำให้มีรากออกมาจากผลกล้วยได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายผลกล้วยไม่มีเนื้อเยื่อเจริญ ดังนั้นการนำผลกล้วยปักลงดินแล้วจะมีรากงอกออกมาจึงไม่สามารถเป็นไปได้ ในคลิปมีการสาธิตให้ดูว่ารากงอกออกมาจากผลกล้วยได้ ? อาจารย์กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่รากจะงอกออกมาจากผล เพราะลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณปลายผลนั้นไม่มีส่วนของเนื้อเยื่อที่จะไปกระตุ้นสร้างให้เกิดเป็นรากในสภาพธรรมชาติได้ แม้กระทั่งในห้องปฏิบัติการก็ถือว่าทำได้ยากเช่นกัน ส่วนในเรื่องของการนำขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกมาคลุมเอาไว้ ก็ไม่ได้ช่วยให้ผลกล้วยเจริญเติบโตไปเป็นต้นได้เช่นกัน” ในคลิปยังบอกอีกว่า เมล็ดในผลกล้วยจะสามารถงอกได้ ? อาจารย์กล่าวต่อว่า “โอกาสที่จะติดเมล็ดงอกเป็นต้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ถึงแม้กล้วยบางชนิดจะมีเมล็ด เช่น กล้วยน้ำว้า ซึ่งเราอาจจะพบการติดเมล็ดได้ แต่ในส่วนของกล้วยหอมนั้น ไม่พบการติดเมล็ดแต่อย่างใด และจากคลิปมีการสาธิตด้วยการใช้กล้วยหอม และบอกว่าจะงอกเป็นต้นใน 2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้นั้นจึงไม่มี ส่วนการปลูกกล้วยด้วยหัวปลีนั้นมีโอกาสแต่ก็น้อยมากเช่นกัน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เสียงดังในหู

เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันปรุงอาหาร สารพัดประโยชน์ จริงหรือ ?

17 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปรุงอาหารเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าใช้ทาไข่ไก่จะทำให้เก็บได้นานขึ้น และการอมน้ำมันกลั้วปากจะช่วยดูแลช่องปากได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ปรุงอาหารด้วยน้ำมันชนิดไหนดีกว่ากัน ? มีการแชร์กันหลายกระแสถึงเรื่องน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร บ้างก็ว่าชนิดนั้นดีกว่า ชนิดนี้ดีกว่า หลายคนได้รับแชร์ว่า น้ำมันหมูดีกว่าน้ำมันพืช บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวดีที่สุด บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสง่า ดามาพงษ์ “การกินน้ำมันเพื่อสุขภาพที่ดีไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเพียงอย่างเดียว ปริมาณในการใช้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งควรกินไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา” อันดับที่ 2 : 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมู จริงหรือ ? มีการแชร์ 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมูที่คุณอาจยังไม่รู้ เช่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาหูทิพย์ สมุนไพรแก้เสียงในหู จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์แนะนำว่ายาหูทิพย์ สามารถแก้อาการมีเสียงในหู หูอื้อ เสียงวิ้ง ๆ ในหูได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาหูทิพย์ รักษาอาการแก้เสียงดังในหู เพราะยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าสมุนไพรทำให้เสียงดังในหูเบาลง แพทย์กล่าวว่า “การที่ได้ยินเสียงในหู เป็นสัญญาณว่าประสาทหูเริ่มเสื่อม คนที่มีความกังวลควรจะมาพบแพทย์ เพื่อตรวจว่าเป็นโรคหรือไม่” เสียงดังในหูสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน -เสียงดังในหูแบบไม่ได้เป็นอันตราย เป็นการทำงานปกติของหูเรา อาการเสื่อมตามวัย และเสื่อมตามพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาการเสื่อมตามวัยมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป -เสียงดังในหูแบบที่ผู้อื่นได้ยินด้วย กรณีนี้มักเป็นเสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดแดงใหญ่, หลอดเลือดดำ บริเวณสมองและคอ จะเห็นได้ว่า อาการเสียงดังในหูเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการฟังเพลง ฟังเสียงเกมในระดับความดังที่สูงมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อเสียงวิ้ง ๆ ในหูได้ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คำเตือน แบตฯ รถ EV เสื่อมง่าย ไม่คุ้มค่า จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เสื่อมง่าย 5-8 ปี ใช้แล้วก็หมดราคา ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สรุปว่า เมื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าไป 5-8 ปี ราคาขายต่อรถยนต์ไฟฟ้ามือสองอาจจะน้อยกว่ารถยนต์สันดาป ส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากพอสมควร และหากเปรียบเทียบราคานี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายรวม เมื่อหักลบส่วนที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังคุ้มค่าที่จะใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่โดยตรงและค่ายผู้ผลิตรถยนต์เอง การพัฒนานี้ก็เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ EXCLUSIVE : ยาหอมและฮีทสโตรก

6 พฤษภาคม 2566 – ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? สัญญาณอาการฮีทสโตรกมีอะไรบ้าง ? การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? และยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย และตรงสรรพคุณ ? เรื่องนี้ตรวจสอบกับ : ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? ตอบ : ยาหอมลดความร้อนในร่างกายได้จริง แต่ต้องเลือกใช้ชนิดที่มีส่วนประกอบของเกสรดอกไม้และต้องใช้ควบคู่กับมาตรการป้องกัน แต่หากมีอาการรุนแรง ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? ตอบ : สามารถทำได้ โดยการอมไว้ใต้ลิ้นแล้วค่อย ๆ ละลาย แต่อาจารย์แนะนำว่าการนำไปละลายน้ำแล้วค่อย ๆ จิบ จะรับประทานได้ง่ายกว่าการอมไว้ใต้ลิ้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก ยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย ? ตอบ […]

1 37 38 39 40 41 49