ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : HACKTIVISM ? – นักเคลื่อนไหว ที่ใช้เทคโนโลยีแฮกข้อมูล

สิ่งนี้…โจมตีเป้าหมายด้วยทักษะทางคอมพิวเตอร์ สิ่งนี้…ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์ของกลุ่มผู้กระทำ และสิ่งนี้…พบเป็นคดีเจาะฐานข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายชื่อ จากช่องโหว่เว็บไซต์หน่วยงานรัฐ คือคำว่าอะไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย HACKTIVISM คืออะไร ?  : กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ใช้เทคโนโลยีในการแฮกข้อมูล วัตถุประสงค์ คือ : เคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ เพื่อบอกไอเดีย จุดยืน หรืออุดมการณ์ ตัวอย่าง HACKTIVISM -เหตุการณ์  9Near  การแฮกข้อมูลของคนทั้งประเทศสร้างความหวาดหวั่นให้แก่ชาวไทยเป็นอย่างมาก โดยอ้างว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของชาวไทย 55 ล้านคน วันที่ 2 เมษายน 2566 มีการประกาศเป้าหมายทางการเมืองและการแถลงยุติปฏิบัติการทางกลุ่มแฮกเกอร์ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าจะยุติปฏิบัติการนี้แล้ว โดยระบุว่า… “พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะก่อพิบัติภัยด้านความเป็นส่วนตัวต่อไปอีก” “อย่างน้อยในช่วงไม่กี่วันมานี้ เราได้เห็นการขับเคลื่อนประเด็นที่ว่าภาครัฐควรให้ความใส่ใจกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างไร” นอกจากนี้ พวกเขายังขัดแย้งกับกลุ่มคนที่เสนอซื้อข้อมูลหรือสปอนเซอร์กับการนำข้อมูลนี้ไปใช้ในทางที่พวกเขาไม่เห็นด้วย พวกเขาประกาศชัดเจนว่า พวกเขาเป็น Hacktivist “ข้อมูลที่พวกเขามี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เลเซอร์รักษานอนกรน จริงหรือ ?

แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม
การเลเซอร์ผ่านช่องปาก สามารถรักษาอาการนอนกรนได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาซ้ำ หรือ แนะนำทางเลือกในการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมมากกว่าต่อไป

สรุป โควิด XBB.1.16 สถานการณ์-ความรุนแรง-ข่าวปลอม | ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE

19 เมษายน 2566 “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” ประเด็นที่น่าสนใจ “สรุป โควิด XBB.1.16 สถานการณ์-ความรุนแรง-ข่าวปลอม” 🕵️‍♂️ พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ อดิศร สุขสมอรรถ 🎯 ชวนคุยในหัวข้อ : สรุป โควิด XBB.1.16 สถานการณ์-ความรุนแรง-ข่าวปลอม🔎 กับ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ EV ใช้ 5-8 ปี กลายเป็นเศษเหล็ก จริงหรือ ?

18 เมษายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า คิดให้ดีก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV เพราะเมื่อใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า 5-8 ปี แล้วจะกลายเป็นเศษเหล็ก เพราะแบตเตอรี่เสื่อมทำให้รถยนต์ไร้ราคา นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ รศ.ดร.ยศพงษ์​ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบตเตอรี่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ และมีราคามากกว่า 70% ของราคารถยนต์ ? :  ในยุคแรก แบตเตอรี่จะมีราคาเกินครึ่งของราคารถยนต์ แต่ปัจจุบันราคาแบตเตอรี่เหลือ 1 ใน 3 ของราคารถยนต์แล้ว ดังนั้น อีก 8 ปีข้างหน้า ราคาแบตเตอรี่น่าจะลดลง อาจจะเหลือประมาณ 20-25% ของราคารถ เมื่อไรก็ตามที่แบตเตอรี่ เกิดการเสื่อม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสรรพคุณมะกรูด จริงหรือ ?

19 เมษายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสรรพคุณมะกรูดเอาไว้มากมาย เช่น ชามะกรูดช่วยแก้ความดันสูง และยังช่วยรักษาริดสีดวงทวารอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดื่มชาใบมะกรูดลดความดัน จริงหรือ ? ตรวจสอบข้อมูลกับ : ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “หากร่างกายได้รับวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ในใบมะกรูดมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษสะสมอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นสูตรที่ชี้ให้กินใบมะกรูดจำนวนมากจึงไม่ควรทำตาม” อันดับที่ 2 : มะกรูดรักษาริดสีดวงทวารได้ จริงหรือ ? ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.ณัฎฐพงษ์ กุลสิทธิจินดา นายแพทย์ สบ 5 หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ, รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผู้ป่วย 5 โรค ห้ามดื่มน้ำดอกอัญชัน จริงหรือ ?

การกินดอกอัญชันยังมีความปลอดภัยหากกินในรูปแบบของอาหาร เช่น การนำดอกอัญชันไปทำเครื่องดื่ม, ยำดอกอัญชัน

ข้อควรระวัง‼️ ไม่ควรกินดอกอัญชันติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่ควรกินดอกอันชันเพื่อไปทดแทนยาแผนปัจจุบันเพราะอาจทำให้เกิดอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การใช้กัญชาแบบแพทย์แผนไทย

7 เมษายน 2566 การใช้กัญชาแบบแพทย์แผนไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ประเทศไทยพบข้อมูลว่ากัญชาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแผนไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ได้ใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยว แต่จะปรุงในรูปแบบของการนำกัญชาเข้าตำรับยา ซึ่งในแต่ละตำรับ กัญชาอาจทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป 16 ตำรับยา ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 1.ยาศุขไสยาศน์ 2.ยาแก้ลมแก้เส้น3.ยาทำลายพระสุเมรุ4.ยาทาริดสีดวงทวารหนัก5.ยาอัคคินีวคณะ6.ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย7.ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ8.ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง 9.ยาไฟอาวุธ10.ยาแก้ไข้ผอมเหลือง11.ยาแก้สัณฑฆาต12.ยาอัมฤตย์โอสถ13.ยาไพสาลี14.ยาทัพยาธิคุณ15.ยาแก้โรคจิต16.ยาอไภยสาลี ใช้กัญชาอย่างไร จึงเรียกว่าใช้ทางการแพทย์ ? ในปัจจุบันมีการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรแล้ว 5 ตำรับ ที่ได้ยินบ่อย ก็คือ ตำรับยาศุขไสยาสน์ ตำรับยาทำลายพระสุเมรุ ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น ยาน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) นอกจากนี้ยังมี ลุงดำเกาะเต่า, น้ำมันภูพร้าว ของทางภาคอีสาน, ยาไพรร่างพระมณี ด้านการแพทย์แผนไทยได้นำสารสกัดน้ำมันกัญชาซึ่งมีสาร 2 ชนิด คือ THC และ CBD มาใช้ในกลุ่มอาการนอนไม่หลับ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ลมจุกเสียด ลมปะทะอก ปวดหัว รวมไปถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น หากใช้กัญชาต้องรู้หลักการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโปนจากอาการไทรอยด์เป็นพิษ

หนึ่งในอาการทางตาของผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษและพบได้บ่อย ๆ  คือ ตาโปน ซึ่งเป็นผลจากการที่มีฮอร์โมนส่วนเกินไปสะสมที่กล้ามเนื้อหลังลูกตาทำให้กล้ามเนื้อหลังลูกตาและไขมันในเบ้าตาบวมใหญ่ จนดันให้ลูกตายื่นออกมาด้านหน้าของเบ้าตา โดยกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเมื่อปล่อยทิ้งไว้ก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน อาการไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองที่ส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์  ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป จนทำให้อวัยวะต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงดวงตามีอาการผิดปกติ อาการข้างเคียงและวิธีรักษาอาการตาโปน เกิดการคั่งของน้ำบริเวณเนื้อเยื่อของลูกตาแล้วดันให้ลูกตานูนออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดปัญหาขึ้นกับดวงตา เช่น ตาแห้ง เคืองตา มองเห็นภาพไม่ชัด กระจกตามีการอักเสบ เป็นต้น อาการดังกล่าวแพทย์จะรักษาโดยการใช้น้ำตาเทียม หรือการใช้เจลป้ายดวงตา วิธีสังเกตอาการไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่เตือนว่ามีอาการไทรอยด์เป็นพิษ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย เหงื่อออกเยอะ ทานอาหารเยอะแต่น้ำหนักลดลง ทั้งหมดนี้เป็นอาการเตือนว่าเราเป็นไทรอยด์เป็นพิษ อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการตาโปนต้องทำงานร่วมกันระหว่างจักษุแพทย์และอายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ ทั้งการควบคุมไทรอยด์เป็นพิษและการรักษาตา หากได้รับการรักษาในระยะต้นก็จะได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการปล่อยการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : ควรกินผลไม้ตอนท้องว่าง จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์แนะนำให้กินผลไม้ก่อนอาหารจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่ากินผลไม้หลังอาหารนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “กินก่อนหรือหลังอาหารไม่มีความแตกต่างกันเพียงแต่กินก่อนอาหารจะทำให้กินอาหารได้น้อยลง แต่ถ้ากินผลไม้หลังอาหารวิตามินซีในผลไม้ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น” ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 36 37 38 39 40 46