ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องระวัง


13 กันยายน 2566 – สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องปกปิด เพราะหากรั่วไหลออกไป อาจถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลเหล่านี้มาทำร้ายเรา ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์


อันดับที่ 5 : ระวัง ! โมเดลลิ่งเก๊ หลอกพริตตี้ถ่ายโป๊ ขายออนไลน์ 

เตือนสาว ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากเข้าวงการบันเทิงหรือเป็นพริตตี้ ระวังโมเดลลิ่งเก๊ที่มีสาวประภทสองเป็นนกต่อ ที่หากคุณพลาดหรือเสียรู้ อาจถูกหลอกให้ถ่ายภาพโป๊ ซ้ำภาพเหล่านั้นยังถูกเผยแพร่อยู่ในโลกออนไลน์ !

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้กำกับการ และโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) มอบข้อคิด ข้อเตือนใจง่าย ๆ ในการป้องกันหรือรับมือกับมิจฉาชีพในโลกไซเบอร์ เพื่อเตรียมพร้อมให้เราทุกคนสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน


กลโกงคนร้ายจะทำการสมัครเฟซบุ๊ก ปลอมโปรไฟล์ว่าเป็นโมเดลลิ่งหานางแบบ นักแสดง เข้าวงการบันเทิง ก่อนจะเลือกติดต่อไปยังผู้เสียหายที่เป็นพริตตี้ หรือเน็ตไอดอล ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ชักชวนมาแคสติ้งงาน พร้อมกับให้แอดไลน์ตัวเองที่ทำปลอมขึ้นมา โดยใช้วิธีพูดคุยเป็นเดือนเพื่อให้ผู้เสียหายตายใจ ก่อนขอดูสัดส่วน สรีระ เพื่อพิจารณาหางานให้แคสติ้ง จนผู้เสียหายยอมถอดเสื้อผ้า ก่อนที่จะนำภาพลับผู้เสียหายเหล่านั้นไปโพสต์ลงกลุ่มลับ

อันดับที่ 4 : 7 สิ่ง ห้ามโพสต์บนโซเชียล เสี่ยงภัยไซเบอร์ 

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Tiktok และ X (Twitter) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของคนส่วนใหญ่ เพราะไม่ว่าช่วงวัยไหนต่างก็มีบัญชีผู้ใช้โซเชียลเป็นของตนเองกันแล้วซึ่งก็มักจะแชร์ หรือโพสต์เรื่องราวต่าง ๆลงบนโซเชียลซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของเราทุกวันนี้ แต่รู้หรือไม่ อะไรบ้างที่ไม่ควรโพสต์ลงโซเชียลเพราะอาจกลายเป็นเครื่องมือให้มิจฉาชีพนำไปก่อเหตุอาชญากรรมและนำภัยมาถึงตัวเราได้ ไปดูกันเลย


7 สิ่งห้ามโพสต์บนโซเชียล เสี่ยงภัยไซเบอร์

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้

เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะโพสต์หรือถ่ายส่งให้ใคร เนื่องจากเลขบัตรประชาชนแต่ละหลักก็จะบ่งบอกถึงข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับตัวเรา

อย่าง หลักที่ 1 หมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมี 8 ประเภท

กรณีคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเลข 3

หลักที่ 2,3 คือ รหัสจังหวัด

หลักที่ 4,5 คือ รหัสอำเภอหรือเขต เทศบาล

หลักที่ 6 – 10 คือ กลุ่มบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร

หลักที่ 11,12 หมายถึง ใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม และหลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก

2. บัตรเครดิต เดบิต หรือบัตรนักเรียน นักศึกษา

ปัจจุบันจะเชื่อมโยงกับธนาคารเป็นบัตร ATM ไปในตัวสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้แม้จะมีการเซนเซอร์หรือเบลอตัวเลขแต่แค่เห็นชื่อธนาคาร ก็สามารถนำข้อมูลมาหลอกกันต่อได้ ทั้งการโทรศัพท์หลอกล่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือส่งข้อความ SMS แอบอ้างชื่อธนาคารก็เป็นไปได้

3. ใบแจ้งหนี้ บิลค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า

มีทั้งข้อมูลทั่วไปข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้าอย่าง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีบิลอื่น ๆ ที่มีชื่อ นามสกุลที่อยู่ ก็เช่นกันนะครับ

รวมไปถึงข้อมูลทางการเงินใบเสร็จ สลิปต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย การมีเลขบัญชีติดมา หรือการพูดถึงทรัพย์สินที่คุณมีอยู่ ก็สามารถทำให้เหล่าแฮกเกอร์ สามารถปลอมตัวเป็นคุณแล้วไปแอบอ้างสิทธิ์เข้าถึงบัญชีและทรัพย์สินที่คุณโพสต์ลงโซเชียลได้

4. สิ่งที่ถูกทำซ้ำขึ้นมาได้อย่างเช่น ลายนิ้วมือ

บางคนถ่ายรูปท่าชูสองนิ้ว หรือท่ากดไลก์ ชูนิ้วโป้ง ต่างก็เป็นท่าโพสยอดฮิต อาจจะโอกาสเสี่ยงโดนขโมยลายนิ้วมือไปใช้ในการสวมรอย หรือขโมยข้อมูลสำคัญก็เป็นไปได้นะครับ และไม่ใช่แค่ลายนิ้วมือนะครับ กุญแจรถ กุญแจบ้านก็เช่นกัน เพราะแค่ถ่ายรูปกุญแจมิจฉาชีพก็อาจจะไปปั๊มกุญแจใหม่มาได้ โดยสร้างแบบจำลองจากคอมพิวเตอร์ และไปปั๊มเป็นกุญแจใหม่ขึ้นมา เพื่อแอบบุกรุกเข้ามาในบ้านของเราก็ได้

5. ตั๋วเครื่องบิน

ตั๋วเครื่องบินซ่อนข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล, หมายเลขการจอง, จุดที่ออกเดินทาง, จุดหมายปลายทาง, วัน เวลา สถานที่ สามารถจะพาไปเข้าถึงข้อมูลการเดินทาง ซึ่งผู้หวังดีอาจใช้จุดนี้เปลี่ยนแปลง ยกเลิกตั๋ว และเที่ยวบินของเราได้ และถึงแม้จะถ่ายให้ไม่เห็นชื่อ สกุล หรือจุดหมาย แต่มิจฉาชีพก็ยังเข้าถึงข้อมูลได้ จากพวกบาร์โค้ด หรือตัวเลขรหัสต่าง ๆ เพื่อไปดูวิธีการซื้อตั๋ว หรือข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่าย

6. หนังสือเดินทาง

ก็เหมือนกับบัตรประชาชน เพราะมีข้อมูลของชื่อ นามสกุลเรา, วันเดือนปีเกิด, อายุ สัญชาติ และเลข Passport ผู้ไม่หวังดีจะใช้ช่องทางนี้ในการปลอมแปลง Passport ของเราก็ได้

7. อย่าโพสต์สเตตัสแบบเรียลไทม์

ไม่ว่าไปไหน หรืออยู่บ้านก็ให้ระวัง การบอกให้โลกรู้ว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง อาจจะทำให้โจรรอเวลาเหมาะ ๆ บุกบ้านเราก็เป็นไปได้ หรือการแท็กสถานที่ ว่าอยู่ที่ไหน แต่คงไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่ เพราะอาจทำให้พวกโรคจิตที่ชอบแอบติดตามชีวิตเราตามหาเราเจอได้ และไม่ใช่แค่การโพสต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคอมเมนต์ซื้อสินค้าในโซเชียล หรือตามแชทต่าง ๆ ด้วย อย่าเขียนเบอร์โทรศัพท์ หรือที่อยู่ เผยแพร่บนสาธารณะเด็ดขาด

อันดับที่ 3 : ไม่ต้องสงสัย! โจรรู้ข้อมูลส่วนตัวของเราได้ไง

มิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ชอบโทรมาหาเราอยู่บ่อย ๆ บ้างก็มิจฉาชีพโทรมาถามชื่อ หรือแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ถ้ามาในรูปแบบนี้เราก็รู้ทันได้ง่าย ๆ แต่ถ้ามิจฉาชีพรู้ ชื่อ-นามสกุล หรือแม้กระทั่ง มิจฉาชีพรู้ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน พวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์รู้ชื่อเราได้อย่างไร ?

มิจฉาชีพรู้ ชื่อ-นามสกุล ของเราอาจจะมาจากแหล่งเหล่านี้ก็ได้ 

  1. เอามาจากเว็บไซต์ที่เราเคยกรอกสมัครงานตามเว็บต่าง ๆ 
  2. มิจฉาชีพรู้ ชื่อ- นามสกุล, เลขบัตรประชาชน จากการลงทะเบียน หรือการสมัครสมาชิกจากที่ต่าง ๆ ของเรา
  3. เอามาจากลิ้งก์ที่เราเคยกดเข้าไป 
  4. เอามาจากหน่วยงานที่เราทำงานอยู่ 
  5. การแฮกอีเมล 

อันดับที่ 2 : 5 คำถาม เมื่อข้อมูล (ส่วนตัว) รั่วไหล

อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์  มีวิธีง่ายๆ หากพบว่ามีข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลจากผู้ให้บริการ ควรตั้งคำถาม ดังนี้

  1. ข้อมูลรั่วได้อย่างไร
  2. ทำอย่างไรไม่ให้ข้อมูลรั่ว
  3. เมื่อข้อมูลรั่วไปแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไร
  4. ตรวจสอบและประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอข้อมูลระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัวทางช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ หรือโทรศัพท์เปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าระบบที่ใช้งานกับผู้ให้บริการรายนั้น
  5. เป็นลิงก์หรือไฟล์แนบจากอีเมลหรือ SMS ที่ไม่รู้จัก เพราะผู้ไม่หวังดี อาจส่งลิงก์หรือไฟล์แนบ มายังอีเมลหรือ SMS และหวังให้หลงกล กดคลิกติดตั้ง malware เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญไปใช้ทำธุรกรรมการเงินต่อได้หรือไม่

อันดับที่ 1 : 5 วิธี การใช้สำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัย

  1. อย่าถ่ายเอกสารด้านหลังบัตร
  2. ขีดเส้นคร่อม 2 เส้นพร้อมระบุวัตถุประสงค์ของสำเนาโดยไม่ให้ทับรูปภาพ
  3. ควรเซ็นสำเนาถูกต้องทับบางส่วนของบัตร
  4. หากใช้วิธีสแกนในแอปพลิเคชันทางการเงินสามารถใส่ถุงพลาสติกใส เพื่อเขียนเซ็นกำกับได้
  5. ใช้ในธุรกรรมที่จำเป็นและผู้ที่จะส่งให้มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น, พีรพล อนุตรโสตถิ์, จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และเดชาพล วงศ์กลม
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

เขื่อนเจ้าพระยาปรับเพิ่มการระบายน้ำ

น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นไม่หยุด ล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือน ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาปรับเพิ่มการระบายแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเวลา 11.00 น. น้ำระบายท้ายเขื่อนที่ 2,200 ลบ.ม./วินาที

เร่งอพยพชาวบ้านหลายร้อยครอบครัว น้ำปิงยังสูง

แม้ระดับน้ำปิงที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ เริ่มลดลง หลังขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร แต่หลายชุมชนและย่านการค้ายังมีน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของเมือง น้ำยังเพิ่มสูง หลายร้อยครอบครัวต้องอพยพด่วน

อิสราเอลโจมตีทางอากาศมัสยิด-โรงเรียนในกาซา ดับแล้ว 24

สำนักงานสื่อมวลชนของรัฐบาลกาซาที่กลุ่มฮามาสเป็นผู้ดำเนินการ กล่าวว่า อิสราเอลโจมตีทางอากาศโดยมีเป้าหมายเป็นมัสยิดและโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่พักพิงของผู้พลัดถิ่นฐานในฉนวนกาซา เมื่อตอนเช้าวันอาทิตย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย และบาดเจ็บอีก 93 ราย