ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คำเตือน แบตฯ รถ EV เสื่อมง่าย ไม่คุ้มค่า จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เสื่อมง่าย 5-8 ปี ใช้แล้วก็หมดราคา ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สรุปว่า เมื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าไป 5-8 ปี ราคาขายต่อรถยนต์ไฟฟ้ามือสองอาจจะน้อยกว่ารถยนต์สันดาป ส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากพอสมควร และหากเปรียบเทียบราคานี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายรวม เมื่อหักลบส่วนที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังคุ้มค่าที่จะใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่โดยตรงและค่ายผู้ผลิตรถยนต์เอง การพัฒนานี้ก็เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ EXCLUSIVE : ยาหอมและฮีทสโตรก

6 พฤษภาคม 2566 – ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? สัญญาณอาการฮีทสโตรกมีอะไรบ้าง ? การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? และยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย และตรงสรรพคุณ ? เรื่องนี้ตรวจสอบกับ : ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? ตอบ : ยาหอมลดความร้อนในร่างกายได้จริง แต่ต้องเลือกใช้ชนิดที่มีส่วนประกอบของเกสรดอกไม้และต้องใช้ควบคู่กับมาตรการป้องกัน แต่หากมีอาการรุนแรง ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? ตอบ : สามารถทำได้ โดยการอมไว้ใต้ลิ้นแล้วค่อย ๆ ละลาย แต่อาจารย์แนะนำว่าการนำไปละลายน้ำแล้วค่อย ๆ จิบ จะรับประทานได้ง่ายกว่าการอมไว้ใต้ลิ้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก ยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย ? ตอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คอนแทคเลนส์แก้สายตายาว

7 พฤษภาคม 2566 – ปัญหาสายตายาว สามารถแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ ได้หรือไม่ ? และใครควรใช้ หรือไม่ควรใช้ ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตายาว 1.สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล 2.สายตายาวตามวัย คนที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีความยากลำบากในการมองระยะใกล้ คอนแทคเลนส์สายตายาว จะมีการใส่คอนแทคเลนส์ในตาข้างที่ไม่ถนัด ให้สามารถมองใกล้ชัด ส่วนตาข้างที่ถนัด ยังคงใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมเพื่อมองไกลชัด ต้องอาศัยการปรับตัวในการใช้ตา 2 ข้างพร้อมกันในการมองเห็นชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล แต่การใส่คอนแทคเลนส์มีข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด หรือ ระยะเวลาการใช้งาน และต้องระวังในเรื่องของการติดเชื้อของดวงตาอีกด้วย ทั้งนี้แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์สายตายาวทางออนไลน์ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ไปใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีการใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันไวรัสอย่างถูกต้อง จริงหรือ ?

3 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีการใช้หน้ากากอนามัยไว้มากมาย เช่น ห้ามใช้แอลกอฮอล์พ่นหน้ากากอนามัยเพราะจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ หรือ หน้ากากผ้าที่เราใช้กันนั้นป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1  : มีวิธีใช้หน้ากากอนามัยหลายวิธี จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำวิธีใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยกับคนที่ไม่ป่วยจะต้องใช้สลับด้านกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การใส่หน้ากากอนามัยมีแบบเดียว คือใส่ให้ด้านที่มีสารเคลือบกันน้ำหรือด้านมัน ออกข้างนอกเสมอ และเมื่อสวมใส่ก็ควรจะกดพลาสติกให้แนบกับสันจมูกและใบหน้าของเราอยู่เสมอ” อันดับที่ 2  : หน้ากากผ้าป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าหน้ากากผ้าอาจไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 และการแพร่กระจายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถปลอดภัยหรือไม่ ดูง่ายๆจาก Moose Test จริงหรือ?

2 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์ความรู้ในการเลือกซื้อรถยนต์ว่าถ้าอยากรู้ว่ารถคันไหนปลอดภัยหรือไม่ ให้ดูที่การทดสอบขับหลบหลีก หรือ Moose Test นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า Moose Test เป็นหนึ่งในการทดสอบความปลอดภัยในการหักพวงมาลัยด้วยความเร็วระดับหนึ่ง และ การ Moose Test เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจซื้อรถเท่านั้น ยังมีอีกหลายปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ของแต่ละบุคคล Moose Test  คืออะไร ? การ Moose Test เป็นการทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ในการหักหลบสิ่งกีดขวางแบบกะทันหัน เพื่อดูการตอบสนองของรถยนต์ในสภาวะคับขัน ฉุกเฉิน นอกจาก Moose Test ปัจจัยอะไรบ้างชี้ว่ารถยนต์คันนั้นปลอดภัย ? >การบังคับควบคุม >ทัศนวิสัย >ขนาดของตัวรถ > อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การซื้อรถยนต์เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน นอกเหนือจากเรื่องของฟังก์ชันที่ล้ำสมัย รูปทรง และราคาแล้ว เรื่องระบบของความปลอดภัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการเลือกรถยนต์เช่นกัน ซึ่งระบบความปลอดภัยยังช่วยทำให้ขับขี่รถได้อย่างมั่นใจอีกด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 พฤติกรรมการนอนกรน เสี่ยงหยุดหายใจ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน ที่อาจเสี่ยงกับการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ มีตั้งแต่มีท่าทางการนอนที่ผิดปกติ ตื่นมาแล้วคอแห้งมากกว่าปกติ รวมไปถึงมีอาการปวดศีรษะมาก บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า วิธีสังเกตพฤติกรรมนอนกรนตามที่แชร์กันมีความถูกต้อง เป็นการประเมินอาการตัวเองในเบื้องต้น ส่วนเรื่องของการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นคะแนนอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน มีดังนี้ 1.มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ 2.มีท่าทางผิดปกติขณะหลับ เช่น กัดฟัน ขากระตุก 3.ตื่นนอน คอแห้ง เจ็บคอมากผิดปกติ 4.ตื่นมามีอาการปวดศีรษะมาก 5.ตื่นมาง่วงนอน เหมือนพักผ่อนไม่พอ 6.เป็นโรคความดันโลหิตสูง 7.เป็นผู้ชายผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน 8.มีอายุมากกว่า 50 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 23 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปิดหน้ากากแอร์ไว้ ช่วยให้แอร์เย็นเร็วประหยัดไฟ จริงหรือ ?

จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️

– การเปิดหน้ากากแอร์เพิ่มแรงลมแอร์ได้ประมาณ 10% ซึ่งมีส่วนทำให้เย็นเร็วขึ้นได้จริง

– แต่การเปิดหน้ากากแอร์ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสที่ฝุ่นจะเข้าสู่แอร์ได้มากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการล้างแอร์บ่อยขึ้น

– ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้กดปุ่ม TURBO หรือ Hi-Speed หรือปุ่มเร่งการเย็นเร็วที่อาจมีในแอร์รุ่นใหม่ ก็จะได้ผลให้เย็นเร็วได้เช่นกัน

– ประหยัดไฟมากขึ้นหรือไม่ ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คำเตือนการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ ?

26 เมษายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ไว้มากมาย ทั้งคำเตือนอันตราย รถยนต์ไฟฟ้าไม่เหมาะกับประเทศไทยเพราะอากาศร้อน และหากใช้งาน 5-8 ปี จะกลายเป็นเศษเหล็กอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : รถ EV ใช้ 5-8 ปี กลายเป็นเศษเหล็ก จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่า คิดให้ดีก่อนซื้อรถ EV เพราะเมื่อใช้งานไป 5-8 ปี จะกลายเป็นเศษเหล็ก เพราะแบตเตอรี่เสื่อมทำให้รถยนต์ไร้ราคา ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.ยศพงษ์​ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บทสรุป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ไม่ปิดแอร์ก่อนดับเครื่อง ไฟกระชากและแบตเสื่อม จริงหรือ ?

แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม

ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ การทำงานของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาให้มีระบบตัดต่อไฟ โดยจะแยกการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระหว่างการสตาร์ตรถ ทำให้ไม่เกิดไฟกระชากและสร้างความเสียหายให้กับคอมเพรสเซอร์แอร์หรือเครื่องยนต์ได้ ในรถยนต์รุ่นใหม่จึงไม่จำเป็นต้องปิดแอร์ก่อนดับเครื่องนั่นเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินจากแปะก๊วยแก้นอนกรน จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า การกินวิตามินจะสามารถรักษาอาการนอนกรนให้หายได้
ในระยะหลังเริ่มมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดใบแปะก๊วย มีข้อมูลว่า ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้หลับลึกขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการนอนกรน หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

1 35 36 37 38 39 46