ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

11 มิถุนายน 2566 – โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองจะแสดงอาการบ่งบอกโรคตอนไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค SLE และ สัดส่วนสถิติการเกิดโรคเป็นอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถิติการเกิดโรค SLE เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ประมาณ 40-50 คนใน 100,000 คน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8 – 9 เท่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการรักษาในปัจจุบันที่ทำให้หายขาดได้ แต่ทำให้อาการสงบจากการรับประทานยาได้ การวินิจฉัยโรค SLE แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรค SLE มีความสลับซับซ้อนผู้ป่วยมีความรุนแรงในระดับแตกต่างกัน การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เพียงแบบเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วย SLE บางราย อาการของโรคเป็นอย่างไร ? นอกจากอาการที่แสดงทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะจิตตกหรือโรคซึมเศร้า (Depession) ร่วมด้วย ครอบครัวและคนรอบข้างจึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่วยที่จะทำคนไข้จะมีกำลังใจที่ดีต่อสู้กับโรค SLE ได้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สรรพคุณหัวหอมหั่นแช่เย็น จริงหรือ ?

8 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อความถึงสรรพคุณที่หลากหลายของหัวหอมหั่นแช่เย็น เช่น เสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียม ป้องกันคอเลสเตอรอลสูง สลายไขมัน ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร รักษาเบาหวาน และทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เรื่องหัวหอมเสริมไขกระดูกเร็วกว่าแคลเซียมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหัวหอมมีปริมาณแคลเซียมต่ำ ส่วนที่มีการแชร์ว่าให้นำหัวหอมไปแช่ไวน์นั้น ก็จะทำให้สูญเสียสารสำคัญไป การนำมารับประทานในรูปแบบของอาหารจะได้ประโยชน์มากกว่า สำหรับหัวหอมควรรับประทานแบบสดใหม่ เพราะการหั่นวางไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน จะทำให้หัวหอมเน่าและเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยระบุว่าในหัวหอมมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคมะเร็ง และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยืนยันว่า หัวหอมไม่สามารถทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้ เนื่องจากไม่สามารถกำจัดฝุ่น หรือสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้ ตัวอย่างข้อความที่แชร์กัน สัมภาษณ์เมื่อ : 10 พฤษภาคม 2566 และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 สิ่งต้องระวัง ทำร้ายยางรถยนต์ จริงหรือ ?

6 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนเกี่ยวกับ 5 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็วกว่าปกติ เช่น การบรรทุกของหนัก ขับรถเร็ว เติมลมยางไม่เหมาะสม เบรกรุนแรง และตั้งศูนย์ถ่วงล้อผิดสเป็กนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 5 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ มีดังนี้ Q : บรรทุกของหนักเกินไป ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A : จริง การบรรทุกของหนักเกินไป ทำให้การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมากขึ้น ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และอายุการใช้งานของยางรถยนต์ลดลง Q : การขับรถเร็ว ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A : จริง การขับรถเร็วเกินไปทำให้หน้ายางเสียดสีกับพื้นถนนด้วยความเร็วเกิดความร้อนสะสม ทำให้ดอกยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ Q : แรงดันลมยางไม่เหมาะสม ทำให้ยางรถยนต์เสื่อมเร็ว จริงหรือ ?A […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : น้ำตาลเป็นพิษอย่างมากที่สุดได้ จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์ข้อความเตือนว่าน้ำตาลเป็นพิษอย่างเลวร้ายสำหรับมนุษย์ เป็นความหิวโหยของเซลล์มะเร็งและเป็นสาเหตุของไข้หวัดทั้งปวงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  “น้ำตาลเป็นจุดเริ่มต้นหลายอย่างของความเสื่อมของร่างกาย แล้วก็ทำให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่องได้อาจจะไปลดภูมิคุ้มกันแบบเจาะจงที่ทำให้ป่วยง่ายขึ้น ในหนึ่งวันไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา” สัมภาษณ์เมื่อ 18 มกราคม 2565 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ

1 มิถุนายน 2566-เครื่องฟอกอากาศใช้กับห้องแบบไหน ควรติดตั้งไว้ตำแหน่งใด และดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ มีดังนี้ 1. เครื่องฟอกอากาศ ใช้ได้กับห้องทุกขนาด ? ตอบ : การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดห้อง เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด 2. เครื่องฟอกอากาศ ใช้กับห้องที่เปิดโล่งได้ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศสามารถทำงานได้ดีในห้องปิด ไม่ควรเปิดหน้าต่างขณะที่ใช้เครื่องฟอกอากาศเนื่องจากการเปิดหน้าต่างทิ้งไว้จะทำให้เครื่องฟอกอากาศทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 3. เครื่องฟอกอากาศ ไม่ต้องเปลี่ยนฟิลเตอร์ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศนั้นควรเปลี่ยนฟิลเตอร์ทุก 3 – 6 เดือน หรืออาจจะพิจารณาควรเปลี่ยนเมื่อความสามารถในการกรองฝุ่นลดลงเพื่อให้เครื่องฟอกอากาศสามารถระบายอากาศได้ดีเหมือนเดิม 4. ฟิลเตอร์สามารถล้างน้ำได้ ? ตอบ : ไม่สามารถล้างน้ำได้ การล้างแผ่นกรอง HEPA ด้วยน้ำจะลดประสิทธิภาพการทำงานของ HEPA ลงอย่างมาก ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาดเล็กลดลง […]

การพิสูจน์และการยืนยันตัวตนบนโลกออนไลน์| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 มิถุนายน 2023 การพิสูจน์และการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์นั้น หลายคนเข้าใจและคิดว่าคือสิ่งเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว ทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน ส่วนจะมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET ตอน “การพิสูจน์และยืนยันตัวตนบนโลกออนไลน์” กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์  ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่คุณกำลังคุยอยู่นั้น คือตัวจริง ถ้าไม่มีการยืนยันหรือพิสูจน์ตัวตน อาจส่งผลเสียต่อข้อมูลหรือทรัพย์สินของเราได้ แต่บางขั้นตอน หากไม่มีการตรวจสอบ พิสูจน์ หรือยืนยันให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อมูลที่เป็นจริง ก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน มาสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่าง ข้อดีข้อเสีย และข้อควรระวังของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนได้ใน EPISODE นี้ #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CYBER RESILIENCE ? — ทักษะสำคัญ เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์

27 พฤษภาคม 2566 สิ่งนี้…สร้างภูมิต้านทานภัยคุกคามทางไซเบอร์ สิ่งนี้…มีความสำคัญกับสภาวะไซเบอร์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และสิ่งนี้…ช่วยยกระดับประสิทธิภาพความปลอดภัยขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย ความหมายของ CYBER RESILIENCE CYBER RESILIENCE หมายถึง ความสามารถในการยืดหยุ่น การเตรียมตัว รับมือ กู้คืน และการตอบสนองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป้าหมายของ CYBER RESILIENCE ในปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายได้มหาศาล  CYBER RESILIENCE จึงเปรียบเสมือนภูมิคุ้มกัน เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อม การรู้ทัน และสร้างเกราะป้องกันที่ดีขึ้น เพื่อรับมือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น อาจารย์ปริญญาแนะนำแนวคิดมาปรับใช้ ดังนี้ “ปัจจุบันมีการใช้จ่ายผ่านออนไลน์มากขึ้น การใช้บัญชีเดียว บัตรเดียว มีความเสี่ยงในการถูกแฮกเงินได้ ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันเกี่ยวกับการผูกบัญชีกับแอปฯ ซื้อของออนไลน์ เช่น เราอาจจะมีบัญชีธนาคารที่มีเงินน้อย ๆ ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์แทนบัญชีหลัก” สัมภาษณ์เมื่อ : 7 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สรรพคุณกระเทียม แก้ปวดหู คุมน้ำตาลในเลือด จริงหรือ ?

31 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสรรพคุณของกระเทียมเอาไว้มากมาย ทั้งช่วยป้องกันโรคหัวใจ มะเร็ง และหวัด แถมยังช่วยแก้ปวดฟัน แก้ปวดหูอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : กระเทียมป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งและหวัด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อมูลว่า กินกระเทียมสามารถป้องกันโรคหวัด หัวใจ และมะเร็งได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “การกินกระเทียมไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดโรค แต่อาจจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้บ้าง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย” อันดับที่ 2 : กระเทียมใส่หูก่อนนอนแก้ปวดหู จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปแนะนำว่า กระเทียมมีประโยชน์เกินคาด หากนำมาปอกเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาใส่หูก่อนที่จะนอน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหู ลดการติดเชื้อที่หูแบบดีเยี่ยม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ […]

เปิดกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

31 พฤษภาคม 2566 เผยกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ในมุมที่คุณอาจคาดไม่ถึง ผ่านประสบการณ์ตรงของ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ที่ได้ลงไปทดลองเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้ด้วยตนเอง ปัจจุบัน บนโลกออนไลน์มีภัยมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป มารู้กลวิธีของมิจฉาชีพ และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากเหล่าโจรบนโลกออนไลน์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ความโลภ-ความกลัว-ตัวปลอม | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

30 พฤษภาคม 2566 ความโลภ-โกรธ-หลง อาจเป็นกิเลสที่มนุษย์ละได้ แต่ความโลภ ความกลัว ตัวปลอม อาจทำให้คุณหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ได้ในที่สุด มากระตุ้นการตระหนักคิดให้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม จริงหรือ ?

29 พฤษภาคม 66 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม โดยให้นำก้านมะละกอไปปักในลูกแตงโม รอให้โต แล้วจะกลายเป็นต้นมะละกอที่ออกลูกเป็นแตงโมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโมตามที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผศ.ดร.อารยา กล่าวว่า “จากในคลิปวิดีโอเราจะเห็นว่า มีการนำลูกแตงโมมาเจาะรู และมีการใส่น้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นสารอาหารลงไป จากนั้นเสียบยอดมะละกอ เมื่อเวลาผ่านไปมีการเคลมว่าจะมีรากออกมาจากลูกแตงโม วิธีนี้ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากว่า การนำยอดมาปักชำจะเกิดรากฝอยไม่ใช่รากแก้ว ฉะนั้นเมื่อไม่มีรากแก้วจึงไม่มีโอกาสที่จะแทงทะลุเปลือกแตงโมออกมาเจริญเติบโตได้เลย” ผศ.ดร.อารยา กล่าวต่อว่า “ลูกแตงโมเมื่อมีการเจาะรูแล้ว จุลินทรีย์หรือเชื้อราต่าง ๆ จะลงไปในเนื้อผล ทำให้เกิดการเน่าเสีย ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์น่าจะย่อยยอดของมะละกอ ก่อนที่มะละกอจะออกรากได้ด้วยซ้ำ” ผศ.ดร.อารยา แนะนำวิธีสังเกตคลิปเกี่ยวกับการเกษตรที่น่าตื่นตาตื่นใจว่า “จากในคลิปมีการทิ้งลูกแตงโมไว้ 1-2 สัปดาห์ แต่ลูกแตงโมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังสดและไม่เหี่ยวเลย ตามปกติหากมีการเจาะ หั่น หรือผ่าแตงโมไปแล้ว เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 […]

1 33 34 35 36 37 46