ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ไฟฟ้า คันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไป จริงหรือ ?

20 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีข้อความเตือนว่ารถยนต์ไฟฟ้า สามารถเกิดอาการคันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไปนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ยศพงษ์​ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รถยนต์ไฟฟ้า คันเร่งค้างง่ายกว่ารถยนต์ทั่วไป ? ปัญหาคันเร่งค้างสามารถเกิดได้กับรถยนต์ทุกประเภท แต่ต้องดูว่าสาเหตุมาจากอะไร ทุกวันนี้รถยนต์รุ่นใหม่จะใช้คันเร่งแบบไฟฟ้าแทบทั้งหมด หากเป็นความผิดพลาดจากระบบมักเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีอะไรบางอย่างทำให้คันเร่งค้าง เช่น กรณีคนขับเป็นผู้หญิงแล้วใส่รองเท้าส้นสูง อาจทำให้ส้นรองเท้าไปขัดกับคันเร่ง หรือมีขวดน้ำหรือสิ่งของที่อยู่ในรถไปขัดไว้ เมื่อเกิดสภาวะนี้ขึ้นหลายคนก็จะสติหลุด ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะควบคุมอย่างไรดี  ศ.ดร.ยศพงษ์​ ได้ให้คำแนะนำเมื่อพบว่ารถมีอาการคันเร่งค้าง ผู้ขับควรตั้งสติและพยายามใช้เบรกเพื่อชะลอความเร็วรถลง โดยในรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัตินั้น ค่อย ๆ เหยียบเบรกประคองรถเข้าข้างทาง จากนั้นให้เปลี่ยนเกียร์มาตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) ปล่อยให้รถเคลื่อนตัวไปช้า ๆ สลับกับการแตะเบรกเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ผู้ขับต้องมีสติและเรียนรู้วิธีแก้ไขสถานการณ์ กรณีคันเร่งค้างจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงทำให้สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย […]

ต่อไปนี้ฉันจะรู้ทันภัยไซเบอร์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

23 มิถุนายน 2566 เริ่มต้นบทที่ 3 กับบทที่ชื่อว่า “ต่อไปนี้ฉันจะรู้ทันภัยไซเบอร์” เมื่อเหล่ามิจฉาชีพ มักก้าวหน้านำเราไปทุกที ตัวเรา ก็ต้องตามเหล่ามิจฉาชีพให้ทัน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อจากกลลวงใหม่ ๆ มาสร้างการตื่นรู้และหาวิธีป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์ ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษาโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเองได้ จริงหรือ ?

ไม่ควรซื้อยา สมุนไพรต่าง ๆ มารับประทานเอง พราะหลงเชื่อคำโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์ของขิงและขมิ้น จริงหรือ ?

21 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสรรพคุณของขมิ้นและขิงเอาไว้มากมาย ทั้งช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลในมดลูก และการต้มน้ำขิงดื่มแด้นิ้วล็อกได้นั้น เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ขมิ้นชันประโยชน์มากมาย จริงหรือ ? มีการแชร์ว่า ขมิ้นชันมีสารพัดวิตามิน พร้อมสรรพคุณมากมาย ต้องกินตามเวลาจะป้องกันและช่วยรักษาได้หลายโรค ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  รศ.ดร.ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “การจะใช้ขมิ้นชันเพื่อหวังรักษาโรคร้ายที่เป็นมานานให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก ในด้านของโรคมะเร็ง ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) อาจจะช่วยลดความเป็นพิษของคีโม แต่ไม่ได้รักษาให้มะเร็งหายขาดได้” อันดับที่ 2 : น้ำขิงสดลดน้ำหนัก ปรับสมดุลมดลูก จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเทคนิคการลดความอ้วนและปรับสมดุลในมดลูกด้วยการดื่มน้ำขิง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ […]

ป้องกัน ระวัง ห่างไกล อุบัติภัยไซเบอร์| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

21 มิถุนายน 2566 อุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้แต่บนโทรศัพท์มือถือ คุณอาจไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินอยู่บนโลกไซเบอร์ คุณอาจเกิดอุบัติเหตุทางไซเบอร์ขึ้นก็ได้ คำว่า Safety & Security จึงต้องเกิดขึ้นมาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ มาร่วมหาแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

SWISS CHEESE MODEL : ทฤษฏีเนยแข็ง | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

22 มิถุนายน 2566 “SWISS CHESSE MODEL” หรือทฤษฎีเนยแข็ง หลายคนฟังแล้วอาจสงสัยว่า ทฤษฎีที่ชื่อเหมือนของกินนี้ จะเกี่ยวข้องอะไรกับภัยบนโลกไซเบอร์ และจะมีผลกระทบกับชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน มาร่วมไขข้อสงสัยว่าทฤษฎีนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโลกไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 อาหารเสริม เหมาะกับโรค SLE จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2566 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ 5 อาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ป่วย SLE เช่น น้ำมันปลา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และน้ำมันจมูกข้าวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับการกิน 5 อาหารเสริมว่าเหมาะกับผู้ป่วย SLE ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ โรค SLE มีความหลากหลาย เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง 5 อาหารเสริมที่แชร์กัน มีดังนี้ อย่างไรก็ตาม สารประกอบต่าง ๆ อาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาบางจุด แต่ไม่ได้มีหลักฐานช่วยรักษาโรค SLE ได้อย่างองค์รวมและเนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันได้มากมายขึ้นกับอาการ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 กุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข่เบอร์ไหนดี ที่เหมาะกับเรา จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำแนะนำเรื่องการเลือกไข่ ว่าขนาดหรือเบอร์ไหนที่เหมาะกับเรานั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ Q : มีไข่ที่เหมาะกับกลุ่มใดเป็นพิเศษ จริงหรือ ?A : ไม่จริง เบอร์ของไข่มีความต่างกันเรื่องสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าไข่เบอร์ไหนเหมาะกับใคร Q : ไข่ขนาด M หรือ เบอร์ 3 เบอร์ 4 มีคอเลสเตอรอลต่ำ โซเดียมต่ำ ไขมันปานกลาง โปรตีนต่ำ ความเข้มข้นวิตามินสูง จริงหรือ?A : ที่แชร์บอกว่า “คอเลสเตอรอลต่ำ” นั้นยังไม่ถูกต้อง ควรใช้คำว่า “ไข่เบอร์เล็กมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเบอร์ใหญ่” จึงจะถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากกินในปริมาณที่เหมาะสม Q : ไข่ขนาด M เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต จริงหรือ ?A : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของการดื่มนม จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับอันตรายของการกินนมเอาไว้มากมาย เช่น ไม่สบายไม่ควรกินนม และนมวัวก่อมะเร็งลำไส้ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : 9 เหตุผลที่ควรเลิกดื่มนมวัวทันที จริงหรือ ? มีการแชร์บทความเตือนว่า 9 เหตุผลที่คุณควรเลิกกินนมวัวทันที เพราะมีสิ่งอันตราย ทั้งอุจจาระ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง รวมทั้งไม่จำเป็นต่อร่างกาย กินเข้าไปแล้วอาจจะแพ้ได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าการกินนมวัวเป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่สำคัญนมวัวนั้นมีประโยชน์ เพราะช่วยเสริมแคลเซียมและลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน” อันดับที่ 2 :  ระวัง มีน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปสาธิตและเตือนให้ระวังน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ไฟฟ้า ระเบิดง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จริงหรือ ?

มีโอกาสที่แบตเตอรี่จะระเบิดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุและแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายมากแค่ไหน

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไฟรั่ว ทำให้ค่าไฟแพงเป็นหมื่น จริงหรือ ?

12 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจว่าหากบ้านไม่มีคนอยู่ แต่ปล่อยให้ไฟฟ้ารั่ว ค่าไฟจะเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นบาทได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระบุว่า ไฟรั่วมีกระแสไฟฟ้าที่น้อยมาก จึงไม่น่าจะมีผลกับค่าไฟขนาดนั้น กรณีเกิดไฟรั่ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย ไฟรั่ว คือ การที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอก เช่น ผิวของสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ไฟรั่วเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งจุดที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนขึ้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการช็อตหรือติดไฟจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไฟดูด จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้ารั่ว ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน สาเหตุของไฟดูดเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี เช่น การรีโนเวทบ้านมีการตอกตะปูโดนสายไฟทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมา หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น ดังนั้น จึงควรเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน และต้องตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอเพื่อป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ตามคลิปมีการสาธิตทดลองไฟรั่ว 30 มิลลิแอมป์ ว่ามีผลต่อมิเตอร์หรือไม่ ? อาจารย์สรุปผลการทดลองว่า “การทดลองไฟรั่ว 30 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จริงหรือไม่? ปล่อยเลือด ช่วยผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตก

เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ จากกรณีมีการแชร์วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกด้วยวิธีการ “ปล่อยเลือด” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌– เป็นวิธีที่อันตราย ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสการรักษา ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มัยธัช สามเสน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา ระบุว่า “เจาะนิ้วให้เลือดไหล แก้อาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก” นั้น เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หากมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรือ อุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ  ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้จะต้องรับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ควรมาเสียเวลาเจาะเลือดให้ผู้ป่วย สอดคล้องกับข้อมูลของ ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า การเจาะเลือด จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจะดีที่สุด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ ว่าที่ ร.ต. การันต์ ศรีวัฒนบูรพา กู้ชีพ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ […]

1 32 33 34 35 36 46