ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : 2 สาเหตุทำรถสตาร์ตไม่ติด จริงหรือ ?

15 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อมูลว่า 2 สาเหตุทำรถสตาร์ตไม่ติด คือ ไฟฟ้าไม่พอและไดสตาร์ตมีปัญหานั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ระบบไฟฟ้าไม่พอเพราะเปิดไฟทิ้งไว้ ลองบีบแตรหรือลองสตาร์ตจะขาด ๆ หาย ๆ จริงหรือ ?A : จริง รถสตาร์ตไม่ติดเพราะแบตเตอรี่อาจจะมีกำลังไม่พอ ไม่มีไฟแรงมากพอที่จะทำให้มอเตอร์สตาร์ตหมุน หรืออาจจะหมุนด้วยรอบที่ต่ำมากเกินไป ทำให้ความเร็วรอบในการทำให้เครื่องยนต์ติดไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้รถสตาร์ตไม่ติด Q : ไดสตาร์ตเสีย ใช้ไฟฟ้าได้ปกติ แต่สตาร์ตแล้วไม่มีเสียง จริงหรือ ?A : ไดสตาร์ตมีหน้าที่ฉุดให้เครื่องยนต์ติดทำงาน หลังจากบิดกุญแจสตาร์ตรถ อาการที่เราสามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นเลยก็คือ หากเราบิดกุญแจเพื่อสตาร์ตรถ ไฟหน้าปัดยังติดครบเป็นปกติ แต่ไม่มีเสียงการทำงานของเครื่องยนต์ใด ๆ ตามมา (อาจมีเสียงแชะ ๆ) ก็มีความเป็นไปได้ว่าไดสตาร์ตรถมีปัญหา Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของน้ำอัดลม จริงหรือ ?

16 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำอัดลมเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าอันตราย ดื่มแล้วจะกัดกระเพาะ บ้างก็ว่า ดื่มน้ำอัดลมผสมกับนม กลายเป็นหินปูนเกาะลำไส้ ?!  เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลัง จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนว่าห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต โดยมีคลิปการทดลองผสมเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน แล้วเกิดเป็นฟองสีขาวฟูขึ้นมาอย่างน่าตกใจ เมื่อทิ้งไว้สักครู่ฟองสีขาวนั้นจะเกิดการแข็งตัว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังสามารถทำได้ ไม่เป็นอันตราย ส่วนประกอบของเครื่องดื่มทั้งสองชนิด ไม่มีส่วนประกอบใดที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว ส่วนภาพในคลิปนั้นอาจจะเป็นการทดลองทำ Polyurethane Foam ซึ่งใช้สารที่มีสีน้ำตาลคล้ายกันกับน้ำอัดลม ในความเป็นจริงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็คือ การที่ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนนั่นเอง” อันดับที่ 2 : น้ำอัดลมอันตราย จริงหรือ ? มีการแชร์อินโฟกราฟิกเตือนให้ระวังภัยหลายอย่างจากการดื่มน้ำอัดลม เช่น ฟันผุ กระดูกบาง ตับถูกทำลาย เบาหวาน รวมไปถึงมะเร็ง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.สืบพงษ์ […]

The Future : อนาคตทางไซเบอร์ที่ควรต้องรู้ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

16 สิงหาคม 2023 มาต่อกันใน บทที่ 5 ของหนังสือ The Cyber Mindset ว่า ในอนาคต โลกไซเบอร์จะมีภัยอะไรที่เราควรต้องระวัง และเราควรจะต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

กว่าจะมาเป็นหนังสือ The Cyber Mindset | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

15 สิงหาคม 2023 เจาะลึก! เบื้องหลังว่า กว่าจะมาเป็นหนังสือ The Cyber Mindset นั้น มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ น่าสนใจแค่ไหน มาร่วมเจาะลึกเนื้อหาแบบ Exclusive ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

สภาวะเสี่ยงบนโลกไซเบอร์| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

14 สิงหาคม 2023 DCASTบนโลกไซเบอร์ที่คุณเล่นอยู่ทุกวันนั้น อาจมีภัยบางอย่างที่คุณไม่รู้ และพร้อมจะโจมตีคุณอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตกอยู่ใน สภาวะเสี่ยงทางไซเบอร์ มาร่วมฟังแนวคิดการป้องกันภัยร้ายบนโลกไซเบอร์ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : ก้มหน้าดูมือถือมากไป ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ จริงหรือ ?

7 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เรื่องเล่าเตือนว่า ผู้สูงวัยรายหนึ่ง ปวดศีรษะรุนแรง หมอสอบประวัติ พบสาเหตุว่าเป็นเพราะนั่งก้มหน้าเล่นมือถือมากเกินไป จนกดทับกระดูกต้นคอ ยิ่งก้มมาก ก้มนาน เสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาตได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ -การปวดศีรษะรุนแรง เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง-การก้มหน้าเล่นมือถือทำให้ปวดต้นคอ เป็นอาการของกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ดังนั้น อาการดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่โรคเดียวกัน จึงไม่ควรแชร์ต่อให้เกิดความเข้าใจผิด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากเรื่องราวที่แชร์มามีสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน อาการกระดูกคอเสื่อม หรือกล้ามเนื้อหลังไม่ดี ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดหัวรุนแรง และหมดสติเฉียบพลัน แต่อาการปวดคอ มึนศีรษะนั้นมีความเป็นไปได้ Q : ตามที่แชร์กัน ผู้สูงอายุมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แพทย์ต้องตรวจ MRI เพื่อสแกนหาผลผิดปกติ ?A : อาการแบบนี้จะไม่ใช่อาการกลุ่มออฟฟิศซินโดรม แพทย์ต้องทำ MRI เพื่อหาตำแหน่งเลือดออกในสมองหรือบริเวณที่สมองว่าได้รับความเสียหายหรือไม่ หากมีเลือดออกแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและแยกโรคเพื่อเป็นแนวทางในการหาสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองได้ทันท่วงที Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี จริงหรือ ?

ตามที่มีแชร์ว่ากินหมูกระทะที่เกรียมๆ สีดำ เสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  “ถุงน้ำดี” เป็นที่ที่น้ำดีสะสมรวมกันเพื่อขับออกมาย่อยอาหารที่กินเข้าไปแต่ละมื้อ การกินอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมอาจได้รับสารทำให้เกิดมะเร็ง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนอาหารที่มีสีดำหรือไหม้เกรียมจะถูกย่อย ดูดซึมบางส่วนจะถูกขับออกมากับอุจจาระ ไม่ได้ตกตะกอนในถุงน้ำดีกรณีที่ผ่านิ่วในถุงน้ำดีพบว่าเป็นสีดำ ควรตรวจว่าเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี แต่ควรไปพบแพทย์หากปวดท้องรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินบีรวม วิตามินดี และเอนไซม์ Q10 รักษาอาการชาปลายมือปลายเท้า จริงหรือ ?

10 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ให้กินวิตามินบีรวม วิตามินดี และเอนไซม์ Q10 เสริม จะช่วยให้อาการชาดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย ข้อเท็จจริง คือ เส้นประสาทฟื้นตัววันละ 1 มิลลิเมตร ดังนั้นการรับประทานวิตามินบีรวมเพื่อหวังให้เส้นประสาทเร่งฟื้นตัวได้เร็วขึ้นมากกว่า 1 มิลลิเมตรต่อวันนั้นเป็นไปไม่ได้ หากตรวจเลือดพบว่าระดับวิตามินดียังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องรับประทาน สำหรับผู้ที่มีอาการชาปลายมือปลายเท้าควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เอนไซม์ Q10 วิตามินดี เหมาะกับใคร ? อย่างไรก็ตาม วิตามินที่กล่าวมาข้างต้นแพทย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าหากมีโรคเฉพาะ วัยเฉพาะ ควรรับประทาน แต่หากเป็นเหน็บชาแล้วจะรับประทานวิตามินทั้ง 3 อย่างตามที่แชร์กันจึงไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ปิโตรเลียมเจลช่วยให้ขนตายาว จริงหรือ ?

ตามที่มีคำแนะนำว่าการใช้ปิโตรเลียมเจล ทาที่ขนตาเป็นประจำช่วยให้ขนตายาวขึ้นได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การทาปิโตรเลียมเจลจะช่วยให้ขนตายาวขึ้น หรือหนาขึ้นได้ นอกจากนี้ปิโตรเลียมเป็นของใช้ภายนอก การนำมาทาบริเวณดวงตาอาจก่อให้เกิดอันตราย เกิดการอักเสบและติดเชื้อต่อดวงตาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รอบบริเวณดวงตา รวมไปถึงเครื่องสำอาง มีโอกาสที่สิ่งเหล่านี้จะหลุดเข้าไปในดวงตา โดยเฉพาะหากผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้เขียนว่าใช้รอบดวงตาได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีเติมน้ำมันรถ จริงหรือ ?

9 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำมันรถเอาไว้มากมาย ทั้งเทคนิคประหยัดน้ำมันเกียร์ออโต้ และเติมน้ำมันเต็มถังขาดทุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เติมน้ำมันเต็มถังขาดทุน จริงหรือ ? มีการแชร์เตือนกันเรื่องการเติมน้ำมันว่า ไม่ควรเติมแบบเต็มถัง เพราะจะทำให้เราขาดทุน เนื่องจากน้ำมันที่ค้างสายจะไหลคืนเป็นของปั๊ม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายนรเศรษฐ จินดานิล ผู้จัดการส่วนซ่อมบำรุงสถานีบริการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “อุปกรณ์จ่ายน้ำมันตามสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันเป็นระบบ Close Loop คือจ่ายน้ำมันออกอย่างเดียว ไม่ไหลย้อนกลับไปสายเติมน้ำมันได้ ดังนั้นการเติมน้ำมันเต็มถังจึงไม่ได้ทำให้ขาดทุน และได้ปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายไป ไม่ได้คิดรวมถึงน้ำมันที่ค้างในสายแต่อย่างใด” อันดับที่ 2 : เติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ สำหรับผู้ใช้รถว่าเติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายสุรมิส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 7 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม จริงหรือ ?

8 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 7 วิธีการขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย เช่น ไม่ควรสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งเมื่อเครื่องยนต์ดับนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ข้อความที่แชร์ : 7 เทคนิค หากต้องขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Imitation Behavior

Imitation Behavior หมายถึง พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยและเป็นไปได้ทั้งด้านบวกและด้านลบพฤติกรรมของผู้เลียนแบบจะแสดงออกโดยอาศัยพฤติกรรมของตัวแบบเป็นต้นแบบเมื่อตัวแบบประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร ผู้เลียนแบบก็จะกระทำอย่างนั้นโดยฝ่ายตัวแบบอาจมีตัวตนอยู่จริง หรืออาจมาจากในจินตนาการ

1 30 31 32 33 34 49