ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเบอร์โทรอันตราย จริงหรือ ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อง เบอร์อันตราย ห้ามรับสายเด็ดขาด หากรับสายจะเป็นการยืนยันสมัครสมาชิก ทำให้เสียเงินทุกเดือนนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ⚠️ เบอร์โทรนี้ เคยเป็นข่าวในอดีต ⚠️ คือ เป็นของบริษัทให้บริการเนื้อหาเสียงแห่งหนึ่ง ที่เคยถูกร้องเรียนเกี่ยวกับการยกเลิกบริการได้ยากแต่ต่อมาได้มีการชี้แจงและแก้ไขแล้ว ตั้งแต่ราวปี 2558 อย่างไรก็ตาม ข้อความที่แชร์กัน มีส่วนที่คลาดเคลื่อน คือ การรับสายในประเทศไทย ไม่มีผลทำให้เสียค่าบริการ หรือเป็นการสมัครบริการโดยอัตโนมัติแต่อย่างใดจะต้องมีการกดยืนยันการสมัครก่อนเสมอและการจำเพียงเบอร์โทรต่าง ๆ นั้น ก็อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะมีเบอร์โทรอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพียงเข้าใจหลักการ และ ไม่หลงกดปุ่มตามโดยทันที ที่อาจมีเบอร์โทรใดโทรมาเชิญชวนหรือเร่งเร้าให้กดยืนยันสิทธิ์ ดูเพิ่มเติม 18 พ.ค. 2564ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท ———– ข้อความที่แชร์กัน ————-บอกเพื่อนของคุณทุกคนเพื่อป้องกันการถูกแฮ็ก ทักทายด้วยคำพูดของคุณเองและส่งเฉพาะภาพและวิดีโอที่คุณสร้างขึ้นเพื่อทักทายคุณเท่านั้นสิ่งนี้ปลอดภัยสำหรับคุณครอบครัวและเพื่อนของคุณ โปรดเข้าใจว่าฉันหมายถึงอะไรให้ถูกต้อง! โทรศัพท์มือถือของทุกคนแนบบัตรธนาคารและโทรศัพท์มือถือของทุกคนมีรายชื่อติดต่อมากมาย รูปภาพทักทายแบบนี้ที่แฮกเกอร์สร้างขึ้นไม่เพียง แต่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อตัวคุณเอง แต่ยังคุกคามผู้ติดต่อทั้งหมดในโทรศัพท์เพื่อนและคนรู้จัก นี่คือความจริงที่โหดร้าย! ‼️ ! ‼️ ! […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์เกียร์ออโต้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์

น้ำมันเกียร์เมื่อใช้ไปสักพักจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม นาน ๆ เข้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ และยังเหนียวหนืดกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งจะเกิดความร้อนในการทำงานของระบบเกียร์ และเศษโลหะที่เข้าไปปะปน จึงทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพลง

ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

9 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนังนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาการตับคั่งไขมัน หรือไขมันพอกตับส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลเกินไปแต่หากสงสัยแพทย์มีวิธีสังเกต ดังนี้ 1. มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 (BMI > 23) หรือไม่ ? 2. ดูโรคร่วมว่ามีเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไม่ ? 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ค่าตับสูงหรือไม่ ? ข้อความที่แชร์มา 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุโรคตับคั่งไขมัน

2 ตุลาคม 2566 – ไขมันพอกตับ หรือ ตับคั่งไขมัน โรคที่หลายคนอาจเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน 1.กลุ่มโภชนาการเกิน โรคอ้วน ส่วนมากผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักมีรูปร่างอ้วนและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ 2.กลุ่มสัมพันธ์โดยตรงกับโรคเบาหวาน ภาวะนี้มักเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของตับ นำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ 3.กลุ่มซ่อนรูป คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นเบาหวาน โรคตับคั่งไขมันอาการมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนไม่ทราบว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ถึงแม้ว่าคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับคั่งไขมัน แต่ถ้าหากพูดถึงอาหารในแง่ของการเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยที่มีปัญหาเรื่องโรคตับคั่งไขมัน มักมีไขมันสะสมในเลือดสูง หลักการรักษาทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : กล้วยเป็นสีดำ มีปรสิต ห้ามกิน จริงหรือ ?

6 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการคลิปและคำเตือนว่า กล้วยที่สุกจนเปลือกเป็นสีดำ เมื่อนำไปส่องกล้องจะพบว่ามีปรสิต พยาธิของหนอนแมลงวัน อันตรายสุด ๆ นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบ ผศ.ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคลิปเป็นปรสิต จริงหรือ ?ตอบ : ไม่ใช่ปรสิตหรือพยาธิแต่อย่างใด จริง ๆ แล้วเป็นหนอนแมลงวัน อาจารย์อธิบายว่า ในคลิปเป็นหนอนแมลงหวี่ แมลงหวี่เป็นแมลงวันอีกวงศ์หนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก มักชอบตอมผลไม้ที่สุกงอม แมลงหวี่ก็มักจะมาตอม และวางไข่ ก็จะมีตัวหนอนมาชอนไชในเนื้อผลไม้ที่เราตั้งทิ้งไว้ กล้วยเป็นสีดำ เป็นกระบวนการค่อย ๆ เน่าโดยธรรมชาติแต่ไม่ใช่จุดดำจะมีหนอนเสมอไป และไม่ควรกินเมื่อผลไม้เริ่มเน่าเพราะอาจจะมีเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ปะปนอยู่ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : QUEERBAITING ? — การตลาดเจาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

7 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้…เป็นกลยุทธ์การตลาดที่นำอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศมาเป็นจุดขาย ดึงดูดผู้คน และ สิ่งนี้…นำมาซึ่งเสียงสะท้อน ทำให้เกิดภาพจำแบบเหมารวม ด้วยความเข้าใจผิด ต่อความหลากหลายทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถติดแก๊ส ระบบน้ำมันเสียหาย เพราะไม่เติมน้ำมัน จริงหรือ ?

3 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนเกี่ยวกับรถยนต์ที่ดัดแปลงติดตั้งระบบแก๊ส ว่า ถ้าไม่เติมน้ำมันเลย ปล่อยให้ถังน้ำมันแห้ง จะทำให้ระบบน้ำมันเกิดความเสียหายได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า “โดยปกติควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงไว้อย่างน้อย 1 ใน 4 ของถังน้ำมัน เพื่อรักษาคุณภาพของเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันไม่ให้เสื่อมสภาพ และควรสตาร์ตหรือดับเครื่องยนต์ ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่เสมอ แต่หากปล่อยให้น้ำมันใกล้หมดถังอยู่บ่อย ๆ อาจทำให้ปั๊มเชื้อเพลิง หรือ ปั๊มติ๊ก ที่ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังส่งไปยังระบบหัวฉีดของเครื่องยนต์ดูดอากาศปะปนเข้ามากับน้ำมัน ทำให้เครื่องยนต์มีอาการสะดุด เร่งไม่ขึ้น สตาร์ตติดยาก และส่งผลให้ปั๊มเชื้อเพลิงมีอายุการใช้งานสั้นลง เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงในถังจะทำหน้าที่ช่วยในการระบายความร้อนให้แก่ปั๊มเชื้อเพลิงอีกด้วย” * ปั๊มติ๊ก คือ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เบนซิน ทำงานโดยใช้หลักการตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แผ่นไดอะเฟรมขยับตัวเข้าออก เมื่อประกอบเข้ากับชุดลิ้นปิด-เปิด การขยับตัวของแผ่นไดอะเฟรมจะเกิดแรงดูด และแรงดันทำให้สามารถดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเชื้อเพลิงป้อนให้กับระบบเชื้อเพลิง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปนวดท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก จริงหรือ ?

5 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปกดนวดบริเวณดวงตาของทารก เพื่อรีดเอาน้ำตาที่ค้างในท่อน้ำตาออก ช่วยรักษาอาการท่อน้ำตาอุดตันได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตามคลิปที่แชร์มาเป็นวิธีพิสูจน์อาการท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิดของเด็กทารก ในคลิปเป็นการนวดโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้ผู้ที่ไม่มีทักษะทำตามเพราะอาจจะเกิดความบอบช้ำกับทารกได้” สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ตั้งค่า iOS อย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

การตรวจสอบด้านความปลอดภัย ฟีเจอร์นี้คืออะไร และเมื่อเราตั้งค่าสิ่งนี้แล้ว จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นแค่ไหน มารู้จักฟีเจอร์ใหม่ที่มีในระบบ iOS และตั้งค่าไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : น้ำมะนาวรักษาต้อเนื้อ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความว่า “ตาต้อเนื้อ” หรือต้อเนื้อที่เกิดขึ้นในตานั้นสามารถใช้น้ำมะนาวหยอดตารักษาได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย, นพ.นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ไม่มีส่วนประกอบใดในน้ำมะนาวที่ทำให้ต้อเนื้อเล็กลง หายไป หรือหลุดออกมาได้ และน้ำมะนาวมีฤทธิ์ป็นกรด อาจทำให้แสบตา ระคายเคืองตาและเป็นอันตรายต่อเยื่อบุตาได้”

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเตือน ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง เพราะจะกัดกระเพาะและทำให้ท้องอืดได้ ? บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ภญ.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “นมเป็นกรดอ่อน ๆ จนเกือบไม่ต่างกับเป็นกลาง ไม่สามารถกัดกระเพาะได้ สำหรับคนสุขภาพดีทั่วไปสามารถกินนมตอนท้องว่างได้ ยกเว้นผู้ที่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเพราะจะทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องอืดได้ การกินสิ่งต่าง ๆ อาจส่งผลต่อร่างกายของแต่ละคนได้แตกต่างกัน”

1 28 29 30 31 32 52