ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีช่วยชีวิตคนถูกไฟไหม้

23 ตุลาคม 2566 – เมื่อพบผู้บาดเจ็บจากเหตุเพลิงไหม้ ช่วยอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งเขาและเรา สิ่งใดควรทำ และสิ่งใดห้ามทำ ก่อนเจ้าหน้าที่กู้ภัยกู้ชีพจะมาถึง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. นพ.พรพรหม เมืองแมน ผู้ช่วยคณบดี / รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ “สิงห์อาสา” การจำลองเหตุการณ์และบาดแผลตกแต่งเพื่อการเรียนรู้ ในโครงการอบรม “กู้ภัยและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไฟไหม้” สัมภาษณ์เมื่อ : 16 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กะดึก เปลี่ยนไทม์โซน นอนอย่างไร

19 ตุลาคม 2566 – เตรียมนอนยังไง เมื่อเปลี่ยนไทม์โซน และการทำงานเป็นกะ ควรนอนอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของการกินผัก จริงหรือ ?

18 ตุลาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับการกินผักเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าถั่วเหลือง-เต้าหู้อันตราย จะไปทำลายสมอง และเราไม่ควรกินผักสด เพราะมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นอัมพาต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : โลชันและสเปรย์กันยุง ใช้ขัดไฟหน้าได้ จริงหรือ ?

17 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความแนะนำว่า โลชันและสเปรย์กันยุง สามารถใช้ขัดไฟหน้ารถที่เหลือง ให้กลับมาขาวใสได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผอ.ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ศปอส.) จุฬาฯ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์จักรวาล บุญหวาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี “สามารถใช้ขัดไฟหน้าให้หายเหลืองได้แต่จะไม่หายมัว สาเหตุที่สเปรย์และโลชันกันยุงขัดไฟได้นั้นเป็นเพราะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จึงสามารถใช้ในการทำความสะอาดตามพื้นผิวต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากอยากลองวิธีนี้ควรระมัดระวังไม่ให้โดนสีรถ สัมภาษณ์เมื่อ : 4 ตุลาคม 2566 และ 6 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

16 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมัน สาเหตุหลักมักเกิดจากความอ้วน มีไขมันสะสมมาก และส่วนหนึ่งของไขมันได้เข้าไปอยู่ในตับ ทำให้ ตับอักเสบจนเกิดพังผืดตับ ในระยะแรก ๆ ของโรค มักไม่แสดงอาการ โดยเฉลี่ยเมื่อเกิน 10 ปีขึ้นไป ตับจะเริ่มอักเสบ เซลล์ตับถูกแทนที่ด้วยพังผืด นำไปสู่โรคตับแข็ง ตับคั่งไขมันระยะเริ่มมีพังผืดแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 ระยะพังผืดเริ่มต้น เป็นโรคนี้มา 1-2 ปี ระยะนี้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาของแพทย์ ระยะที่ 3 และ 4 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สูญเสียการนอน หรือการอดนอน

15 ตุลาคม 2566 – สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร เหมือนกับการนอนไม่หลับหรือไม่ และเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงจึงจะไม่ถือว่าอดนอน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร ? สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss หมายถึง การที่เรามีเวลานอน มีโอกาสนอนเพียงพอ แต่เราไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอและเหมาะสม เช่น ทำงานดึก ดูซีรี่ส์ และตอนเช้าต้องตื่นมาทำงาน ทำให้ระยะการนอนนั้นสั้น เรียกว่า สูญเสียการนอน การนอนไม่หลับ คือ มีโอกาสที่จะนอนให้เพียงพอได้ แต่นอนไม่หลับ ซึ่งต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเพราะเหตุใด อาจจะกังวล ความเครียด หรือโรคทางกาย อันตรายจากนอนดึก “การนอนหลับที่ดีนั้น” พฤติกรรมการนอนควรต้องหลับสนิทไม่ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง โดยภายในคืนนึงต้องมีระยะเวลาในการนอนสะสมให้เพียงพอถึง 6-9 ชั่วโมงโดยประมาณ  การอดนอนจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : สูตรไล่ยุง ด้วย สบู่+น้ำส้มสายชู+น้ำตาลทราย ใช้ได้ จริงหรือ ?

จากกรณีที่มีการแชร์คลิปแนะนำสูตรผสมสารไล่ยุงได้ง่าย ๆ ด้วยวัตถุดิบที่หาได้ในครัวเรือน คือ สบู่ น้ำส้มสายชู และ น้ำตาลทราย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ส่วนผสมสบู่ + น้ำส้มสายชู + น้ำตาลทราย ไม่มีคุณสมบัติในการไล่ยุง ไม่สามารถป้องกันยุงกัดได้ หากอยากไล่ยุงแนะนำพวกน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร เช่น ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส จะได้ผลชัดเจนกว่า”

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : เสียงในหูเกิดจากไตอ่อนแอ จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวว่า เสียงดังในหูมีสาเหตุจากอาการไตอ่อนแอ แนะนำให้บำรุงไต เพื่อช่วยให้อาการหูมีเสียงดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล “เสียงดังในหูไม่ได้เกิดจากไตอ่อนแอแต่อย่างใด แต่หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายหรือไตทำงานผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ เนื่องจากมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของไตกับหูมีความคล้ายกันสามารถกรองของเสียได้เหมือนกัน ในผู้ป่วยไตวายจะมีภาวะประสาทหูเสื่อมค่อนข้างเร็ว และส่วนใหญ่จะได้ยิน 2 ข้าง ผู้ป่วยไตวายประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นนั้น เนื่องจากว่ามีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายและมีผลต่อระบบเลือดทั้งหมด แต่หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และควบคุมอาการของไตได้ดี ประสาทหูก็จะเสื่อมตามอายุปกติ ส่วนการกินอาหารบำรุงไต เพื่อบำรุงหูนั้น จริง ๆ แล้วไม่เกี่ยวกัน เป็นอวัยวะคนละส่วนกัน หากผู้ป่วยมีความกังวลใจไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะดีกว่า”

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CRYPTOJACKING ? — ภัยคุกคามที่มาแรงในปัจจุบัน

14 ตุลาคม 2566 สิ่งนี้…กลายเป็นตัวเลือกภัยคุกคามในปัจจุบัน ที่สร้างรายได้ให้กับอาชญากรทางไซเบอร์เป็นจำนวนมาก และ สิ่งนี้…มีรายงานพบว่าเกิดขึ้นกว่า 8 ล้านครั้งต่อวัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทั่วโลก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 14 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และจิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

13 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สูตรน้ำผักผลไม้ บำรุงร่างกาย โรคร้ายหาย จริงหรือ ?

11 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำผักผลไม้เอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าน้ำผักบุ้ง-มะเฟืองปั่น รักษาต่อมลูกหมากโต และการดื่มน้ำมะพร้าวแก้บ้านหมุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : น้ำกระชายแก้กระดูกเสื่อมได้ จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อมูลวิธีรักษาโรคกระดูกเสื่อม ด้วยการดื่มน้ำกระชาย ผสมน้ำผึ้งมะนาว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ รองผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก แคลเซียมมีคุณสมบัติทำให้กระดูกแข็งแรง ไม่ละลายในน้ำ “กระชาย” มีแคลเซียมเพียง 2-3% ที่ร่างกายต้องการต่อวัน นอกจากไม่มีฤทธิ์รักษาโรคกระดูกเสื่อมแล้ว หากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำอันตรายต่อตับ ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบจะมีประโยชน์กว่า อาทิ ปลาตัวเล็ก นม ฯลฯ ลดการสูญเสียแคลเซียมด้วยการลดอาหารรสเค็ม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ แชร์ว่าผู้ป่วยโรคกระดูกเสื่อมเฉียบพลันจะหายดีเมื่อกินน้ำกระชาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดื่มน้ำเย็น ทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า การดื่มน้ำเย็นจะทำให้ไขมันจับตัวแข็งอุดตันในร่างกายนั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับดร.วราภรณ์ มลิลาศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อน้ำเย็นเจออุณหภูมิในปากจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งไขมันไม่สามารถเป็นไขได้ในอุณหภูมิดังกล่าว ภาพที่เห็นในคลิปเป็นเพียงการทดลองว่าเมื่อน้ำบางประเภทถูกอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะทำให้เป็นไข หากใช้น้ำอุ่นเลียนแบบอุณหภูมิร่างกายก็ไม่มีผลให้เกิดเป็นไข จึงควรระวังการกินไขมันมากกว่ากลัวว่าไขมันจะจับตัวเป็นไขในร่างกาย อย่างไรก็ตาม แม้น้ำเย็นจะสร้างความสดชื่นเวลาออกกำลังกาย แต่ควรกินน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานที่ต้องปรับอุณหภูมิที่เย็นเข้าสู่อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย

1 27 28 29 30 31 52