ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : VICTIM BLAMING ? — พฤติกรรมสนับสนุนผู้กระทำผิดทางอ้อม

15 กันยายน 2566 – สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมการซ้ำเติมผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อ ให้ได้รับความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้…ถือเป็นการสนับสนุนผู้กระทำผิดทางอ้อม ทำให้เหยื่อเกิดภาวะซึมเศร้า ที่กว่า 70% อาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายจากเมนูอาหารดิบ

14 กันยายน 2566 ในสังคมไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างจากอดีตมาก อาหารสุกดิบค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ซอยจุ๊ กุ้งดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดพยาธิและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกันถึงพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนใหญ่เชื้อที่พบในเนื้อดิบ มีอะไรบ้าง ? 1.ซอยจุ๊ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิตัวตืด ซึ่งเกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป เมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง 2.หมึกซ็อต เมนูยอดฮิตนี้อาจทำให้หมึกดิ้นและสำลักลงหลอดลมหรืออุดตันหลอดอาหาร เสี่ยงอันตราย การกินอาหารทะเลดิบโดยไม่ผ่านความร้อนหรือแช่แข็ง มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio ทำให้ติดเชื้อในทางเดินอาหารรุนแรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวปริมาณมาก 3.กุ้งดิบแช่น้ำปลาในกุ้งสด ๆ อาจจะปนเปื้อนเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ 4.ปลาน้ำจืดดิบเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับพบในปลาน้ำจืด ดังนั้นหากจะกินปลาดิบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลัง จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่าห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต โดยมีคลิปการทดลองผสมเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน แล้วเกิดเป็นฟองสีขาวฟูขึ้นมาอย่างน่าตกใจ เมื่อทิ้งไว้สักครู่ฟองสีขาวนั้นจะเกิดการแข็งตัว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี “การกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังสามารถทำได้ ไม่เป็นอันตราย ส่วนประกอบของเครื่องดื่มทั้งสองชนิด ไม่มีส่วนประกอบใดที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว ส่วนภาพในคลิปนั้นอาจจะเป็นการทดลองทำ Polyurethane Foam ซึ่งใช้สารที่มีสีน้ำตาลคล้ายกันกับน้ำอัดลม ในความเป็นจริงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็คือ การที่ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนนั่นเอง”

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องระวัง

13 กันยายน 2566 – สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องปกปิด เพราะหากรั่วไหลออกไป อาจถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลเหล่านี้มาทำร้ายเรา ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 5 : ระวัง ! โมเดลลิ่งเก๊ หลอกพริตตี้ถ่ายโป๊ ขายออนไลน์  เตือนสาว ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากเข้าวงการบันเทิงหรือเป็นพริตตี้ ระวังโมเดลลิ่งเก๊ที่มีสาวประภทสองเป็นนกต่อ ที่หากคุณพลาดหรือเสียรู้ อาจถูกหลอกให้ถ่ายภาพโป๊ ซ้ำภาพเหล่านั้นยังถูกเผยแพร่อยู่ในโลกออนไลน์ ! พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้กำกับการ และโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) มอบข้อคิด ข้อเตือนใจง่าย ๆ ในการป้องกันหรือรับมือกับมิจฉาชีพในโลกไซเบอร์ เพื่อเตรียมพร้อมให้เราทุกคนสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน กลโกงคนร้ายจะทำการสมัครเฟซบุ๊ก ปลอมโปรไฟล์ว่าเป็นโมเดลลิ่งหานางแบบ นักแสดง เข้าวงการบันเทิง ก่อนจะเลือกติดต่อไปยังผู้เสียหายที่เป็นพริตตี้ หรือเน็ตไอดอล ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ชักชวนมาแคสติ้งงาน พร้อมกับให้แอดไลน์ตัวเองที่ทำปลอมขึ้นมา โดยใช้วิธีพูดคุยเป็นเดือนเพื่อให้ผู้เสียหายตายใจ ก่อนขอดูสัดส่วน สรีระ เพื่อพิจารณาหางานให้แคสติ้ง จนผู้เสียหายยอมถอดเสื้อผ้า ก่อนที่จะนำภาพลับผู้เสียหายเหล่านั้นไปโพสต์ลงกลุ่มลับ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : อะลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมู อันตราย จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปการทำหม้อชาบู-ย่างหมูกระทะ โดยใช้กระดาษอะลูมิเนียมฟอยล์กับเทียนไข ต่อมาก็มีการแชร์กันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอันตราย ทำให้เป็นมะเร็งได้ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ผศ.ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “อะลูมิเนียมฟอยล์มีความปลอดภัยสำหรับใช้บรรจุอาหาร แต่ก็ไม่ควรนำไปใช้ทำตามวิธีการที่มีการแชร์กัน เพราะเป็นการใช้ผิดจุดประสงค์และอาจเกิดอันตราย และอีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังอันตราย คือ โครงของเตาที่ทำจากพลาสติกอาจละลายและแนบกับอะลูมิเนียมฟอยล์บริเวณที่ขาดหรือมีรูทำให้พลาสติกอาจติดไปกับเนื้อหมูที่กินได้”

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้รถในเขตพื้นที่น้ำเค็ม ช่วงล่างจะผุไว จริงหรือ ?

12 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนเกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์ ว่า การใช้รถในพื้นที่ที่เป็นเขตน้ำเค็ม หรือใกล้ทะเล ช่วงล่างจะผุไวนั้น บทสรุป : จริง บางส่วนไม่ควรแชร์ ⚠️ ✅ มีโอกาสผุได้จริง ตามที่แชร์กัน ❌ แต่ระยะเวลาตามที่แชร์มานั้นไม่เป็นความจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ความเค็มของน้ำทะเลทำให้รถเกิดสนิมโดยเฉพาะช่วงล่างหรือตัวถังรถและนานเข้าจะทำให้รถผุพัง เพราะน้ำทะเลมี คลอไรด์ เป็นส่วนประกอบก็จะไปเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กทำให้สนิมเกิดเร็วขึ้น แต่ก็ไม่น่ากังวลใจเพราะรถสมัยใหม่มีการเคลือบเหล็กที่ตัวถังรถและเคลือบสีที่ดีอยู่แล้ว ตามปกติรถยนต์ถูกออกแบบมาให้ใช้ทั่วประเทศ รถรุ่นใหม่ ๆ มีการพัฒนาการผลิตในส่วนของตัวถัง มีระบบการเคลือบเหล็กและตัวถังที่ดีมากขึ้น แต่หากมีการใช้งานในพื้นที่ติดทะเล ก็อาจจะต้องดูแลรักษาเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ อาจจะต้องมีการพ่นกันสนิมบนรถให้ทั่วคันโดยเฉพาะช่วงถังรถและเคลือบสีรถอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่ควรแชร์ต่อ เพราะจะทำให้เกิดความตื่นตระหนก   ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรเลือกแนวทางการรักษาอย่างไร ควรกินอะไร หรือมีอาหารใดที่ห้ามกิน  ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดตา

10 กันยายน 2566 – ปวดตา เป็นเพราะอะไรได้บ้าง แล้วจะป้องกัน บรรเทา หรือ รักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการปวดตา ตาล้า สายตาเพลียอาจจะเกี่ยวข้องกับการใช้สายตามากขึ้น เพราะการทำงานในยุคปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์และการอ่านหนังสือค่อนข้างมาก ทำให้เกิดอาการเกร็ง อาการเพลีย อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้ เมื่อมีอาการปวดตาหากอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจดูแลตนเองได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความระบุว่าหากเป็นทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม เพราะจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือลดการอักเสบได้ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ “ความเย็นของไอศกรีมมีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอจริง แต่การกินของเย็นไม่ได้ช่วยลดการอักเสบตามที่แชร์กัน แพทย์เตือนว่า หลังจากกินไอศกรีมก็ควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัตว์เลี้ยงกับโรคในฤดูฝน

3 กันยายน 2566 – ฤดูฝนนี้ สัตว์เลี้ยงเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง เราจะสังเกตและดูแลสุนัขและแมวในช่วงนี้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1. โรคไข้เห็บ สุนัขมักมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากเห็บในปริมาณมาก เห็บยังเป็นตัวที่ทำให้สัตว์อ่อนแอ โลหิตจาง เนื่องจากเห็บดูดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ลดต่ำลงทำให้สัตว์ติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่าย โรคไข้เห็บเกิดได้จากเชื้อหลักๆ 3 เชื้อ คือ Erhlichia (เออร์ลิเชีย), Babesia (บาบีเซีย) และ Hepatozoon (เฮปปาโตซูน) ซึ่งการติดต่อของโรคพยาธิเม็ดเลือดนี้นั้นจะเกิดจากการถูกเห็บกัด หรือสุนัขแทะตัวและกินเห็บเข้าไป อาการที่มักพบในน้องหมาที่เป็นโรคไข้เห็บ ได้แก่ ไข้สูง โลหิตจางสำหรับน้องแมว เห็บหรือหมัดอาจจะถูกกำจัดไปก่อน ส่วนน้องแมวโดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่ดูแลตัวเองสูงมักจะเลียตัวเองก็เหมือนกับเป็นการตรวจสอบสิ่งผิดปกติในร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งแบบนี้ในสุนัขจะไม่มี 2. โรคพยาธิทางหัวใจ โรคนี้สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงกัด เมื่อสุนัขโดนยุงตัวที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจกัด ก็จะถ่ายทอดตัวอ่อนสู่สุนัขตัวที่ไม่เป็นโรค แล้วตัวอ่อนก็จะเจริญเติบโตอยู่ในสุนัขตัวนั้น มักพบบ่อยในฤดูฝน อาการที่พบได้ในโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข ได้แก่ หัวใจโต หอบเหนื่อยง่าย 3. โรคฉี่หนู […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : รถ EV ยิ่งชาร์จแบต ฯ จะยิ่งเสื่อมเร็ว จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์ข้อความว่ารถ EV ยิ่งชาร์จแบตเตอรี่ จะยิ่งเสื่อมเร็วนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ปัจจุบันรถ EV ถูกออกแบบให้รองรับการชาร์จที่หลากหลายและมีระบบ Liquid Cooling ที่ช่วยระบายความร้อนและจัดการควบคุมอุณหภูมิของกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าช่วยลดผลกระทบไม่ให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน อันตรายในไอศกรีม จริงหรือ ?

25 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์บทความเรื่อง “อันตรายในไอศกรีม” เตือนว่า ในไอศกรีมของโปรดของหลายคน หารู้ไม่ว่า มีสารสังเคราะห์จากสารเคมี ที่นำอันตรายต่อสุขภาพเราได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ สารแต่งกลิ่นถูกใช้ในการทำไอศกรีมในปริมาณที่น้อยมาก และยังอยู่ในปริมาณตามที่กฎหมายควบคุมอยู่ มีความปลอดภัยแต่สิ่งที่ต้องระวังในการรับประทานไอศกรีมเป็นอาหารที่ มีไขมันสูง น้ำตาลสูง  เพราะฉะนั้นให้รับประทานในปริมาณที่พอดี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “ไอศกรีมที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการใส่วัตถุเจือปนอาหารบางอย่างเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งหลายอย่างก็อาจจะเป็นสารเคมี ในการผลิตระดับอุตสาหกรรมผู้ผลิตจะต้องขออนุญาตสูตร จากนั้น อย.จะพิจารณาว่าใช้ได้หรือไม่และมีการใช้เกินปริมาณที่กำหนดหรือไม่ ปริมาณที่กำหนดนั้นจะถูกกำหนดจากความปลอดภัยในการใช้สารนั้น ๆ เพราะฉะนั้นหากผู้ผลิตได้รับ อย. ก็ให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าอาหารนั้น ๆ มีความปลอดภัย” Q : ผู้ผลิตนำไขมันที่มาจากโรงฆ่าสัตว์มาทำไอศกรีม จริงหรือ ?A : ไอศกรีมส่วนมากทำจากครีม ครีมคือไขมันที่อยู่ในนม บางกรณีที่ผู้ผลิตอาจจะลดต้นทุน หากเป็นไอศกรีมราคาถูกหน่อย ผู้ผลิตก็จะใช้แหล่งไขมันอื่น ในบ้านเรานิยมใช้ไขมันปาล์มเติมลงไปเพื่อให้มีความมัน ส่วนไขมันจากโรงฆ่าสัตว์ที่นำมาใช้ […]

1 25 26 27 28 29 46