ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : DIGITAL DUST ? — ร่องรอยแห่งโลกออนไลน์

28 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้… เป็นร่องรอยจากพฤติกรรมการแบ่งปันความชอบบนโลกออนไลน์ และสิ่งนี้…อาจกลายเป็นประวัติที่ถูกบันทึก และขุดคุ้ยจากบุคคลอื่นได้ทุกเมื่อ โดยไม่รู้ตัว คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : THE ANAGRAM

❓ GAITSFINCH❓ ตัวอักษรที่สลับกันอยู่ …คือคำว่าอะไร ? มาทายดูกัน ? คำใบ้“การหลอกลวงผู้อื่นทางโลกออนไลน์ด้วยบัญชีปลอมที่เคยเป็นเทรนด์ในการหาคู่อย่างแพร่หลายและเป็นคดีออนไลน์ที่สร้างความเสียหายมาแล้วกว่า 861 ล้านบาท” ร่วมสนุก ลองทายคำตอบกันได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ ✨

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพร-อาหารเสริม รักษาโรคซึมเศร้า จริงหรือ ?

30 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำว่ามีสมุนไพรสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่น ขมิ้นชัน ใบบัวบก คาโมมาย กระท่อม กัญชา เห็ดหลินจือ กินต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ข้อมูลที่แชร์ว่ามีสมุนไพร หรืออาหารเสริมรักษาโรคซึมเศร้าได้นั้น ไม่เป็นความจริง ส่วนใหญ่เป็นเพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ขมิ้นชัน อาจจะมีส่วนช่วยปรับลดอาการซึมเศร้า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ใช่การรักษาหลักอย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยรองรับว่าการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า ใบบัวบก ยังไม่มีการศึกษาว่าใบบัวบกสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ คาโมมาย ช่วยคลายความวิตกกังวลได้ แต่รักษาโรคซึมเศร้าไม่ได้ กระท่อม มีฤทธิ์กระตุ้นให้มีความตื่นตัว แต่จิตใจก็ยังเศร้าอยู่ เมื่อหยุดกระท่อมก็จะทำให้เกิดอาการเพลีย แพทย์ไม่แนะนำ กัญชา สารสกัด CBD ในน้ำมันกัญชา สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็มีการศึกษาพบว่ากัญชาเพิ่มอัตราความเสี่ยงการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น เห็ดหลินจือ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยทำให้ความรู้สึกอ่อนล้าดีขึ้น แต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนอาหารเสริมที่มีสารไทโรซีน ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้ ช่วยลดภาวะความเครียด แพทย์ไม่แนะนำให้นำมารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสมุนไพรใดสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ การรักษาด้วยยาในปัจจุบัน คนไข้กลัวว่ายาจะเป็นอันตรายนั้นไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

27 ตุลาคม 2566 – ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จัก โปรตีนเกษตร

29 ตุลาคม 2566 – ทำไมอาหารชนิดนี้ จึงเรียกว่า โปรตีนเกษตร ที่มาเป็นอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง และควรกินอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โปรตีนเกษตรมีที่มาอย่างไร ? โปรตีนเกษตร เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืช ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออก ผลิตขึ้นรูปโดยกระบวนการ เอกซ์ทรูชัน (extrusion) ผลิตและค้นคว้าโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.2512  โดยในช่วงแรก ใช้ชื่อเรียกว่า “เกษตรโปรตีน” จากนั้น มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตร วัตถุดิบหลักและกรรมวิธีการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเป็นตัวช่วยให้มีรสชาติ สี กลิ่นให้น่ากินมากขึ้น ระยะเวลาการเตรียมและนำไปประกอบอาหารได้สะดวกขึ้น  โปรตีนเกษตร ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ ? โปรตีนเกษตรจากถั่วเหลืองถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย การกินโปรตีนเกษตร เพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์สามารถทำได้ แต่ไม่แนะนำให้กินติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้ว่าโปรตีนเกษตรจะสามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แต่โปรตีนเกษตรไม่ได้มีโปรตีนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้พลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

26 ตุลาคม 2566 – การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และการนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต กรดไหลย้อน จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับกรดไหลย้อนเอาไว้มากมาย ทั้งอันตราย ห้ามนอนตะแคงขวา และการกลั้นผายลมเสี่ยงให้เกิดกรดไหลย้อน ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กรดไหลย้อน ห้ามนอนตะแคงขวา จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อนห้ามนอนตะแคงขวาโดยเด็ดขาด บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า มีการวิจัยว่านอนตะแคงขวามีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากกว่านอนตะแคงซ้าย  และแม้ว่ากรดไหลย้อนจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต โดยในต่างประเทศคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรงเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนให้ศีรษะอยู่สูงจะช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีกว่านอนตะแคง โดยต้องหนุนเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วขึ้นไป ไม่ใช่หนุนหมอนสูง ส่วนวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน คือ ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป อย่าใส่เสื้อผ้ารัด เลี่ยงอาหารทอด-มัน-รสเปรี้ยวจัด และควรนอนหลังกินอาหารมื้อเย็นแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้าน ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วุ้นมะพร้าวทำมาจากกระดาษทิชชู่หรือพลาสติก จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปถึงผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งว่าวุ้นมะพร้าวทำมาจากกระดาษทิชชู่หรือพลาสติก ทำให้ผู้บริโภคไม่กล้าบริโภคนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ บริษัท ทวีผลผลิตภัณฑ์ จํากัด ผู้ผลิตสินค้ากาโตะ ได้ชี้เเจงว่าไม่เป็นความจริงและทางบริษัทขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้ กาโตะ ได้ขึ้นทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์อาหารกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับมาตรฐานการผลิตอาหารระดับสากล GHP, GMP, HACCP, ISO 9001:2015, FSSC 22000, HALAL, MUI และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก วุ้นมะพร้าว คือ เส้นใยอาหาร ผลิตโดยการนำน้ำมะพร้าวและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ Acetobacter Xylinum มาผ่านกระบวนการผลิต ได้ผลผลิตเป็น แผ่นวุ้นที่มีเส้นใยอาหารรวมตัวกัน มีเนื้อสัมผัสธรรมชาติ คือ นุ่มเหนียวหนึบ และมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย บริษัทฯ ขอความกรุณามายังผู้โพสต์ข้อความและผู้รับข้อมูลดังกล่าว ซึ่งอาจกระทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำการลบข้อมูลและอย่าส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะหากผู้บริโภคมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับวุ้นมะพร้าว บริษัทฯมีนักวิชาการอาหารพร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ท่าน โดยสามารถติดต่อกับบริษัทฯได้ที่ Email : […]

รู้ทัน ข่าวปลอมระบาด สงครามอิสราเอล-ฮามาส Part 1 

📽 “ชัวร์ก่อนแชร์ REPLAY” วันนี้ พาทุกท่านย้อนไปรับชม “ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE” กันอีกครั้ง ในหัวข้อที่ยังสำคัญและอยู่ในความสงสัย พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” 🎯 เรื่อง : รู้ทัน ข่าวปลอมระบาด สงครามอิสราเอล-ฮามาส Part 1 🔎 กับ อดิศร สุขสมอรรถ Fact Checker ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และความคิดเห็นที่มีค่ากับเรา ผ่านช่องทาง “LIVE CHAT” บนทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ร่วมรับชม “ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE REPLAY” พร้อมกันทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.00 น. บน Youtube และ Facebook “ชัวร์ก่อนแชร์”

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : แยกออยล์คูลเลอร์เกียร์ ช่วยลดอุณหภูมิเกียร์และหม้อน้ำ จริงหรือ ?

24 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำผู้ใช้รถยนต์ว่า การติดตั้งออยล์คูลเลอร์เกียร์แยกออกมาจากหม้อน้ำ จะช่วยให้อุณหภูมิเกียร์และหม้อน้ำลดลงได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า การติดตั้งแยกออยล์คูลเลอร์เกียร์สามารถช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิมจริง แต่อย่างไรก็ตามประชาชนอย่าตื่นตระหนกรีบไปดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยน หากขับขี่ปกติระบบเดิมที่มากับรถนั้นดีอยู่แล้ว Q : หลักการทำงานของออยล์คูเลอร์เกียร์ เป็นอย่างไร ?A : ปกติแล้วน้ำมันเกียร์จะเริ่มต้นทำงานที่อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส แต่เมื่อเวลาทำงานนาน ๆ ถึงจุดหนึ่งอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอาจจะประมาณ 90 องศาเซลเซียส จะมีการเอาน้ำจากหม้อน้ำที่ถูกระบายความร้อนจากด้านบนลงมาด้านล่าง เพื่อฝากระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ จากนั้นจึงกลับไประบายความร้อนเครื่องยนต์ต่อ Q : หากไม่ติดตั้งออยล์คูลเลอร์เกียร์ จะส่งผลกระทบหรือไม่ ?A : หากมีการใช้งานปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแยกออกมาก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอหม้อน้ำ ชุดออยเกียร์ จะต้องเปลี่ยนและบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม Q : ออยล์คูเลอร์ทำงานอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : COPYCAT ? — ปรากฏการณ์พฤติกรรมการเลียนแบบ

21 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้… คือ ปรากฏการณ์พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ จากเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่เคยเกิดขึ้น และ สิ่งนี้…พบว่ากลายเป็นแรงกระตุ้น กว่าร้อยละ 20-30 ของการก่อเหตุอาชญากรรม ที่ถูกเผยแพร่อย่างหนักจากสื่อ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ข้อพึงตระหนัก เมื่อกินโปรตีนเกษตร

22 ตุลาคม 2566 – โปรตีนเกษตร อาหารทางเลือกที่หลายคนนิยมกิน เพื่อทดแทนการกินเนื้อสัตว์ โปรตีนเกษตร กินเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมันได้หรือไม่ และบุคคลใดควรระวัง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 26 27 28 29 30 52