ชัวร์ก่อนแชร์: คนติดเอดส์จากสระว่ายน้ำในอเมริกา จริงหรือ?

28 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส HIV จำนวน 4 ราย หลังจากไปใช้บริการสระว่ายน้ำแห่งหนึ่งในทาร์แรนต์ เคาตี เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเท็กซัส โดยอ้างว่าพบการทำกิจกรรมทางเพศในสระว่ายน้ำก่อนการยืนยันพบผู้ติดเชื้ออีกด้วย บทสรุป : 1.ไม่เคยมีหลักฐานพบผู้ติดเชื้อ HIV จากการว่ายในสระน้ำ2.ไวรัส HIV มีโอกาสรอดชีวิตต่ำมากเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อม3.สารคลอรีนในสระว่ายน้ำจะฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในเลือดทั้งหมด4.ไม่พบรายผู้ติดเชื้อ HIV ในเมืองดังกล่าว FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การชี้แจงโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานของเมืองอาร์ลิงตันระบุว่า มีการร้องเรียนเข้ามายังหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐเท็กซัสเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2024 หลักฐานประกอบไปด้วยภาพถ่ายผลการตรวจพบเชื้อไวรัส HIV และภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นกิจกรรมทางเพศเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ แต่การสอบสวนโดยผู้ตรวจสอบของเมืองอาร์ลิงตันไม่พบว่า ในวันดังกล่าวมีกิจกรรมทางเพศเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำหรือบริเวณรอบสระน้ำแต่อย่างใด หลักการแพร่เชื้อไวรัส HIV ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าไวรัส HIV เผยแพร่ผ่านทางของเหลวในร่างกาย ทั้ง เลือด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เปิดช่องผู้ป่วย HIV บริจาคอวัยวะให้คนทั่วไป จริงหรือ?

26 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้รอรับการบริจาคอวัยวะ เมื่ออนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตได้เป็นครั้งแรก บทสรุป : 1.สหรัฐฯ อนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตให้กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เพื่อการการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเป็นครั้งแรก ไม่ใช่การบริจาคอวัยวะให้กับคนทั่วไป2.เมื่อผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ไม่ต้องรอแต่การบริจาคอวัยวะจากผู้ไม่ติดเชื้อเหมือนในอดีต ทำให้คนทั่วไปมีโอกาสการเข้าถึงการบริจาครอวัยวะมากขึ้นตามไปด้วย FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการจงใจบิดเบือนข้อมูลให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม เพราะแท้จริงแล้ว นโยบายดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV มีโอกาสได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับและไตมากขึ้น เมื่ออนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตให้กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เป็นครั้งแรก จากการประกาศโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2024 อคติต่อผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และผู้ป่วยโรคเอดส์ ทำให้สหรัฐฯ เคยออกกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ติดเชื้อไวรัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Lenacapavir ยารักษาโรคเอดส์หาย 100% จริงหรือ?

25 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยด้านการป้องกันการติดเชื้อ HIV มีคุณสมบัติรักษาผู้ป่วยเอดส์ได้เกือบ 100% แต่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อปีสูงถึงกว่า 4 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ หรือปีละกว่า 1.5 ล้านบาท บทสรุป : 1.Lenacapavir ใช้ในการบำบัดผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และทดลองเพื่อการป้องกันไวรัส HIV ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาให้หายจากการติดเชื้อไวรัส HIV2.ผลการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ระดับ 100% เกิดขึ้นในการทดลองกับกลุ่มสตรีแอฟริกันหลักพันราย ยังไม่ทราบประสิทธิผลจากการใช้จริง3.ยังไม่มีการรักษาการติดเชื้อไวรัส HIV ให้หายขาดสำหรับคนทั่วไป FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ชนิดใหม่สำหรับเชื้อดื้อยาหลายชนิด Lenacapavir หรือชื่อทางการค้า Sunlenca เป็นยาต้านไวรัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กดจุดที่มือแล้วเจ็บ ถือว่าเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

23 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดกดจุดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าวิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในช่วงฤดูหนาว คือการนวดที่บริเวณจุดกดหรือจุดฝังเข็ม 3 จุดที่บริเวณมือและข้อมือ ได้แก่ เน่ยกวาน (Neiguan – PC6) เหลากง (Laogong – PC8) และ เสินเหมิน (Shenmen – HT7) หากกดลง 3 จุดนี้แล้วไม่รู้สึกเจ็บ แสดงว่าสุขภาพหัวใจแข็งแรง แต่หากรายใดมีอาการเจ็บเมื่อถูกกดที่ 3 จุดนี้ แสดงว่ามีปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน บทสรุป : 1.ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนยืนยันว่า ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกดที่จุด ไม่ใช่ตัวบ่งชี้อาการลิ่มเลือดอุดตัน2.ส่วนการกดจุดจนไม่รู้สึกเจ็บ ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาลิ่มเลือดอุดตันหายไปอีกเช่นกัน3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในหน้าหนาว มีปัจจัยจากการสัมผัสกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกดที่จุด ไม่ใช่ตัวบ่งชี้อาการลิ่มเลือดอุดตัน หวังซินหยี่ ผู้อำนวยการคลินิกแพทย์แผนจีนชุนเชียนถังในไต้หวัน อธิบายว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นวดติ่งหู ป้องกันอาการบ้านหมุน จริงหรือ?

22 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการนวดติ่งหน้ารูหู (Tragus) สามารถป้องกันอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน อันมีสาเหตุจากหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน และยังป้องกันอาการสมองเสื่อมได้อีกด้วย บทสรุป : 1.นวดติ่งหน้ารูหู (Tragus) ซึ่งเป็นส่วนหูชั้นนอก ไม่ช่วยรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) ซึ่งอยู่ในส่วนหูชั้นใน2.ส่วนอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนก็ไม่นำไปสู่อาการสมองเสื่อมตามที่กล่าวอ้าง3.ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนยืนยันว่า การนวดติ่งหน้ารูหูไม่ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือป้องกันโรคสมองเสื่อมได้4.การหาตำแหน่งกดจุดที่หูอย่างแม่นยำ เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปไม่สามารถทำการรักษาเองได้ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการเวียนศีรษะที่แตกต่างจากอาการเวียนศีรษะ (Dizziness) โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือตนเองกำลังหมุนไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่คอยดูแลความสมดุลของร่างกาย ในหูชั้นใน มีอวัยวะที่เรียกว่าท่อครึ่งวงกลม (Semicircular Canals) จำนวน 3 ท่อวางตั้งฉากกัน ภายในท่อมีน้ำบรรจุอยู่ ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การทรงตัวในเชิงหมุน เช่น การเลี้ยวซ้ายขวา เก้าอี้หมุน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ตบข้อศอก บรรเทาอาการปวดท้อง จริงหรือ?

21 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเผยแพร่ทาง Facebook โดยอ้างว่าการตบที่ข้อศอก 200-300 ครั้ง ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ บทสรุป : ไม่พบหลักฐานว่า การตบที่ข้อศอกสามารถบรรเทาอาการปวดท้องตามที่กล่าวอ้าง FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ไม่พบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ว่า การตบที่ข้อศอกสามารถบรรเทาอาการปวดท้องตามที่กล่าวอ้าง นีนา แนนดี แพทย์ระบบทางเดินอาหารจากสมาคมโรคทางเดินอาหารสหรัฐอเมริกา ชี้แจงว่า แม้การนวดเบา ๆ บริเวณหน้าท้องจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง มีอาการทุเลาลงชั่วคราวจากการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด แต่กระบวนการดังกล่าวไม่ใช่การรักษาอาการปวดท้องอย่างแท้จริง แม้มีความเป็นไปได้ว่า การสัมผัสที่นิ่มนวลตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณข้อศอก จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินหรือสารแห่งความสุข ซึ่งเป็นสารบรรเทาปวดที่ร่างกายผลิตได้เองตามธรรมชาติ แต่กระบวนการดังกล่าวเป็นเพียงการเยียวยาทางจิตใจมากกว่าการรักษาทางร่างกาย การรักษาอาการปวดท้องที่ดีที่สุด คือการใช้ยาแก้ปวด การพักผ่อน การดื่มน้ำ หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหาร จากการตรวจสอบโดย leadstories.com พบว่า ชื่อของบุคคลที่อยู่ในคลิปมีชื่อว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ถูแขนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน-ป้องกันป่วย จริงหรือ?

20 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเผยแพร่ทาง Facebook โดยอ้างว่า การนวดแขนตั้งแต่หัวแม่มือไปจนถึงหัวไหล่แรง ๆ เป็นเวลา 30 วินาทีทุกวัน ๆ จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการป่วยได้ โดยอ้างว่าเส้นประสาทบริเวณแขนเชื่อมต่อกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง บทสรุป : ไม่มีหลักฐานว่าการกระตุ้นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างแขนและระบบทางเดินหายใจ คือกลไกป้องกันการเจ็บป่วยตามที่กล่าวอ้าง FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ในอดีตมีงานวิจัยเกี่ยวกับการนวดเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเมื่อปี 2016 พบว่าการนวดส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ดี วิธีการนวดเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ได้พูดถึงการนวดที่เจาะจงที่บริเวณต้นแขนเหมือนที่อ้างในคลิปวิดีโอ ดร.มาร์ค แรปปาพอร์ต หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยยูทาห์ สหรัฐอเมริกา เจ้าของงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์จากการนวดเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ชี้แจงว่า ไม่พบงานวิจัยใดที่ยืนยันผลของการนวดและถูแขนตามที่ระบุในคลิปวิดีโอ นอกจากนี้ ไม่มีข้อมูลด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ใดที่ระบุว่า การกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสที่นิ้วหัวแม่มือและแขน จะส่งผลต่อการทำงานของปอดเช่นกัน ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ระบุว่า ร่างกายประกอบไปด้วยระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย และไม่มีหลักฐานว่าการกระตุ้นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างแขนและระบบทางเดินหายใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นวดข้อเท้า บรรเทาไมเกรน จริงหรือ?

19 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเผยแพร่ทาง Facebook โดยอ้างว่า การกดนวดรอบ ๆ ตาตุ่มข้อเท้าทั้งด้านในและด้านนอก ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ เนื่องจากเส้นประสาทที่ข้อเท้าจะเชื่อมต่อไปยังเส้นประสาทที่บริเวณศีรษะ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ มีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม ในผู้ใหญ่ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรน มีทั้ง ระดับฮอร์โมน ความเครียด ความเหนื่อยล้า สิ่งแวดล้อม อาหารและการใช้ยาบางชนิด วิธีบรรเทาอาการไมเกรนได้แก่การใช้ยาระงับการปวดและยาแก้อาเจียน เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาทริปแทน (Triptans) และ ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ไม่มีหลักฐานว่าการกดจุดรักษาไมเกรนได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อีลอน มัสก์ เปิดตัวระบบสแกนอัณฑะสตาร์ทรถ Tesla จริงหรือ?

16 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า อีลอน มัสก์ นักธุรกิจมหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla เตรียมเปิดตัววิธีการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ หรือ Biometrics รูปแบบใหม่ ด้วยการสแกนอัณฑะของผู้ขับเพื่อสตาร์ตรถยนต์ ในเทคนิคที่เรียกว่า Particular Testicular Detection บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศยืนยันว่า คลิปวิดีโอที่แชร์ทาง Instagram เกิดจากเทคโนโลยี Deep Fake ที่ดัดแปลงบทสัมภาษณ์ของ อีลอน มัสก์ ให้เกิดภาพเคลื่อนไหวและบทสนทนาบิดเบือนไปจากความเป็นจริง โดยบทสัมภาษณ์ต้นฉบับ นำมาจากตอนที่ อีลอน มัสก์ ให้สัมภาษณ์กับ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อีลอน มัสก์ เตรียมเปิดตัว Tesla รุ่นใหม่ใช้พลังงานน้ำล้วน ๆ จริงหรือ?

14 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีภาพและข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า อีลอน มัสก์ นักธุรกิจมหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla เตรียมปฏิวัตินวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ BEV ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากน้ำล้วน ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Tesla Water Engine บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า รูปภาพที่อ้างว่าเป็น อีลอน มัสก์ กำลังเปิดตัวเทคโนโลยี Tesla Water Engine เพื่อการผลิตรถยนต์พลังงานน้ำ เป็นภาพปลอมที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น ซึ่งเว็บไซต์ตรวจสอบภาพ AI ก็ยืนยันว่าภาพที่ถูกแชร์เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน ที่มาแนวคิดยานยนต์พลังงานน้ำ ผู้ที่เผยแพร่แนวคิดการผลิตรถยนต์พลังงานน้ำได้แก่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ถูกฟ้อง-ห้ามฉีดในญี่ปุ่น จริงหรือ?

13 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าบริษัท Merck ผู้ผลิตวัคซีน HPV ยี่ห้อ Gardasil กำลังถูกดำเนินคดีในข้อหาแอบอ้างประสิทธิผลของวัคซีน HPV ขณะที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศญี่ปุ่นได้สั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงเรียบร้อยแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า แม้ Merck จะถูกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีน Gardasil ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องการเยียวยาผลกระทบจากวัคซีน แต่เป็นการดำเนินคดีทางแพ่ง ไม่ใช่การดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงตามที่กล่าวอ้าง โฆษกของบริษัท Merck และตัวแทนบริษัทกฎหมายของฝ่ายโจทย์ที่ยื่นฟ้องบริษัท Merck ยืนยันว่า การฟ้องร้องยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนของการไต่ส่วนดำเนินคดี ส่วนข้ออ้างเรื่องประเทศญี่ปุ่นสั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในประเทศ ก็เป็นข้อมูลเท็จที่เกิดจากการนำข้อมูลเก่ามาสร้างความเข้าใจผิด ญี่ปุ่นเคยไม่แนะนำวัคซีน HPV แต่ไม่ได้ห้ามฉีด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อีลอน มัสก์ เตรียมเปิดตัว Tesla รุ่นใหม่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ล้วน ๆ จริงหรือ?

12 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า อีลอน มัสก์ นักธุรกิจมหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla เตรียมปฏิวัตินวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ BEV ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ล้วน แถมยังอยู่ในราคาย่อมเยาเพียงคันละ 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศ ไม่พบว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นจริงแต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ของรถยนต์ Tesla ในสหรัฐอเมริกา ไม่พบว่า Tesla จำหน่ายรถยนต์ที่มีมูลค่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่ผู้โพสต์กล่าวอ้าง โดยรุ่นที่ราคาต่ำที่สุดในปัจจุบันได้แก่ Tesla Model 3 รุ่น […]

1 2 3 4 5 35