ชัวร์ก่อนแชร์: ติดเชื้อหัดยังปลอดภัยกว่าฉีดวัคซีน จริงหรือ?

31 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคหัดในสหรัฐอเมริกา มีข่าวปลอมเกี่ยวกับโรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าสิ่งที่ต้องกังวลในช่วงการระบาดของโรคหัดไม่ใช่การติดเชื้อไวรัสโรคหัด แต่เป็นการฉีดวัคซีน MMR เนื่องจากอาการข้างเคียงจากวัคซีนมีความรุนแรงมากกว่าอาการจากการป่วยด้วยโรคหัด พร้อมอ้างว่าครั้งสุดท้ายที่ชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคหัดเมื่อปี 2015 เกิดขึ้นกับผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดอีกด้วย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อาการข้างเคียงจากวัคซีน MMR มีเพียงเล็กน้อย ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ ระบุว่า อาการข้างเคียงจากวัคซีน MMR ได้แก่การเป็นไข้ มีผื่นขึ้นตามตัวเล็กน้อย และต่อมน้ำเหลืองบวม อาการข้างเคียงที่พบได้น้อย ยังรวมถึงอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการชักจากการมีไข้สูง และภาวะเกล็ดเลือดต่ำชั่วคราว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัดมีความรุนแรงมาก แม้ผู้ป่วยโรคหัดส่วนใหญ่จะหายป่วยในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว แต่มีผู้ป่วยโรคหัดถึง 3 จาก 10 รายที่พบอาการแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อในหูที่อาจนำไปสู่อาการหูหนวก รวมถึงโรคปอดอักเสบและสมองอักเสบ ในบางรายที่หายจากโรคหัดนานนับปี ก็อาจเกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทและสมองที่ชื่อว่า Subacute Sclerosing Panencephalitis […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โรคหัดระบาดเพราะการฉีดวัคซีนเชื้อเป็น จริงหรือ?

30 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคหัดในสหรัฐอเมริกา มีข่าวปลอมเกี่ยวกับโรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าสาเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อโรคหัดในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นปี 2025 แท้จริงแล้วมาจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคหัดนั่นเอง เนื่องจากมีการผลิตวัคซีนโรคหัดด้วยไวรัสเชื้อเป็น ทำให้ผู้รับวัคซีนมีอาการป่วยและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หลังพบหลักฐานเด็กที่รับวัคซีน MMR แล้วมีผื่นขึ้นตามตัวเหมือนโรคหัด และมีการตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสโรคหัดในปัสสาวะของผู้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดอีกด้วย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีนโรคหัด เริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1963 เป็นวัคซีนเชื้อเป็นชนิดลดฤทธิ์ของไวรัส (Attenuated Vaccine) ประสิทธิผลในการป้องกันโรคหัดหลังจากฉีดเข็มแรกอยู่ที่ 93% และ 97% หลังจากฉีดเข็มที่ 2 ต่อมาในปี 1971 มีการใช้วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน หรือวัคซีน MMR โดยประสิทธิผลในการป้องกันโรคหลังฉีดครบ 2 เข็มได้แก่ 97% 88% และ 97% […]

ชัวร์ก่อนแชร์: จัดปาร์ตี้โรคหัดช่วยสร้างภูมิ-ป้องกันโรคมะเร็ง จริงหรือ?

29 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคหัดในสหรัฐอเมริกา มีข่าวปลอมเกี่ยวกับโรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าการปล่อยให้มีการติดเชื้อโรคหัดตามธรรมชาติส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังมีหลักฐานการวิจัยที่พบว่าไวรัสที่ก่อโรคหัดสามารถใช้บำบัดผู้ป่วยมะเร็งได้อีกด้วย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : โรคหัดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อมีเซิลส์ (Measles) สามารถแพร่เชื้อทางละอองเสมหะและละอองลอย ไวรัสโรคหัดมีค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (R0) ที่ 12-18 หรือผู้ติดเชื้อ 1 รายสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้เฉลี่ย 12-18 ราย ถือเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ในวงกว้างมากที่สุด ไวรัสโรคหัดมีระยะฟักตัวประมาณ 9-11 วัน แต่การแพร่เชื้อมักเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการ อาการสำคัญของโรคหัด ได้แก่ มีไข้และน้ำมูกไหล ตามด้วยการออกผื่นแดงตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า ผู้ป่วยบางรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนอาจมีความอันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันโรคหัดสามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีน MMR วัคซีนรวมที่ใช้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคหัดในสหรัฐฯ รายงานจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) เมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สีของขี้หูบอกปัญหาสุขภาพ จริงหรือ?

27 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายกับลักษณะของขี้หูเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าสีของขี้หูบ่งบอกปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่นขี้หูสีเทา เกิดจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศ ขี้หูสีแดง เกิดจากการบาดเจ็บที่หูชั้นใน ขี้หูสีน้ำตาลเข้ม เกิดจากความเครียด ขี้หูสีดำ เกิดจากการติดเชื้อรา ขี้หูสีขาว เกิดจากการขาดวิตามิน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : สีของขี้หู ขี้หูเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในรูหูและป้องการกันติดเชื้อในช่องหู ขี้หูที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมีสีอ่อน แต่ถ้าหากอยู่ในช่องหูเป็นเวลานาน การทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะทำให้ขี้หูมีสีเข้มขึ้น เช่น สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ แม้สีของขี้หูจะเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนเป็นสีแดง อาจจะเกิดจากการมีเลือดออกในช่องหู ถือเป็นอาการที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่สัญญาณที่บ่งบอกปัญหาในช่องหูมีอีกหลายอย่าง เช่น อาการเจ็บหู สูญเสียการได้ยิน อาการเวียนศีรษะ หรือการมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งล้วนเป็นอาการที่บ่งบอกปัญหาสุขภาพหูที่ชัดเจนกว่าการสังเกตสีของขี้หู สีของขี้หูที่น่ากังวล ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ Cleveland Clinic […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาสูดพ่นรักษาเสียงอื้อในหู จริงหรือ?

26 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการรักษาเสียงอื้อในหูเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าปัจจุบันมีการจำหน่ายยาสูดพ่นที่มีส่วนประกอบของสาร SPI-1005 ซึ่งมีคุณสมบัติบำบัดอาการเสียงอื้อในหู โดยมีการใช้ภาพวิดีโอของ เควิน คอสเนอร์ นักแสดงและผู้กำกับรางวัลออสการ์มาช่วยโพรโมตผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าจะช่วยรักษาอาการเสียงอื้อในหูภายใน 28 วัน บทสรุป : 1.เสียงอื้อในหู (Tinnitus) ยังไม่มียารักษาให้หายขาด2.ยา SPI-1005 เพื่อรักษาเสียงอื้อในหู ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง3.ยา SPI-1005 ทดลองเพื่อใช้สำหรับกิน ไม่ใช่เพื่อการสูดดม FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี โฆษณาที่ใช้ เควิน คอสเนอร์ มายืนยันสรรพคุณยา ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นคลิปวิดีโอ Deepfake ที่สร้างโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่บทสัมภาษณ์ของจริงแต่อย่างใด นอกจากนี้ อาการเสียงอื้อในหู ยังเป็นกลุ่มอาการที่ยังไม่มียารักษาให้หายขาดในปัจจุบันอีกด้วย เสียงอื้อในหู (Tinnitus) สถาบันโรคหูหนวกและความผิดปกติด้านการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐฯ (NIDCD) […]

ชัวร์ก่อนแชร์: หูฟังคือตัวการทำหูหนวก จริงหรือ?

24 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : หนึ่งในความเชื่อที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหาด้านการได้ยิน ได้แก่การอ้างว่าสาเหตุของการหูหนวกคือการฟังเพลงจากหูฟัง โดยเชื่อว่าการที่ลำโพงของหูฟังอยู่ใกล้กับหูชั้นกลางและหูชั้นใน คือสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาด้านการได้ยิน บทสรุป : 1.ผลกระทบจากเสียง มาจากความดังของเสียง ไม่ใช่ระยะทางระหว่างหูและแหล่งกำเนิดเสียง2.แต่พฤติกรรมการเปิดเสียงดังแข่งกับเสียงรบกวนจากภายนอก อาจสร้างผลเสียต่อผู้ที่ใช้หูฟัง3.ทางแก้คือใช้หูฟังชนิดที่สามารถป้องกันเสียงรบกวนหรือใช้โปรแกรมตัดเสียงรบกวน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แท้จริงแล้ว ความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นความจริง ตามความเห็นของ ดร.คอรี พอร์ตนัฟ นักโสตสัมผัสวิทยา มหาวิทยาลัยโคโลราโด ซึ่งชี้แจงว่า ผลกระทบต่อการได้ยิน มาจากระดับความดังที่หูสัมผัส ไม่เกี่ยวกับระยะทางระหว่างหูและแหล่งกำเนิดเสียง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่า ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่า 60 เดซิเบล ไม่ส่งผลต่อสุขภาพด้านการได้ยิน ไม่ว่าจะฟังนานเท่าใด แต่การฟังเสียงในสิ่งแวดล้อมที่ดังกว่า 70 เดซิเบลเป็นเวลานาน อาจสร้างปัญหาด้านการได้ยินในอนาคต ดร.คอรี พอร์ตนัฟ แนะนำสูตรการใช้หูฟังโดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านการได้ยิน คือสูตร 80/90 หรือการฟังเสียงจากหูฟังแค่ […]

ความเสี่ยงหูหนวกจากการเล่นเกม

22 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัญหาการสูญเสียการได้ยินจากสื่อบันเทิง มักถูกเชื่อมโยงกับการฟังเพลงเป็นหลัก แต่ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยเกี่ยวกับการได้ยินในกลุ่มนักเล่นเกมจำนวนมาก หลังงานวิจัยพบว่าระดับเสียงจาหการเล่นเกมอยู่ในระดับที่ใกล้ขีดจำกัดหรือเกินขีดจำกัดระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน ขณะที่ปัจจุบันมีการประเมินว่า ทั่วโลกมีนักเล่นเกมมากกว่า 3 พันล้านคน ปัญหามลภาวะทางเสียงจากการเล่นเกมจึงเป็นสิ่งที่สังคมไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป ไม่ควรฟังเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล นานเกิน 8 ชั่วโมง เมื่อปี 1972 สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติฯ (National Institute for Occupational Safety and Health) ได้กำหนดว่า การฟังเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล นานเกิน 8 ชั่วโมงในสถานที่ทำงาน จะส่งผลเสียต่อการได้ยินของมนุษย์ แหล่งกำเนิดเสียงที่มีความดังเกินระดับ 85 เดซิเบล ได้แก่ ในร้านอาหาร ล็อบบี้โรงแรม และในสนามบินที่มีคนพลุกพล่าน บนถนนที่สภาพการจราจรหนาแน่น เสียงรถไฟหรือรถบรรทุกวิ่งผ่าน เสียงไซเรน ตลอดจนเสียงการทำงานของเครื่องเป่าผมและเครื่องดูดฝุ่น งานวิจัยชี้เกมจำนวนมากเสียงดังเกิน 85 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เคี้ยวหมากและใบพลู ฆ่าเชื้อในปาก ต้านโควิด-มะเร็ง จริงหรือ?

21 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งช่องปากเผยแพร่ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการเคี้ยวหมากและใบพลู มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่างต่อร่างกาย ทั้งฆ่าเชื้อในปาก ต้านการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และต้านการเกิดมะเร็ง บทสรุป : WHO ประกาศให้การเคี้ยวหมากและใบพลู เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งในช่องปาก แม้จะเคี้ยวโดยไม่ร่วมกับการใช้ยาสูบก็ตาม FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แต่เดิมมีความเชื่อว่าใบพลูที่กินร่วมกับหมากจะมีคุณสมบัติด้านการฆ่าเชื้อในปาก แต่การที่หมากและใบพลูเป็นยาเสพติดชนิดอ่อน การเคี้ยวหมากและใบพลูอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายตามที่กล่าวอ้างแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งหลายชนิด เมื่อปี 2003 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การเคี้ยวหมากและใบพลู เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งในช่องปาก แม้จะเคี้ยวโดยไม่ร่วมกับการใช้ยาสูบก็ตาม ข้อมูลจากการศึกษาเมื่อปี 1985 พบว่า การเคี้ยวหมากและใบพลูร่วมกับการใช้ยาสูบมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หลังพบพฤติกรรมดังกล่าวอย่างแพร่หลาย ไม่เพียงแต่ในทวีปเอเชีย แต่รวมถึงกลุ่มผู้อพยพชาวเอเชียที่ไปอาศัยในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย เมื่อการเปรียบเทียบพบว่า กลุ่มผู้อพยพที่นิยมเคี้ยวหมากกับใบพลู มีสัดส่วนเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าประชากรท้องถิ่น ข้อมูลพบว่าการเคี้ยวหมากกับใบพลู ร่วมกับการใช้ยาสูบ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในช่องปาก […]

งานวิจัยมะเร็งหลอดอาหารกับการดื่มน้ำอัดลม

19 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล มีการนำความนิยมของการดื่มน้ำอัดลม ไปเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) ที่เพิ่มขึ้นถึง 350% นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970s เป็นต้นมา นำไปสู่การวิจัยถึงความสัมพันธ์อย่างแพร่หลาย แต่ผลการเชื่อมโยงมะเร็งหลอดอาหารกับการดื่มน้ำอัดลมยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะมีทั้งงานวิจัยที่ไม่พบความสัมพันธ์และงานวิจัยที่พบว่าการดื่มน้ำอัดลมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารเช่นกัน งานวิจัยปี 2006 ของ Yale ไม่พบว่าการดื่มน้ำอัดลมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารชนิด EAC จุดประสงค์งานวิจัยมาจากข้อสันนิษฐานเรื่องการดื่มน้ำอัดลมทำให้เกิดอาการท้องอืด รบกวนการทำงานของหลอดอาหารส่วนล่าง และความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มน้ำอัดลมกับอาการจุกเสียดแน่นท้องในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) แต่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล เมื่อปี 2006 นำโดย ซูซาน เมย์น ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ ได้เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 1,095 ราย และกลุ่มควบคุม 657 ราย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม ทั้งแบบธรรมดาและแบบไม่มีน้ำตาล ทีมวิจัยพบว่า การบริโภคเครื่องดื่มน้ำอัดลมไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) โดยเฉพาะน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาล และการบริโภคมากเกินไปไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารหรือมะเร็งกระเพาะอาหารชนิดย่อยใด ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เครื่องดื่มร้อนเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร จริงหรือ?

18 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มน้ำร้อนกับโรคมะเร็งหลอดอาหารเผยแพร่ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างว่าการดื่มชาหรือกาแฟในอุณหภูมิที่สูง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร บทสรุป : 1.ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งและการดื่มน้ำร้อนจากการวิจัยในมนุษย์ยังมีอย่างจำกัด2.ไม่อาจสรุปได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มร้อนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แม้องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะจัดให้การดื่มน้ำร้อนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งในระดับ Group 2A แต่ผลการวิจัยในมนุษย์ยังมีอย่างจำกัดและไม่อาจสรุปได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มร้อนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารมากน้อยแค่ไหน สมิตา โจชิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์วิจัยมะเร็ง Memorial Sloan Kettering Cancer Center (MSK) อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องเครื่องดื่มร้อนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร มีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930s จากทฤษฎีที่ว่าเครื่องดื่มร้อน เช่น ชาหรือกาแฟ อาจไปทำลายเยื่อบุชั้นในของหลอดอาหาร กระตุ้นการแบ่งตัวที่ผิดพลาดในเซลล์เยื่อบุ นำไปสู่การเกิดมะเร็ง รวมถึงความเชื่อที่ว่า เยื่อบุชั้นในของหลอดอาหารที่ถูกทำลายจากการดื่มน้ำร้อนอย่างต่อเนื่อง เมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่อยู่ในบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ง่ายขึ้น ในอดีตมีการศึกษากับสัตว์ทดลอง พบว่าการให้สัตว์ดื่มน้ำร้อนมาก ๆ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารเช่นกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: มะเร็งหลอดอาหารสามารถสังเกตได้ง่าย จริงหรือ?

16 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลอดอาหารเผยแพร่ในต่างประเทศ โดยอ้างว่ามะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคที่สามารถสังเกตได้ง่ายในระยะเริ่มต้น เหมือนกับการตรวจคัดกรองมะเร็งทั่วไป บทสรุป : 1.ความผิดปกติทางกายหลายอย่างของมะเร็งหลอดอาหารอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ2.ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลอดอาหารในประชาชนทั่วไป FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : หน้าที่ของหลอดอาหาร หลอดอาหาร เป็นอวัยวะซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในผู้ใหญ่จะมีความยาวประมาณ 23-25 เซนติเมตร สาเหตุมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหารเกิดจากผลกระทบที่เกิดกับเซลล์ในมะเร็งหลอดอาหาร ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติจนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด มะเร็งหลอดอาหารมีหลายประเภท แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Adenocarcinoma (EAC) และ Squamous-cell carcinoma (ESCC) มะเร็งหลอดอาหาร Adenocarcinoma (EAC) เกิดในเซลล์บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร มักพบในประชากรประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป มะเร็งหลอดอาหาร Squamous-cell carcinoma […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Moderna ทดลองวัคซีนโควิดก่อนไวรัสระบาดหลายปี จริงหรือ?

11 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า Moderna รู้ล่วงหน้าว่าจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเวลาหลายปี เนื่องจากพบหลักฐานการทดลองวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2017 ข้อความยังอ้างแถลงการณ์ของ คริสเตียน แทร์เฮส สมาชิกของรัฐสภายุโรปจากประเทศโรมาเนีย ที่ตั้งคำถามเรื่องที่ Moderna ส่งผลการทดลองวัคซีน mRNA มายังองค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) ตั้งแต่ปี 2017 เช่นกัน บทสรุป : 1.Moderna ทดลองวัคซีน mRNA มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ทดลองกับโรคอื่น ๆ ไม่ใช่โควิด-192.การพัฒนาวัคซีน mRNA เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1961 หรือก่อนการผลิตโควิด-19 ชนิด mRNA เกือบ 60 ปี FACT CHECK : […]

1 2 3 36