ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ถูกฟ้อง-ห้ามฉีดในญี่ปุ่น จริงหรือ?

13 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าบริษัท Merck ผู้ผลิตวัคซีน HPV ยี่ห้อ Gardasil กำลังถูกดำเนินคดีในข้อหาแอบอ้างประสิทธิผลของวัคซีน HPV ขณะที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศญี่ปุ่นได้สั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงเรียบร้อยแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า แม้ Merck จะถูกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีน Gardasil ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องการเยียวยาผลกระทบจากวัคซีน แต่เป็นการดำเนินคดีทางแพ่ง ไม่ใช่การดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงตามที่กล่าวอ้าง โฆษกของบริษัท Merck และตัวแทนบริษัทกฎหมายของฝ่ายโจทย์ที่ยื่นฟ้องบริษัท Merck ยืนยันว่า การฟ้องร้องยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนของการไต่ส่วนดำเนินคดี ส่วนข้ออ้างเรื่องประเทศญี่ปุ่นสั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในประเทศ ก็เป็นข้อมูลเท็จที่เกิดจากการนำข้อมูลเก่ามาสร้างความเข้าใจผิด ญี่ปุ่นเคยไม่แนะนำวัคซีน HPV แต่ไม่ได้ห้ามฉีด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อีลอน มัสก์ เตรียมเปิดตัว Tesla รุ่นใหม่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ล้วน ๆ จริงหรือ?

12 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า อีลอน มัสก์ นักธุรกิจมหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla เตรียมปฏิวัตินวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ BEV ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ล้วน แถมยังอยู่ในราคาย่อมเยาเพียงคันละ 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศ ไม่พบว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นจริงแต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ของรถยนต์ Tesla ในสหรัฐอเมริกา ไม่พบว่า Tesla จำหน่ายรถยนต์ที่มีมูลค่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่ผู้โพสต์กล่าวอ้าง โดยรุ่นที่ราคาต่ำที่สุดในปัจจุบันได้แก่ Tesla Model 3 รุ่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไบเดนดัน EV สุดโต่ง จะให้กองทัพใช้รถถังไฟฟ้า จริงหรือ?

10 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ในต่างประเทศ เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ อ้างระหว่างหาเสียงเลือกตั้งในช่วงปี 2024 ว่า นโยบายผลักดันยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กำลังส่งผลเสียต่อกองทัพสหรัฐฯ เนื่องจากมีแผนเปลี่ยนยานยนต์ของกองทัพให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงรถถังที่ใช้ในสงครามอีกด้วย ทำให้รถถังมีระยะทางที่จำกัด และต้องมีแหล่งสำรองพลังงานที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับขนาดของรถถังเองอีกด้วย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างดังกล่าวมาจากนโยบาย Climate Strategy ที่กองทัพสหรัฐฯ ประกาศแผนเมื่อปี 2022 เพื่อหวังเสริมศักยภาพกองทัพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนยานยนต์ของกองทัพให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะทหาร แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ ยานรบ (Combat vehicle)รถช่วยรบ (Tactical […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ จะล้มละลาย หากสร้างสถานีชาร์จ EV ทั่วประเทศ จริงหรือ?

09 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเผยแพร่ในต่างประเทศ เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ อ้างระหว่างหาเสียงเลือกตั้งในช่วงปี 2024 ว่า นโยบายผลักดันยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เป็นนโยบายที่ล้มเหลวและอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยโจมตีไปที่โครงสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่นำไปสู่การสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพียง 8 แห่ง ซึ่ง โดนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่า หากต้องการสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วสหรัฐฯ จำเป็นต้องใช้เงินสูงกว่า 5-10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ประเทศอยู่ในสภาวะล้มละลายได้ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : คำกล่าวอ้างของ โดนัลด์ ทรัมป์ พาดพิงโครงการ Made-in-America National […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ก่ออาการข้างเคียงหลายชนิด จริงหรือ?

07 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร Children’s Health Defense เผยแพร่รายงานโจมตีแผนรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในหลายประเทศทั่วโลกว่า จะนำไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่ สาเหตุเป็นเพราะวัคซีน HPV นำไปสู่อาการข้างเคียงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคระบบประสาทหลายชนิดทั้ง อาการล้าเรื้อรัง อาการปวดทั่วร่างกายเรื้อรัง การเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า และ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า Children’s Health Defense คือองค์กรต่อต้านวัคซีนที่ก่อตั้งโดย โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ อดีตนักการเมืองพรรคเดโมแครต ที่ผันตัวมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้สมัครอิสระเมื่อปี 2024 ก่อนจะหันมาให้การสนับสนุน โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

06 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างรายงานจากการประชุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่พบว่าการฉีดวัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มคนที่มีเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์มาแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ปีแอร์ คอรี แพทย์ผู้ก่อตั้ง Front Line COVID-19 Critical Care Alliance องค์กรต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยปัจจุบัน ปีแอร์ คอรี ถูกองค์กรแพทยสภา American Board of Internal Medicine […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ไม่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

04 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางคลิปวิดีโอใน X ที่สหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) พบว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ให้กับเด็กหญิง ไม่ช่วยลดโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเหมือนที่หน่วยงานสาธารณสุขคาดไว้ เพราะหลังจากเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2006 ปัจจุบันกลับพบว่ายอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกลับเพิ่มขึ้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ดร.ปีเตอร์สัน ปีแอร์ แพทย์โรคผิวหนัง สมาชิกของ America’s Frontline Doctors องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2019 โดยหลายปีที่ผ่านมา America’s Frontline Doctors […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap เสี่ยงแพร่เชื้อไอกรนสู่ทารก จริงหรือ?

02 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap ให้กับแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยักแก่ทารกในครรภ์ นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกได้รับเชื้อโรคไอกรนจากแม่ที่ฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อแบบไม่มีอาการ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ตรรกะที่ว่าวัคซีนเป็นอันตราย เพราะทำให้แม่ที่ฉีดวัคซีนติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และแพร่เชื้อไปยังทารกโดยไม่รู้ตัว ต่างจากแม่ที่ไม่ฉีดวัคซีน ที่ติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการสังเกตและหลีกเลี่ยง เป็นการอ้างที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อโรคและการทำงานของวัคซีนอย่างชัดเจน โดยปกติแล้ว การแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นในระยะที่เชื้อโรคกำลังฟักตัวช่วง 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าผู้เป็นพาหะของโรคจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อโรคไอกรนที่ไม่ฉีดวัคซีน สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการหรือไม่ก็ตาม ความถี่ของโรคไอกรนในทารก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า 1 ใน 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนรวม Tdap ไม่ควรฉีดให้สตรีมีครรภ์ จริงหรือ?

01 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่มีความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากบริษัทผู้ลิตวัคซีนยอมรับว่าไม่มีสตรีมีครรภ์อยู่ในกลุ่มตัวอย่างการทดลองวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน Tdap คือวัคซีนรวมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก สำหรับผู้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีมีครรภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารกในช่วง 2 เดือนแรก ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน โดยแนะนำให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap จำนวน 1 โดสในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ ในสหรัฐฯ มีวัคซีน Tdap 2 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทารกเสี่ยงใหลตายจากวัคซีน DTaP จริงหรือ?

30 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram และ Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน DTaP เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ให้กับทารกเป็นอันตราย เพราะเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคใหลตาย หลักฐานมาจากข้อมูลในฉลากวัคซีน DTaP ที่ระบุว่าโรคใหลตายในทารก เป็นหนึ่งในอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน DTaP บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีนที่ตกเป็นเป้าโจมตี ได้แก่ INFANRIX วัคซีน DTaP ของบริษัท GSK Biologicals โดยในเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลของวัคซีน INFANRIX ที่รับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ก็มีการระบุ โรคใหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน DTaP ไม่จำเป็นต่อทารก ภูมิธรรมชาติปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

29 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าวัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่ควรนำมาฉีดให้ทารก เพราะไม่มีความจำเป็น โดยอ้างว่าสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคไอกรนลดลงตั้งแต่ก่อนการผลิตวัคซีน DTaP และสัดส่วนการพบเด็กป่วยด้วยโรคคอตีบในปัจจุบันก็น้อยมาก นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน DTaP ช่วยลดการติดเชื้อโรคไอกรนได้จริง กราฟที่แสดงการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ก่อนการผลิตวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทั้ง โรคคอตีบ และ โรคไอกรน เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากเว็บไซต์ healthsentinel.com ซึ่งมีประวัติเผยแพร่เนื้อหาด้านสุขภาพด้วยข้อมูลที่น่าสงสัยในความถูกต้อง นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว การนำยอดการเสียชีวิตที่ลดลงก่อนการผลิตวัคซีน มาด้อยค่าวัคซีน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะจุดประสงค์หลักของวัคซีน นอกจากลดโอกาสการเสียชีวิตแล้ว ยังลดโอกาสการติดเชื้อและป่วยจากโรคดังกล่าวอีกด้วย เดวิด กอร์สกี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ เคยเชื่อว่าเดโมแครตกระตุ้นเศรษฐกิจดีกว่ารีพับลิกัน จริงหรือ?

20 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงก่อนการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2023 มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบุคคลที่คล้ายกับอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต และเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปได้ดีกว่า ถ้ารัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารโดยผู้นำจากพรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Snopes พบว่า คลิปวิดีโอดังกล่าว เป็นการให้สัมภาษณ์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ของจริง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว CNN เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2004 ตรงกับช่วงที่รายการเรียลิตี โชว์ The Apprentice ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นฤดูกาลแรก เมื่อถูกถามว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดในขณะนั้น […]

1 2 3 4 33