fbpx

โอกาสของการใช้ยา “ซูรามิน” รักษาออทิสติก ?

19 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการออทิสติกให้หายขาด แต่มีนักวิจัยที่พบความเป็นไปได้ของการใช้ยาซูรามิน (Suramin) เพื่อรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติก นำไปสู่การวิจัยศึกษาสรรพคุณของยาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวิจัยส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลองขั้นต้นและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย ปัจจุบันจึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ยาซูรามินสามารถใช้รักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงใด ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคออทิสติก และเตือนถึงอันตรายของการใช้ยารักษาผู้ป่วยออทิสติกอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี FDA ได้อนุมัติยาสำหรับรักษาอาการข้างเคียงของโรคออทิสติก ทั้งอาการกระตือรือร้นมากเกินไปหรือการขาดสมาธิ เช่น การใช้ยาระงับอาการทางจิตเพื่อบรรเทาอาการฉุนเฉียวง่ายของผู้ป่วยโรคออทิสติก งานวิจัยการใช้ยาซูรามินปี 2017 แต่เดิม ยาซูรามิน (Suramin) ถูกใช้สำหรับรักษาโรคพยาธิตาบอด (Onchocerciasis) และโรคเหงาหลับ (African Trypanosomiasis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ข้อความอ้างถึงสรรพคุณของยาซูรามินในการรักษาโรคออทิสติก ที่สามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกสามารถพูดได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์อ้างงานวิจัยปี 2017 ที่พบว่าการใช้ยาซูรามินสามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า ผู้ป่วยโรคออทิสติกจะมีการทำงานของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตหรือ ATP มากผิดปกติ ซึ่งสารดังกล่าวทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ ดังนั้นความสามารถในการจำกัดการทำงานของ ATP ของยาซูรามิน อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคออทิสติกมีอาการดีขึ้น […]

ใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ ทารกเสี่ยงเป็นออทิสติกแค่ไหน ?

18 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา การศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34% ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา […]

ชะตากรรมแพทย์ผู้ถูกยึดใบอนุญาต จากข้ออ้างวัคซีนคือสาเหตุออทิสติก

16 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล งานวิจัยที่เกี่ยวกับวัคซีนและโรคออทิสติกที่โด่งดังที่สุด คือผลงานของ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ อดีตแพทย์ชาวอังกฤษ เจ้าของงานวิจัยสุดอื้อฉาวที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อปี 1998 โดยอ้างว่า การฉีดวัคซีน MMR หรือวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และ หัดเยอรมัน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิสติก แม้การวิจัยซ้ำในแวดวงวิทยาศาสตร์จะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง แต่ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ยังเรียกร้องผ่านสื่อ ให้มีการยุติการฉีดวัคซีน MMR โดยทันที โดยย้ำว่าวัคซีน MMR คือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก นำไปสู่ความกังวลต่อการฉีดวัคซีน MMR ในสังคม ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหัดในหลายพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว ภายหลังในปี 2004 หนังสือพิมพ์ Sunday Times ได้รายงานว่า แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ปกปิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการวิจัยวัคซีน MMR กับโรคออทิสติก การสืบสวนพบว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยของแอนดรูว์ เวคฟิลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก จริงหรือ?

สาเหตุที่พบเด็กป่วยเป็นโรคออทิสติกมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นและการคัดกรองละเอียดกว่าในอดีต ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สารกันเสียในวัคซีนทำให้เสี่ยงเป็นโรคออทิสติกและยังไม่มีหลักฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับโรคออทิสติก

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้หนูคลอดลูกเป็นออทิสติก จริงหรือ?

เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ผู้วิจัยย้ำว่าไม่อาจนำผลมาเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์ได้ และยังเป็นการวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ให้ปริมาณวัคซีนกับหนูทดลองเท่ากับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เร่งออกกฎหมายยุติการผลิตรถน้ำมัน จริงหรือ?

แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและตั้งข้อกำหนดด้านการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์สันดาปอย่างเง้มงวด แต่ไม่ได้มีนโยบายห้ามการผลิตรถยนต์น้ำมันในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: EU ขู่ห้ามซ่อม-ครอบครองรถน้ำมันอายุเกิน 15 ปี จริงหรือ?

เป็นระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุของ EU เพื่อบังคับการผลิตรถยนต์ให้เอื้อต่อการรีไซเคิลง่ายขึ้น ไม่มีผลต่อการใช้งานรถยนต์ ยานยนต์ที่หมดอายุของ EU ไม่ได้ประเมินจากอายุรถยนต์ แต่ประเมินจากความคุ้มค่าของการซ่อมและการนำไปใช้

ชัวร์ก่อนแชร์: ขับรถน้ำมันคันเก่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าซื้อ EV คันใหม่ จริงหรือ?

แม้การปลดปล่อยคาร์บอนจากการผลิตรถยนต์ EV คันใหม่ จะสูงกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าต่อไป แต่เมื่อเริ่มขับรถยนต์ EV นานกว่า 4 ปีหรือระยะทางมากกว่า 35,000 กิโลเมตร ปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากรถยนต์ EV จะน้อยกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์: สถานีชาร์จรถ EV ปั่นไฟด้วยน้ำมันดีเซล จริงหรือ?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าด้วยเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซลในออสเตรเลีย สร้างขึ้นในสถานที่ซึ่งระบบไฟฟ้าส่วนกลางเข้าไม่ถึง

ชัวร์ก่อนแชร์: อุปกรณ์เปลี่ยนรถน้ำมันเป็นรถไฮบริด ลดอัตราสิ้นเปลือง 35-75% จริงหรือ?

รถไฮบริดต้องมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าและแบตเตอรี่เป็นแหล่งสำรองไฟฟ้า การเสียบอุปกรณ์เสริมในรถไม่ทำให้รถน้ำมันกลายเป็นรถไฮบริดได้ ส่วนกล่อง ECU จะควบคุมการฉีดน้ำมันสู่ห้องเผาไหม้ แต่ไม่สามารถควบคุมการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: งานวิจัยชี้ฉีดวัคซีนโควิดเสี่ยงป่วยโรคหัวใจหนักกว่าไวรัสโควิด จริงหรือ?

เป็นข้ออ้างผิด ๆ จากแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ผ่านการนำเสนองานวิจัยที่เต็มไปด้วยจุดบกพร่องและการบิดเบือน

ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิจัยมหาวิทยาลัย Yale พบอาการเรื้อรังหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนลงความเห็นว่า อาการเรื้อรังที่เกิดกับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกับลองโควิดอย่างมาก มีการศึกษาอาการข้างเคียงแบบเดียวกันในกลุ่มผู้ฉีดวัตซีนและผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผู้ติดเชื้อมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า

1 3 4 5 6 7 24