ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนบูสเตอร์กระตุ้นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จริงหรือ?

6 พฤษภาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake.org (ยูเครน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้

บทสรุป:


เป็นรายงาน Case Report ของผู้ป่วยเพียงรายเดียวที่อาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL แย่ลงหลังฉีดวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้น แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าวัคซีนมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศยูเครน เป็นการเปรียบเทียบผล CT scan ของชายวัย 66 ปีที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น พบการกระจายตัวของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไปทั่วร่างกายหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ทำให้เชื่อว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง


FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

ข้อมูลที่ถูกแชร์นำมาจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Medicine ในหัวข้อ “การแพร่กระจายที่รวดเร็วของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL (Angioimmunoblastic T-cell lymphoma) ของผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นจากบริษัท Pfizer/BioNTech”

รายงานเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายนปี 2021 ชายวัย 66 ปีผู้นี้ ได้รับการวิฉัยว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณข้างลำคอ โดย 6 เดือนก่อนหน้านั้นเขาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แบบครบโดสจาก Pfizer ซึ่งในประวัติพบว่า เขายังมีอาการความดันโลหิตสูง, ภาวะคอเลสเทอรอลในเลือดสูง และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

หลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไปเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2021 ไม่กี่วันหลังจากนั้น ชายผู้นี้พบว่า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้านขวามีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งการเปรียบเทียบผล CT scan ก่อนการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน และหลังฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 30 กันยายน พบการกระจายตัวของมะเร็งในร่างกายอย่างรวดเร็ว

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin (NHL) ที่พบได้ยาก ส่วนใหญ่พบในชายสูงอายุมากกว่าผู้หญิงและไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สันนิฐานว่าเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดพลาด สาเหตุจากการกระตุ้นโดยแอนติเจน มีไวรัสหลายชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL ทั้งไวรัส EBV, ไวรัส CMV, ไวรัสตับอักเสบซี, ไวรัสเฮอร์ปิสชนิดที่ 6 และ 8 (ก่อโรคหัดดอกกุหลาบและโรคมะเร็งคาโปซี) และไวรัส HIV

ผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ตั้งข้อสันนิฐานว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นอาจมีส่วนทำให้มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่าวัคซีน mRNA กระตุ้นการขยายตัวและเร่งอัตราการเมแทบอลิซึมต่อมน้ำเหลืองมากกว่าปกติ ซึ่งผล CT scan พบว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แขนข้างที่ฉีดวัคซีน มีขนาดใหญ่กว่าแขนอีกข้างอย่างชัดเจน และมีขนาดเพิ่มขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

อย่างไรก็ดี รายงานชิ้นนี้จัดอยู่ในรูปแบบของ Case Report หรือรายงานอาการของผู้ป่วยเพียงรายเดียว ไม่ใช่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บทสรุปของผู้เขียนเป็นเพียงข้อสันนิฐาน ที่ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัคซีน mRNA กระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL

นอกจากนี้ผู้เขียนรายงานยังเสนอแนะว่า ข้อสันนิฐานในรายงานชิ้นนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงกับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด AITL รายอื่นๆ เนื่องจากมีปัจจัยของโรคที่แตกต่างกัน การวิจัยเชิงลึกในอนาคตจำเป็นต้องตรวจสอบผ่านเครื่อง PET/CT เครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในระดับโมเลกุล เพื่อยืนยันผลการวิจัยให้แม่นยำยิ่งขึ้น และไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร ประโยชน์ในการป้องกันโรคของวัคซีนโควิด 19 ก็ยังมีมากกว่าความเสี่ยงการเกิดอาการข้างเคียงที่พบได้ยากจากวัคซีนเช่นเดิม

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น เพื่อลดความเสี่ยงการป่วยหนักจากการติดเชื้อโควิด 19

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.stopfake.org/ru/manipulyatsiya-busternaya-doza-vaktsiny-protiv-covid-19-usilivaet-rost-rakovyh-kletok/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ปล่อยตัว “แซม ยุรนันท์” สวมกอดครอบครัว ขอกลับบ้านก่อน

“แซม ยุรนันท์” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว สวมกอดครอบครัวด้วยสีหน้ามีความสุข พร้อมขอบคุณสื่อมวลชนที่มาต้อนรับ ขอกลับบ้านก่อน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

จับแล้วมือยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ย่านบางลำพู

“ผู้การจ๋อ” ส่ง “สารวัตรแจ๊ะ” นำทัพสืบ บช.น. ร่วมตำรวจกัมพูชา แกะรอยบุกจับ “จ่าเอ็ม” มือยิง “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ถึงพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีดิไอคอน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี “ดิไอคอน” เปิดใจขอบคุณกระบวนการยุติธรรมและทัณฑสถานหญิง ดูแลเป็นอย่างดี ยืนยันบริสุทธิ์ใจตั้งแต่แรก พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์ตนเองแล้ว

พบ จยย.มือยิงอดีตนักการเมืองกัมพูชาจอดทิ้งปั๊ม คาดได้ตัวเร็วๆ นี้

ตำรวจตรวจพบรถจักรยานยนต์มือยิงอดีตนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชาแล้ว จอดทิ้งไว้ที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง บริเวณเลียบด่วนมอเตอร์เวย์ คาดได้ตัวคนร้ายเร็วๆ นี้