แนะตรวจไมโครชิปก่อนซื้อ “ปลาอโรวาน่า” เหตุเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

กรุงเทพฯ 18 มี.ค. – กรมประมงจับมือสหกรณ์ปลาสวยงามและผู้ค้าปลาตะพัดจัดทำเว็บไซต์สำหรับสืบค้นข้อมูลหมายเลขไมโครชิปปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัดทั้งที่ได้มาจากการนำเข้าและเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสัตว์อโรวาน่าและมีระเบียบเข้มงวดในการเพาะพันธุ์ หวั่นประชาชนซื้อปลาที่ไม่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ได้จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลดังกล่าวได้เปิดให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลหมายเลขไมโครชิปปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัดทั้งที่นำเข้าและเพาะพันธุ์ในประเทศที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้สืบเนื่องจากผู้แทนสหกรณ์ปลาสวยงามแห่งสยาม จำกัดเสนอให้กรมประมงจัดทำฐานข้อมูลการนำเข้าปลาตะพัดในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัด (Scleropages formosus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยที่ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นปลาสวยงามที่ราคาแพงและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติเนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป


นอกจากนี้ปลาตะพัดยังเป็นสัตว์น้ำที่อยู่ในบัญชี 1 (Appendix I) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยระเบียบในการค้าต้องเข้มงวดเป็นพิเศษและอนุญาตเฉพาะบางกรณี อีกทั้งปลาตะพัดถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ห้ามกระทำการใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตดังนี้

1. ห้ามล่า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

2. ห้ามเพาะพันธุ์ (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)


3. ห้ามค้า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

4. ห้ามครอบครอง (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

5. ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่าน โดยปลาตะพัดที่จะส่งออกไปต่างประเทศจะต้องได้มาจากฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ CITES และต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์น้ำ ซึ่งโดยทั่วไปนิยมเครื่องหมายประจำตัวปลาตะพัดโดยการฝังไมโครชิป (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า ตลาดค้าปลาตะพัดมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจึงมีการนำเข้าปลาตะพัดจำนวนมากซึ่งต้องควบคุมให้สามารถตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมายได้ กรมประมงจึงจัดทำฐานข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ https://arowana.fisheries.go.th ให้ประชาชนเข้าไปสืบค้นได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง