ย้ำห้ามทิ้งซากสัตว์ในที่สาธารณะ

กรุงเทพฯ 15 ต.ค. -กรมปศุสัตว์เตือนประชาชนอย่าทิ้งสัตว์หรือซากสัตว์ในที่สาธารณะเนื่องจากมีความผิดตามกฎหมาย รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคระบาดสัตว์ ย้ำห้ามนำมาบริโภคด้วยเพราะเสี่ยงติดโรคระบาดจากสัตว์สู่คน


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยถึงกรณีที่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้นำสุกรมาทิ้งในที่สาธารณะจนเป็นเหตุให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชาชนว่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคระบาดได้ ในกรณีดังกล่าวกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝังกลบและทำการฆ่าเชื้อโรคแก่ซากสุกรดังกล่าวตามขั้นตอนของกรมปศุสัตว์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้ประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยจากโรคระบาดที่อาจมีได้ในซากสุกรชุดดังกล่าว ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นสร้างความเดือนร้อนแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง และอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆได้ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเกษตรกรรายอื่นเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหลายฉบับไม่ว่าจะเป็นมาตรา 396 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็นในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือมาตรา 11 แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558.ที่กำหนดให้เจ้าของสัตว์แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ทราบว่าสัตว์ป่วยหรือตาย หากไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากในช่วงเวลานี้เป็นฤดูมรสุมและกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศมีความแปรปรวน ประกอบกับหลายพื้นที่ประสบสภาวะน้ำท่วมทำให้สุกรเกิดความเครียด ประกอบกับหากเป็นฟาร์มของเกษตรรายย่อยซึ่งระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสุกร (Biosecurity) ยังไม่ดีจะทำให้สุกรที่เลี้ยงมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นในฟาร์มโดยเฉพาะที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่นและมีประวัติการระบาดของโรคมาก่อน จึงเป็นสาเหตุให้โรคนี้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว กรมปศุสัตว์จึงมีความห่วงใยเกษตรกรโดยเฉพาะรายย่อยจึงมีคำแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ควรมีการจัดการที่ดีตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ควรทำการกักแยกสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่เพื่อสังเกตอาการก่อนปล่อยเข้าร่วมฝูง ทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพ เข้มงวดการทำลายเชื้อโรคในน้ำที่ใช้ในฟาร์มก่อนนำไปใช้เลี้ยงสุกร ยานพาหนะที่เข้า – ออกฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ไม่นำสุกรที่ไม่ทราบประวัติเข้าสู่ฟาร์มโดยเฉพาะจากพื้นที่ที่เคยมีการระบาดโรคต่างๆมาก่อน รวมทั้งการใช้วัคซีนในการป้องกันโรคแต่ต้องร่วมกับระบบการป้องกันโรคในฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อให้การควบคุม ป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรเพิ่มเติม ดังนี้

1. ปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพ 

2. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการควบคุม ป้องกันโรคในสุกรเพื่อสามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด


 3. กรณีฟาร์มเกษตรกรรายย่อยให้ติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด หากฟาร์มตั้งอยู่ในเขตพื้นที่โรคระบาดให้หยุดการเคลื่อนย้ายสุกร เช่น หยุดการทดแทนสุกรเข้าฟาร์ม หยุดการรับลูกสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยง รวมไปถึงไม่ให้เกษตรรายอื่นเข้ามาในฟาร์มตนเอง จนกว่าการระบาดของโรคในพื้นที่นั้นสงบลงแล้ว

4. หากพบสุกรที่สงสัยว่าป่วยหรือตายด้วยโรคระบาด หรือด้วยอาการผิดปกติไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ทันที หรือผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 063 225 6888 เพื่อเข้าทำการตรวจสอบต่อไป  

5. สุกรที่ตายด้วยโรคระบาดหรือไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเนื้อที่จะนำมาบริโภคขอให้งดนำเนื้อสุกรนั้นมาบริโภคทุกกรณี หากประชาชนต้องการบริโภคเนื้อสุกรขอให้เลือกซื้อเนื้อสุกรที่มาจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” และโดยต้องนำมาปรุงสุกทุกครั้งก่อนการบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดี

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดต่างๆในสัตว์อย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาด และขอให้ประชาชนบริโภคเนื้อสุกรได้ตามปกติไม่ต้องตื่นตระหนก นอกจากนี้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หรือประชาชนทั่วไปสามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรมปศุสัตว์หรือข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” ได้ตลอดเวลา.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง