กรมชลประทานเดินหน้าศึกษาขุดอุโมงค์ยักษ์

กรมชลประทาน 29 ก.ค.-กรมชลประทานเดินหน้าศึกษาขุดอุโมงค์ยักษ์มูลค่าลงทุนกว่า 7 หมื่นล้านบาท หวังเติมปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืน

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ด้วยการสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม ส่งน้ำด้วยอุโมงค์ยักษ์ เพื่อเติมในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีความคืบหน้าไปมาก จึงเตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาโครงการ และนำเสนอรัฐบาลในขั้นต่อไป


การสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม และส่งน้ำด้วยอุโมงค์ เพื่อนำน้ำท่าในแม่น้ำยวมจำนวนมากเกินใช้งานและไหลลงสู่แม่น้ำเมย และไหลลงแม่น้ำสาละวิน ออกสู่ทะเลอันดามัน โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ กรมชลประทานจึงได้ศึกษาหาแนวทางนำน้ำส่วนนี้ไปเติมเขื่อนภูมิพล ได้ผลการศึกษาสรุปว่า

  1. ต้องสร้างเขื่อนในแม่น้ำยวม เหนือจุดบรรจบแม่น้ำเมยทางด้านเหนือน้ำประมาณ 13.8 กม. ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ละนา ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีความจุราว 69 ล้านลูกบาศก์เมตร
  2. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บ้านสบเงา เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่ยวมเข้าอุโมงค์
  3. อุโมงค์ส่งน้ำ ขนาด 8.1- 8.3 เมตร ความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร รับน้ำจากสถานีสูบน้ำบ้านสบเงาไปเติมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
  4. ปรับปรุงลำน้ำแม่งูด ระยะทางราว 2 กิโลเมตร รวมค่าก่อสร้างประมาณ 71,110 ล้านบาท โดยการลงทุนในการก่อสร้างมี 2 แนวทางคือ ภาครัฐลงทุนทั้งหมด และภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน

นายสุรชาติ มาลาศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การผันน้ำจากเขื่อนแม่ยวมไปเขื่อนภูมิพล ต้องดำเนินการในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม สามารถเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลได้ปีละประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานจะไม่ผันน้ำช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เพราะมีปริมาณน้ำในแม่น้ำน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับการระบายน้ำจากเขื่อนแม่ยวมเท่ากับปริมาณน้ำตามสภาพธรรมชาติในแม่น้ำยวมในแต่ละช่วง เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ด้านท้ายน้ำด้วย


เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ทำให้มีการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านไร่ มีน้ำอุปโภค-บริโภคเพิ่มขึ้นปีละ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ปีละ 417 ล้านหน่วย เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและการท่องเที่ยวที่เขื่อนแม่ยวม และเพิ่มปริมาณระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อีกทั้งเมื่อมีการเติมน้ำแล้วจะทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนของแม่น้ำปิงมั่นคงขึ้น สอดรับกับการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชรสามารถส่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 550,000 ไร่ โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไทรงาม อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมือง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอคีรีมาศ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

อัญเชิญเรือพระที่นั่งกลับพิพิธภัณฑ์

หลังสร้างความตราตรึงให้กับชาวไทยและคนทั้งโลก กับความงดงามของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กองทัพเรือ และกรมศิลปากร เริ่มอัญเชิญเรือพระที่นั่ง และเรือพระราชพิธี กลับเข้าสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ เพราะเรือทุกลำถือเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

ย้อนรอยเส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก”

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่เส้นทางตำรวจของ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ต้องยุติลง หลังถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน กรณีพัวพันเว็บพนันออนไลน์ จากนี้ชะตาชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” ขึ้นอยู่กับ ป.ป.ช. ว่าจะได้กลับมาสวมชุดตำรวจอีกหรือไม่

“ปานเทพ” เปิดหลักฐานสัญญาชัด 71 ล้านเป็นชื่อ “มาดามอ้อย”

“อ.ปานเทพ” เปิดหลักฐานหนังสือสัญญาบอกชัด 71 ล้านบาท เป็นชื่อ “มาดามอ้อย” เปิด 3 รายชื่อให้เร่งตรวจสอบ หวั่นโยกย้ายทรัพย์สิน