ลุ้น !!! กรมวิทย์ฯ ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบโควิด-19

สธ. 7 มิ.ย.-อธิบดีกรมวิทย์ฯ เผยขั้นตอนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบโควิด-19 ด้วยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) โดยเน้นย้ำถ้าเซรั่มในเลือดหนูทำให้มีการติดเชื้อลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 แสดงว่าวัคซีนต้นแบบมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคได้ ซึ่งวัคซีนต้นแบบนี้ จะนำไปทดลองในลิงและในคนต่อไป 



นพ.โอภาส  การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววัตถุ เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐ ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาค สำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในประเทศ กรมวิทย์ฯ ได้ช่วยตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โดยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) ซึ่งต้องทดสอบโดยใช้เชื้อไวรัสโควิด-19 ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3 การทดลองโดยนำซีรั่มจากเลือดหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบมาเจือจางที่ระดับต่างๆกัน จากนั้นนำมาผสมกับไวรัสโควิด-19 ก่อนนำไปใส่ลงในเซลล์แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม นาน 6 วัน จากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจนับจำนวนไวรัส ถ้าซีรั่มในเลือดไม่มีภูมิคุ้มกัน เซลล์ก็จะติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเซรั่มในเลือดมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันเชื้อได้ ไวรัสที่อยู่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสามารถป้องกันโรคได้ดีหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนและยอมรับ 


อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า ในการดูภูมิคุ้มกันขึ้นดีหรือไม่ดีนั้น สามารถดูได้จากการเจือจางซีรั่ม ถ้าเจือจางมากและพบการทำลายเชื้อไวรัสโดยภูมิคุ้มกันในซีรั่มลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่ามีภูมิ คุ้มกันสูงในหนู ซึ่งวัคซีนต้นแบบของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งมาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบว่าสามารถเจือจางซีรั่มไปถึง 500 เท่า ยังสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ แสดงว่าในซีรั่มหนูมีภูมิคุ้มกันสูงต่อไวรัสโควิด-19 ขั้นตอนต่อไปวัคซีนต้นแบบนี้จะนำไปทดลองในลิงและในคนต่อไป 

ส่วนในประเด็นเรื่องการจะได้ใช้วัคซีนเมื่อใดนั้น เป็นเรื่องของอนาคตยังไม่สามารถตอบได้ ซึ่งบางประเทศรายงานเร็วที่สุดต้นปี 2564 บางประเทศรายงานปลายปี 2564 ซึ่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ละขั้นตอนต้องทดสอบในสิ่งมีชีวิตทำให้ผลที่ได้มีความแปรปรวนของการทดสอบ จึงคาดการณ์ได้ยากว่าวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลนั้น จะสำเร็จได้เมื่อใด  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่ไม่ได้เป็นรองนานาชาติมากนัก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานภาคอุดมศึกษาต่าง ๆ มีความพร้อม เพียงแต่เราไม่สามารถดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียวได้อย่างครบวงจร จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน  เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีน โควิด-19 จนประสบความสำเร็จได้ .-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่