เครือข่ายสังคมรวมพลัง “ดูแลผู้ป่วย-ผู้ได้รับผลกระทบ” โควิด-19

มธ.2 มิ.ย.-สสส.ร่วมกับ มธ.และ17 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน โครงการพัฒนาสมรรถนะและรูปแบบการดูแลทางสังคม เสริมพลังชุมชน เฝ้าระวังดูแล จัดการทางสังคม ผู้ป่วยและผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19



มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และภาคีเครือช่าย 17 องค์กร ร่วมแถลงข่าว เปิดตัวโครงการพัฒนาสมรรถนะและรูปแบบการดูแลทางสังคมและเสริมพลังชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และจัดการทางสังคม สำหรับผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19  พร้อมทดสอบการใช้แอปพลิเคชันระบบการทำงานในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รายหนึ่งจาก 1,600ราย ซึ่งออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้แล้ว ซึ่งผู้ป่วยรายนี้แสดงความพอใจและรู้สึกอุ่นใจที่มีผู้ดูแลให้ความมั่นใจในการกลับสู่สังคมอีกครั้ง


นายสุปรีดา อดุลยานนท์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในช่วงการระบาดโควิด-19 สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะมักจะพบว่าผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่อาจติดเชื้อโควิด-19 ต้องเผชิญกับปัญหาทัศนคติของคนรอบข้าง การไม่ถูกยอมรับ การถูกเลือกปฏิบัติจากคนในชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด อีกทั้งยังมีปัญหาด้านศรษฐกิจในกรณีต้องหยุดงานพื่อรักษาตัว ผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กในครอบครัวไม่มีคนดูแล สสส.จึงร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ.สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง(สปคม.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และคลินิก เทเลเมดิซีน พัฒนาระบบออนไลน์ให้คำปรึกษาทางสังคมแก่ผู้ป่วยติดเชื้อและผู้ที่เคยติดเชื้อ โดยนักสังคมสงเคราะห์จิตอาสา ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดี ผู้ที่เคยติดเชื้อมีความรู้ในการดูแลตัวเอง เกิดความมั่นใจมากขึ้นเมื่อกลับเข้าสู่สังคม ขณะที่คนในคอบครัวได้รับ การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 


รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าวเป็นการทำงานต่อเนื่องจากระยะแรก ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยมีเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรผู้ชวยหลือทางสังคม จำนวน 200 คน เพื่อติดตามผู้ป่วยกลับบ้านจำนวน 1,600 คน โดยเจ้าหน้าที่จะต้องผ่านการอบรม 4 หลักสูตรให้คำปรึกษา เสริมพลังทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูดูแลทางสังคมกับผู้ปวยโควิด-19 ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 

ทั้งนี้ มธ.ถือเป็นมหาวิทยาลัยแรก ที่ประกาศตัวมีส่วนร่วมต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยการผันรูปแบบมาเป็นโรงพยาบาลสนาม และปิดตัวลงหลังจากส่งตัวผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วรายสุดท้าย เมื่อวันที่ 19 พ.ค.63 สรุปจำนวนผู้ป่วย 60 ราย แต่ก่อนการจำหน่ายผู้ปวย ทาง รพ.จะเตรียมความพร้อม โดยทีมงานสังคมสงเคราะห์ที่ได้รับแจ้งจากผู้ป่วยไม่สามารกลับเข้าสู่ครอบครัวหรือชุมชนได้จะนำผู้ปวยเข้าสู่ระบบการติตตามดูแลผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและสังคม หรือประมินส่งตัวต่อให้กับหน่วยงานภาคีที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อไป โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี

น.ส.สราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ล่าสุด พม. ได้มีนโยบายให้จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ทดลองพัฒนาระบบการติดตามผู้ปวยโควิด-19 เริ่มที่สถาบันพระประชาบดี โดยเชิญนักสังคมสงเคราะห์ 31 คน จาก13 องค์กรมาร่วมโครงการระบบติดตามผู้วยโควิด-19 และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะนักสังคมสงเคราะห์ในการติดตามเคสผ่านระบบออนไลน์ หรือการเชื่อมโยงระบบการดูแลทางสังคมกับผู้ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ หรือศูนย์ต่างๆ โดยพบว่าที่ผ่านมาแอปพลิเคชัน CLICKNIC ช่วยให้ระบบการดูแลผู้ประสบปัญหาทางสังคมมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาเคสล้น ทำงานไม่ทันของนักสังคมสงเคราะห์ และช่วยพัฒนาการทำงานแบบ New Normal ของบุคลากรของกระทรวง พม. ได้อีกด้วย

นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นั้น  มีความสัมพันธ์กับมิติทางสังคมอย่างยิ่ง แม้ว่าวันนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะเริ่มดีขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง แต่ยังมีความจำเป็นต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอยู่ เนื่องจากหลายประเทศ  พบการกลับมาระบาดรอบใหม่ ดังนั้น การเสริมย้ำความรู้ในเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ยังคงต้องย้ำกันอย่างต่อนื่อง ทุกคนควรตระหนักว่าตนเองต่างมีโอกาส   ติดเชื้อได้เหมือนกัน และต้องไม่ลืมป้องกันตัวเองเมื่อออกไปใช้ชีวิตในสังคม  ซึ่งการที่นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาจากทุกสถาบัน รวมทั้งภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญกับผู้ที่หายติดเชื้อ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้  จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยเหลือบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างมาก.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก