สำนักข่าวไทย 31 พ.ค. 63 -. ราชกิจจาฯ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด- ๑๙) ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตทั่วราชอาณาจักร ออกไปตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 จนถึงวันที่ 31 มิถุนายน 2563 และยังมีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
1.การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา เพื่อการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2563 ในระยะแรกนี้ให้ผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อจัดการศึกษา การอบรม การประชุม หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบหรือคัดเลือกบุคคล
– 1. การใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรมของโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะประเภทวิชาชีพ และประเภทศิลปะและกีฬา (เฉพาะประเภทกีฬาที่ผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมได้) โดยพิจารณาถึงจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ความพร้อมและความสามารถในการจัดรูปแบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การจัดสถานที่และระบบต่างๆให้สอดคล้างกับมาตรการป้องกันโรคเป็นสำคัญ
– 2. การใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาเพื่อการประชุม การจัดการสอบ การสอบคัดเลือก การฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน หรือดำเนินการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้มีผู้รับผิดชอบในโรงเรียน หรือสถานบันปฎิบัติตาม ข้อ1) และ 2) ต้องปฎิบัติตามป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด การจัดระเบียบและระบบต่างๆรวมทั้งคำแนะนำของทางราชการอย่างเร่งครัด
2.กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
ก. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ – เปิดได้ถึง 21.00 น.
ข. ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ – จำกัดพื้นที่รวมไม่เกิน 20,000 ตร.ม. และเปิดถึง 21.00 น.
ค. สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง – งดเว้นการจัดกิจกรรมที่มีผู้คนมาชุมนุมหนาแน่น ไร้ระเบียบ
ง. ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษ-สตรี – ให้บริการรายละไม่เกิน 2 ชม. และไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
จ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน – เปิดเพื่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการนัดหมาย จัดสรร แจกจ่ายเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน รวมถึงเตรียมความพร้อมสถานที่ ตามมาตรฐานสาธารณสุข ยังไม่มีการเรียนการสอน
3.กิจกรรมด้านการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ
ก. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ข. สถานที่ประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า – งดอบตัว อบสมุนไพร อบไอน้ำแบบรวม และนวดใบหน้ายกเว้นสถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด
ค.สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส – จำกัดจำนวนผู้เล่นแบบรวมกลุ่ม และงดอบตัวและอบไอน้ำแบบรวม
ง.สถานที่ฝึกซ้อมมวย โรงยิมหรือค่ายมวย – ให้เปิดได้เฉพาะเพื่อการฝึกซ้อมการชกลมโดยไม่มีคู่ชก การชกมวยแบบล่าเป้า โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและไม่มีผู้ชม
จ. สนามกีฬา ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมในประเภทกีฬา ได้แก่ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล – โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและมีจำนวนผู้รวมกิจกรรมที่อยู่ในบริเวณ(ไม่นับรวมผู้เล่น) อีกไม่เกิน 10 คน
ฉ.สถานที่ไปเล่นโบว์ลิ่ง สก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน – เฉพาะการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม
ช.สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ
ซ.สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง เช่น เจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ เครื่องเล่นประเภทบานาน่าโบ๊ท – ต้องไม่เป็นการแข่งขันและจำกัดจำนวนผู้เล่น
ฌ.โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ- มีผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 200 คน โรงมหรสพเปิดเฉพาะลิเก ลำตัด การแสดงพื้นบ้าน งดแสดงดนตรี คอนเสิร์ต
ญ.สวนสัตว์หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์ – จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นการรวมกลุ่ม
(อ่าน : ประกาศราชกิจจานุเบกษา )