กรุงเทพฯ 16 พ.ค.- กระทรวงคมนาคม สรุป 23 ความเสี่ยงฟื้นการบินไทย ตั้งแต่เส้นทางบิน ฝูงบิน ยันโครงสร้างองค์กร
ขณะที่ สหกรณ์ออมทรัพย์การบินไทย ร่อนจดหมายถึงสมาชิก เบรคถอนเงินเกินเดือนละ
300,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายจากกระทรวง คมนาคมว่า
ในขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สรุปความเสี่ยง
23 ข้อ ในการฟื้นฟู กิจการ บมจ.การบินไทย เพื่อเป็น แนวทางเสนอต่อ
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร.ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันจันทร์ (18
พ.ค.)
“ รมว.คมนนาคม ให้คณะทำงานฯที่มีปลัด ก.คมนาคมเป็นประธาน หาทางปิดความเสี่ยงการฟื้นฟูการบินไทย
เพื่อเสนอนายกฯ มีทั้งสิ้น 23 ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง หากในอนาคตมีการใส่เงินสภาพคล่องเข้าไปเพิ่มเติม
ในลักษณะเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน
เพราะอาจนำมาซึ่งความสูญเปล่าและเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต”รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุ
สำหรับ ความเสี่ยง 23 ข้อ ประกอบด้วย 1
กลยุทธ์ด้านปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน ลดกำลังการผลิต
ซึ่งพบว่าข้อมูลการซ่อมบำรุงอาจไม่ครบถ้วน การขายเครื่องบินและเครื่องยนต์
ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจทำได้ยาก
2.การปรับปรุงเส้นทางบินระยะยาวในส่วนของเส้นทางที่ไม่ทำกำไรและการที่ไม่มีเครื่องบินที่ต้องการนำไปให้บริการในเส้นทางที่มีศักยภาพมากกว่า
3.การขายเครื่องบินเดิม ซึ่งผู้สนใจเสนอราคาต่ำมาก,4.ปัญหาการพาณิชย์ การต่อต้านของผู้แทนจำหน่าย
(เอเยนต์) ที่อาจเสียประโยชน์จากการขายบัตรโดยสารแบบราคาเดียวหรือ Single
Price ,5. การนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาบริการลูกค้าที่อาจทำไม่ได้ตามแผน
6.
การปรับปรุงประสิทธิภาพฝ่ายช่างนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในฝ่ายช่าง
7.ความจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างฝ่ายซ่อมบำรุงใหม่
8.ความจำเป็นต้องปรับปรุงผลตอบแทนการทำงานในฝ่ายช่างตามระดับผลิตภาพ, 9.การปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรโดยรวม
10.การปรับปรุงความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ,11.การปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ
12.การปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต
13.การปรับปรุงงานฝ่ายช่างในส่วนของงานซ่อมบำรุงอากาศยานทั้งที่สุวรรณภูมิและดอนเมือง ต้องมีความชัดเจน
14.งานฝ่ายช่างที่ศูนย์บำรุงอากาศยานอู่ตะเภา 15.งานบริการภาคพื้น ที่ต้องมีการปรับรูปแบบการทำงานใหม่
16.การปรับปรุงบริการห้องรับรองพิเศษ 17.การปรับปรุงสร้างรายได้
ฝ่ายการพาณิชย์และไปรษณียภัณฑ์ 18.การสร้างทีม
และพื้นที่ทำงานเชิงกลยุทธ์ของฝ่ายพาณิชย์สินค้า (Terminal) และไปรษณียภัณฑ์
19.การจัดกลุ่มธุรกิจของบริษัทใหม่ในอนาคตสำหรับหน่วยธุรกิจที่เคยมีอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจน ปฏิบัติได้จริง 20.
การเพิ่มประสิทธิภาพครัวการบินให้ได้ตามเป้าหมาย
21.การจัดการธุรกิจครัวการบินให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Smart Kitchen 4.0,
22.
ความชัดเจนในการจัดการธุรกิจครัวการบินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และ 23.
การพัฒนาหน่วยธุรกิจการจัดเลี้ยงของบริษัท (Thai Catering Subsidiary)
ส่วนประเด็น
เรื่องปัญหาสภาพคล่องและความมั่นคงของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการบินไทย ทีมีการถอนเงินเป็นจำนวนมาก
ล่าสุดสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ได้ทำหนังสือถึงสมาชิกฯ ลงวันที่ 14 พ.ค. ขอให้สมาชิกไม่ถอนเงินฝากเกินกว่าเดือนละ
3แสนบาท โดยไม่ใช่เหตุผลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและความเจ็บป่วย ซึ่งหากการเบิกถอนไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนด
คณะกรรมการฯจะไม่พิจารณาอนุมัติเงินให้
จนกว่าสถานการณ์ของบริษัทฯจะมีความแน่นอน ,ขอให้สมาชิกมีความเชื่อมั่นถึงความมั่นคงของสหกรณ์ฯโดยย้ำว่าบริษัทไม่เคยผิดนัดชำระหนี้
และในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาสหกรณ์สามารถทำกำไรได้มากกว่า 460 ล้านบาท
.-สำนักข่าวไทย