กรมปศุสัตว์นำร่องฉีดวัคซีนป้องกันกาฬโรคแอฟริกาในม้าสถานเสาวภาแห่งแรกในไทย

กรุงเทพฯ 20 เม.ย. – รมว.เกษตรฯ กำชับกรมปศุสัตว์เร่งฉีดวัคซีนป้องกันกาฬโรคแอฟริกาในม้าอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงม้ามากที่สุดในประเทศวันนี้ ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุ นำร่องฉีดวัคซีนในม้าของสถานเสาวภา สภากาชาดไทยเป็นกลุ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้ม้าป่วย เนื่องจากใช้เลือดจากม้าเหล่านี้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและแก้พิษงู 


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ (20 เม.ย.) กรมปศุสัตว์จะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้ม้าในรัศมี 50 กิโลเมตร จากจุดเกิดโรค 7 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ชลบุรี และสระแก้วที่พบการระบาดของกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ซึ่งจะประชุมทำความเข้าใจกับปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์เขต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์รายงานว่าได้นำเข้าวัคซีน AHS เพื่อใช้ในพื้นที่เกิดโรคและพื้นที่ป้องกันโรค โดยมีข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดว่าก่อนฉีดวัคซีนให้ม้าเจ้าของม้าต้องยินยอม จากนั้นตรวจสุขภาพม้าและเมื่อฉีดวัคซีนแล้วห้ามเคลื่อนย้ายม้าเป็นระยะเวลา 90 วัน มั่นใจว่าจะทำให้โรคสงบได้เร็ว

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องประชุมหารือกำหนดมาตรการ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อควบคุมการระบาด ประกอบด้วย การกำหนดพื้นที่เผชิญเหตุโรคระบาด การประชาสัมพันธ์และเตือนภัย การเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ การลดแมลงดูดเลือดและป้องกันแมลงดูดเลือดในสัตว์กลุ่มเสี่ยง การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ และการฉีดวัคซีน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะทำการฉีดวัคซีนในม้า ลา ล่อ ในพื้นที่เกิดโรค คือ รัศมี 20 กิโลเมตรรอบฟาร์มที่มีโรคระบาดและพื้นที่ป้องกันโรค คือ พื้นที่รัศมีระหว่าง 20 – 50 กิโลเมตร รอบฟาร์มที่มีโรคระบาด ซึ่งมีขั้นตอนทำความเข้าใจกับเจ้าของม้าในประเด็นดังนี้ เหตุผลที่ต้องฉีดวัคซีน การปฏิบัติกับม้าที่ฉีดวัคซีน และผลกระทบภายหลังฉีดวัคซีน รวมทั้งอาจมีการสูญเสียม้าจากผลข้างเคียงของการใช้วัคซีน ให้นำม้าเข้ามุ้งเพื่อป้องกันแมลงกัดก่อนเก็บเลือดอย่างน้อย 3 วัน และภายหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 วัน ขึ้นทะเบียนม้าทุกตัวโดยการติดไมโครชิพและลงข้อมูลในระบบการทำเครื่องหมายสัตว์และขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ (NID) เมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของแล้ว ต้องตรวจสุขภาพสัตว์ เช่น วัดอุณหภูมิสัตว์ หากมีไข้จะไม่ให้ฉีดวัคซีน และกักแยกสัตว์ในมุ้งเพื่อดูอาการ เก็บตัวอย่างเลือดม้าส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูการติดเชื้อและตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้อจะให้แยกสัตว์ออกจากฝูง และป้องกันแมลงดูดเลือดเพื่อลดการแพร่จะจายของโรค


สำหรับขั้นตอนการฉีดวัคซีน กรมปศุสัตว์จะฉีดสัตว์ที่ไม่พบการติดเชื้อ ติดตามอาการข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง  กรณีที่ม้าตั้งท้องให้พิจารณาการให้วัคซีนตามดุลพินิจจากสัตวแพทย์ หลังจากฉีดวัคซีนภายใน 1 เดือน ให้เก็บตัวอย่างเลือด เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีน ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ที่ฉีดวัคซีนออกจากคอกเลี้ยงที่มีมุ้งเป็นระยะเวลา 30 วัน และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากพื้นที่จนกระทั่งไม่มีสัตว์ป่วยเพิ่มเป็นระยะเวลา 90  วัน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า วัคซีนป้องกันโรค AHS เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นนำเข้าจากประเทศแอฟริกาใต้ โดยผลิตจากเชื้อไวรัส African Horse Sickness (serotype 1 3 และ 4) ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานขององค์การสุขภาพสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) สามารถฉีดในม้า ลา ล่อ ซึ่งมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี การฉีดวัคซีนจึงต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมและกำกับการใช้อย่างรัดกุมเฉพาะพื้นที่ควบคุมโรคเท่านั้น ขณะนี้ยังมีม้าที่ติดเชื้อและทยอยแสดงอาการป่วยตายอยู่บ้างในฟาร์มม้า 5 ฟาร์ม จากทั้งหมด 30 ฟาร์มที่เคยติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และไม่มีติดเชื้อเพิ่มในฟาร์มรายใหม่ แต่ฟาร์มที่เคยติดเชื้อยังมีม้าบางส่วนรับเชื้อทยอยแสดงอาการป่วยและตาย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อว่า สั่งการให้สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีร่วมกับสัตวแพทย์สถานเสาวภาฉีดวัคซีนป้องกันโรค AHS เป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 560 ตัว เนื่องจากเป็นสถานที่เพาะเลี้ยงม้าที่ใช้ในการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 140,000 ขวด/ปี และเซรุ่มแก้พิษงูเพื่อรักษาผู้ที่ถูกงูกัด 100,000 ขวด/ปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องไม่ให้ม้าเหล่านี้ป่วยเพื่อป้องกันการขาดแคลนเซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้าและพิษงู โดยการดูแลม้าหลังฉีดวัคซีนเป็นไปตามมาตรการการใช้วัคซีนป้องกันโรคตามหลักสากล


“ขอย้ำว่าวัคซีนป้องกันโรค AHS ยังไม่มีจำหน่ายในไทย โดยกรมปศุสัตว์รับมอบ 4,000 โดสจากนายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้ผลิตอาหารม้า โดยนำเข้าจากประเทศแอฟริกาใต้ การใช้ต้องอยู่ในการควบคุมอย่างเคร่งครัดและจะใช้เฉพาะในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคเท่านั้น” อธิบดีปศุสัตว์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง