สำนักข่าวไทย 10 เม.ย. 63 – เราติดโควิดหรือยังนะ? คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนตั้งคำถามกับตัวเองในช่วงนี้ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่แพร่กระจายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้สร้างความวิตกกังวลให้เราเป็นอย่างมาก วันนี้ สำนักข่าวไทยจึงรวบรวมแบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19 หลากหลายรูปแบบ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และสามารถคัดกรองอาการเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ได้อีกด้วย!
1. ชุดทดสอบความเสี่ยงด้วยตัวเอง
กรมควบคุมโรคได้จัดทำชุดทดสอบความเสี่ยงนี้ประกอบด้วยระดับความเสี่ยง 8 ข้อ และคำแนะนำในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรค COVID19
สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ https://covid19.th-stat.com/th/self_screening
2. แบบประเมินความเสี่ยงก่อนมาโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อ COVID-19
แบบประเมินความเสี่ยงโดยโรงพยาบาลราชวิถีและกรมการแพทย์ ช่วยประเมินความเสี่ยงก่อนมาโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อ COVID-19 มีทั้งรูปแบบภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แบบประเมินยังปรับปรุงข้อมูลความเสี่ยงตามประกาศกรมควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง
สามารถเข้าไปทำแบบประเมินได้ที่ http://rajavithi.emergencymed.net/test/th_index.php
3. แบบคัดกรองตนเอง สำหรับผู้สงสัยโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) (Self-Screening)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแบบคัดกรองตนเองสำหรับผู้ต้องสงสัยโรคโควิด-19 มีทั้งรูปแบบภาษาไทย อังกฤษ และจีน ที่อ้างอิงจากแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของกระทรวงสาธารณสุข
สามารถเข้าไปทำแบบประเมินได้ที่ https://cmsdm.net/Self-Screening/
4. ระบบ BKK COVID-19
กรุงเทพมหานครจัดทำระบบ BKK COVID-19 เพื่อช่วยคัดกรอง ให้ความรู้ และช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที ใช้แบบประเมินตามเกณฑ์ PUI เช่นเดียวกันกับที่แพทย์ใช้ในการสอบถามอาการเบื้องต้นเพื่อคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มีรายละเอียดการประเมินดังนี้
1.ประเมินประวัติเสี่ย
2.ประเมินอุณหภูมิหรือประวัติว่ามีไข้
3.ประเมินอาการทางเดินหายใจ
เมื่อทำแบบประเมินแล้วเสร็จ ระบบจะทำการประเมินและจัดกลุ่มว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับใด พร้อมให้ความรู้ในการปฏิบัติตนตามระดับความเสี่ยงนั้น ๆ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม่พบประวัติเสี่ยง (สีเขียว)
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเฝ้าระวัง (สีเหลือง) อาจเป็นโรคอื่น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ให้สังเกตอาการใน 48 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเสี่ยง (สีส้ม) จะได้รับคำแนะนำสำหรับตนเองและบุคคลใกล้ชิด และสามารถบันทึกข้อมูลเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในระบบได้
สามารถเข้าไปทำแบบประเมินได้ที่ http://bkkcovid19.bangkok.go.th/
5. แอปพลิเคชัน “clicknic”
บริการคัดกรองผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดเบื้องต้น ผ่าน “คลิกนิก แอปพลิเคชัน” (clicknic Application) พัฒนาโดย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประชาชนสามารถคัดกรองความเสี่ยงด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน “คลิกนิก” ได้ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. วันจันทร์-ศุกร์ และเตรียมเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเร็ว ๆ นี้
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
Android > คลิกเลย
iOS > คลิกเลย
6. แอปพลิเคชัน MorChana – หมอชนะ
แอปพลิเคชันที่ร่วมกันพัฒนาโดยภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อการระวังภัยโควิด-19 ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากบางครั้งประชาชนมีการปกปิดข้อมูลของตนเอง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทำให้หลายครั้งทำให้บุคลากรทางการแพทย์ ต้องหยุดการทำงานเพื่อกักตัวเอง หรือแม้กระทั่งล้มป่วย เมื่อพบในภายหลังว่าผู้มารับบริการติดเชื้อโควิด-19
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
Android > คลิกเลย
iOS > คลิกเลย