ยกคำร้องดีเอสไอขอถอนประกัน “ชัยวัฒน์”

กรุงเทพฯ 25 พ.ย. – ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ยกคำร้อง หลังดีเอสไอ ยื่นขอถอนประกันชัยวัฒน์กับพวก รวม 4 คน  ในคดีฆ่าเผาบิลลี่ เพราะยังไม่พบพฤติการณ์ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน


ช่วงบ่ายวันนี้(25 พ.ย.) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง  ได้เรียกพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยาน รวม 4 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่  แกนนำชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกรอย   ในคดีมาซักถามนานกว่า 1 ชั่งโมง  ก่อนมีคำสั่งยกคำร้องขอถอนประกันตัวนายชัยวัฒน์  และพวก รวม 4 คน  หลังก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ  ดีเอสไอ  ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการประกันตัว เนื่องจากพิเคราะห์และไต่สวนข้อเท็จจริง   เห็นว่ากรณีนี้ยังไม่พบพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ว่าเข้ายุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ศาลจึงยกคำร้องประกัน

นายพรชัย พฤกษ์พิชัยเลิศ   ทนายความ   เปิดเผยว่า  รู้สึกพอใจในคำพิจารณาของศาล  ซึ่งก่อนหน้านี้ที่นายชัยวัฒน์ ให้คำมั่นต่อศาลว่าจะไม่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน และ จะไม่เข้าไปในพื้นที่  ก็จะให้นายชัยวัฒน์และพวกปฎิบัติตามนั้น  ส่วนแนวทางการต่อสู้คดีก็จะดูที่พยานหลักฐานของดีเอสไอซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในวันที่พนักงานอัยการมีคำสั่งคดี ขณะนี้เบื้องต้นก็ได้มีการเตรียมหลักฐานในการแก้ต่างไว้บ้างแล้ว


ด้านนายชัยวัฒน์ กล่าวถึง กรณีถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนายการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปัตตานี ว่าขอให้ชาวปัตตานี ดูการทำงานของตัวเองก่อน ส่วนตัวจะทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้  และจะปฎิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด  โดยจะเดินทางไปปฎิบัติหน้าที่ช่วงต้นเดือนหน้า และ จะกลับมารายงานตัวต่อศาลฯในวันที่ 6 ธันวาคม 2562

สำหรับกรณีการพิจารณาคำร้องขอถอนประกัน วันนี้ มาจากเมื่อวันที่18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ดีเอสไอได้ยื่นเอกสารหลักฐานเป็นคำให้สัมภาษณ์ของนายชัยวัฒน์ เพื่อขอให้ศาลพิจารณาถอนประกันตัวชั่วคราว นายชัยวัฒน์ และเจ้าหน้าที่อุทยานฯรวม4คน โดยให้เหตุผลการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนของนายชัยวัฒน์ มีการกล่าวอ้างว่า  การได้มาซึ่งพยานหลักฐาน  ไม่เป็นความจริง  และสร้างพยานหลักฐานเท็จ นอกจากนี้ยังให้สัมภาษณ์ว่า   จะไปสาบานตนที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งอาจส่งผลให้พยานที่อยู่ในพื้นที่เกิดความสับสน และ อาจทำให้พนักงานสอบสวนไม่ได้รับความร่วมมือกับคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

ขณะเดียวกันฝ่ายนายชัยวัฒน์และพวก  ได้ยื่นคัดค้านคำร้องของดีเอสไอต่อศาล  โดยระบุว่าการให้สัมภาษณ์เป็นเพียงการอธิบาย แสดงความเห็นโดยสุจริต อีกทั้งตั้งแต่ผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว  ไม่มีใครเข้าไปในพื้นที่ รวมถึง ตำแหน่ง หน้าที่ ปัจจุบันของผู้ต้องหาทั้งหมดไม่มีอำนาจในการสั่งการดำเนินการใดๆในพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมกันนี้ในคำคัดค้านของผู้ต้องหาให้สัญญาว่าจะไม่เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุและไม่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง