ทุกภาคส่วนระดมช่วยเหลือเยาวชนนอกระบบการศึกษา

สยามสแควร์วัน 22 ก.ย.- ทุกภาคส่วน ร่วมเดินหน้าช่วยเหลือเยาวชนนอกระบบการศึกษา รอบแรก 5,000 คน จากเด็กนอกระบบมากกว่า 8 แสนคน ใน 20 จังหวัดนำร่อง เพื่อให้มีโอกาสกลับมาในเส้นทางการศึกษาอีกครั้ง 


กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)  และภาคีเครือข่าย 20 จังหวัดสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดตัวโครงการรณรงค์ “เด็กไร้…ได้เรียน เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อค้นหา ช่วยเหลือเด็กนอกระบบให้มีโอกาสกลับมาในเส้นทางการศึกษาอีกครั้ง


ศ. ดร.สมพงษ์  จิตระดับ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ กสศ. และผอ.ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า เด็กและเยาวชนนอกระบบจะติดกับดักชีวิตที่เรียกว่า โง่ จน เจ็บ เป็นวงจรจากรุ่นสู่รุ่น  ถูกสังคมมองข้าม ไม่ให้ความสำคัญมาโดยตลอดด้วยอคติเชิงลบ  เส้นทางชีวิต จะเป็นศูนย์หรือติดลบทันที เมื่อหลุดออกนอกระบบการศึกษา เพราะมีแนวโน้มสูงที่จะเข้าสู่วงจรสังคมสีเทาที่อันตราย 3 เรื่อง คือ 1.เส้นทางแรงงานนอกระบบ มีรายได้ต่ำ ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ ทำงานที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ  2.เส้นทางของการค้าประเวณี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง และ3.เส้นทางยุวอาชญากร ตกอยู่ในวังวนยาเสพติด เป็นเด็กเดินยา ลักเล็กขโมย

 “ถ้าเราปล่อยให้ปัญหานี้ดำเนินต่อไป อย่างไม่สนใจ ผลักไสให้พวกเขาไปอยู่ด้านมืดของสังคม ในที่สุดผลเสียจะเกิดแก่สังคม และประเทศชาติ ทั้งที่เด็กนอกระบบจำนวนมาก มีต้นทุนของความใฝ่ดี มีความอดทน ความกตัญญูกตเวที มองเห็นคุณค่าของการเรียนแต่ไม่มีโอกาส ดังนั้นสิ่งที่สังคมไทยควรเรียนรู้ คือการเปลี่ยนมุมมองต่อเด็กนอกระบบใหม่ ช่วยกันเยียวยาชีวิต ให้โอกาส รวมถึงช่วยกันสมทบความช่วยเหลือเพื่อสร้างคน ให้ชีวิตใหม่ต่อยอดอนาคตทางการศึกษาให้กับเด็กเหล่านี้” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

 


นายพัฒนะพงษ์  สุขมะดัน  ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ.ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) และเครือข่าย 20 จังหวัดสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา  ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระดมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาอายุระหว่าง 2-21 ปี  โดยทั้ง 20 จังหวัดจะใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศเชื่อมฐานทะเบียนราษฎร์กระทรวงมหาดไทย กับข้อมูลเด็กปฐมวัยของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนเด็กเยาวชนในระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และข้อมูลเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาจาก กศน. เพื่อคัดกรองรายชื่อเด็กเยาวชนนอกระบบให้เป็นปัจจุบันที่สุด

 

ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากความร่วมมือของ เครือข่าย  20 จังหวัด ทำให้ทราบเบื้องต้นว่า จนถึงช่วงเดือน กันยายน 2562  พบมีเด็กและเยาวชนนอกระบบอายุระหว่าง 2-21 ปี เฉพาะใน 20 จังหวัด มีจำนวน 867,242 คน  แบ่งเป็น เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี จำนวน 242,002 คน ช่วงอายุ  7-17 ปี จำนวน 177,383 คน และอายุระหว่าง 18-21 ปี จำนวน  447,846 คน

นอกจากนี้ ตัวเลขเด็กและเยาวชนนอกระบบรายจังหวัด เช่น นครราชสีมา 116,422 คน อุบลราชธานี 95,613 คน  เป็นต้น ซึ่งทั้ง 20 จังหวัด จะใช้ตัวเลขเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการทำงาน พร้อมระดมสรรพกำลัง ออกไปค้นหา สำรวจให้พบตัวเด็ก โดยมีทีมสหวิชาชีพจะวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกเป็นรายบุคคลเพื่อทำแผนดูแลเด็กเป็นรายกรณี  ร่วมกับ ท้องถิ่น ประชาสังคม องค์กรเอกชน มูลนิธิต่างๆ เป้าหมายเพื่อส่งต่อให้เด็กส่วนใหญ่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือฝึกทักษะด้านการศึกษาและอาชีพ ส่วนกลุ่มที่ยังไม่พร้อมคืนสู่ระบบการศึกษา ก็จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยาฟื้นฟูจากทีมสหวิชาชีพต่อไป

เด็กและเยาวชนนอกระบบเป็นกลุ่มเปราะบาง การกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โรงเรียนเองก็จะต้องปรับการเรียนการสอนให้มีความพร้อมที่จะรองรับ มีระบบแนะแนว เพื่อไม่ให้หลุดออกจากระบบซ้ำอีก  สำหรับกลุ่มที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เพราะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพหรือมีข้อจำกัด ก็จะมีทางเลือกอื่นๆ ที่มีความยืดหยุ่นตามสภาพปัญหาของเด็กแต่ละคน ซึ่งตรงนี้ทาง กศน. จะมีบทบาทสำคัญมากในการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาเด็กต่อไป 

ทั้งนี้ในปี 2562 กสศ.ได้จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือเด็กนอกระบบกลุ่มแรกจำนวน 5,000 คนๆ ละ 4,000 บาท แต่ในขณะที่ขนาดของปัญหานี้ มีเด็กและเยาวชนเป้าหมาย เป็นหลักแสนหรืออาจถึงหลักล้าน กสศ.ร่วมกับ 20 จังหวัดจึงขอเชิญชวนประชาชนและทุกภาคส่วนต่างๆ ในสังคมร่วมบริจาคในโครงการ “ล้านคน ล้านใจ ร่วมบริจาคกับกสศ. ให้โอกาสเด็กไร้…ได้เรียน”โดยสามารถเข้าไปบริจาคและใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่าได้อัตโนมัติที่ https://donate.eef.or.th/main-donate หรือสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 02-079-5475”

โครงการนี้ยังได้ระดมพลังศิลปิน Graffiti ชั้นนำของเมืองไทยกว่า 20 ชีวิต ร่วมสร้างผลงานกราฟฟิตี้ภาพชีวิต #iWasHere (ฉันเคยอยู่ตรงนี้) ถ่ายทอดเรื่องราว การมีอยู่ของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อเป็นการบันทึกว่าครั้งหนึ่ง เคยมีเด็กและเยาวชนที่ต้องออกจากระบบการศึกษา และใช้ชีวิตเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว  โดยปรากฎตามกำแพงสำคัญๆ ใน 20 จังหวัดของประเทศไทย อีกด้วย.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง