กินยาแก้ปวดไมเกรน ถึงขั้นตัดแขนตัดขา

6 ก.ย.-แพทย์เตือนใช้ยา “เออร์กอต” หรือยาแก้ปวดไมเกรน ด้วยความระมัดระวังสูงสุด ผลข้างเคียงร้ายแรงสุดอาจต้องตัดแขนตัดขาทิ้ง


ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ภาพผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เป็นภาพมือและเท้าของคนไข้ที่ดำคล้ำน่ากลัว พร้อมระบุถึงอันตรายจากยา “เออร์กอต” หรือยาแก้ปวดไมเกรน


นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า อันตรายจากการกินยา “เออร์กอต” ชื่อการค้ามีหลายชื่อ ที่ใช้ในการแก้ปวดหรือบรรเทาปวดหัวไมเกรน เป็นยาที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังสูงสุดเพราะถ้ามีโรคประจำตัวหัวใจ เส้นเลือดตีบ หรือใช้ยาตัวอื่นๆ อยู่ รวมทั้งยาฆ่าเชื้อรา ยารักษาโรคเอดส์ จะทำให้ยาแก้ปวดตัวนี้ออกฤทธิ์มากขึ้นและทำให้เส้นเลือดหัวใจสมองที่ปลายมือปลายเท้าแขนขาหดตัวอย่างรุนแรง ขาดเลือด หัวใจวาย อัมพฤกษ์ จนกระทั่ง ถึงกับต้องถูกตัดแขนขาไป

นพ.ธีระวัฒน์ เตือนถึงอันตรายของยาเออร์กอตมาอย่างต่อเนื่องหลายปี เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์รุนแรงและอันตราย แต่ที่เห็นวางขายอยู่ตามร้านขายยาต่างๆ ได้ตามปกติ เพราะหากใช้อย่างถูกวิธีจะไม่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่ผู้ป่วยหลังได้รับยาเออร์กอตจากแพทย์แล้ว อาจไปซื้อเองในภายหลัง หรือเภสัชกรเองอาจไม่สามารถทราบถึงประวัติการรักษาของผู้ป่วยได้โดยละเอียด จึงขายยาตัวนี้ให้ผู้ป่วยไป 


มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า คาเฟอร์กอต จะขับออกทางตับ ยาที่ไปชะลอการขับออกของยา จะทำให้อันตรายจากคาเฟอร์กอตมากขึ้น โดยยาที่ใช้บ่อยๆ คือ 1. ยาปฎิชีวนะ เช่น คลาริโทรมัยซิน อีริโทรมัยซิน 2.ยาต้านเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล 3.ยาหัวใจ เช่น คอดาโรน 4.ยาความดัน เช่น ดิลไทอะเซม  และยาต้านเชื้อ HIV หลายๆ ตัว และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ หรือให้นมบุตร โรคหัวใจ โรคตับ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคหลอดเลือดตีบอยู่แล้วห้ามใช้เด็ดขาด

แพทย์แนะนำว่า เมื่อมีอาการสงสัยให้หยุดยา งดสูบบุหรี่ กาแฟ และพบแพทย์โดยด่วน เพราะจะต้องรีบให้ยาขยายหลอดเลือด หากไม่ทันกาล อวัยวะขาดเลือดจนตาย ลงเอยด้วยการตัดทิ้ง

เรืออากาศโท นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบในทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในวัยทำงาน (อายุประมาณ 30-40 ปี) และไมเกรนสัมพันธ์กับโรคเส้นเลือดสมอง

ประมาณการว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยไมเกรนมาถึง 12 ล้านคน ผู้หญิงจะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า เนื่องมาจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศ เชื่อว่าปัจจัยของพันธุกรรมมีส่วนทำให้ระบบประสาทมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ และร่วมกับปัจจัยจากภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน  การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงความเครียด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนขึ้นได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง