ร่างนโยบาย รบ. วางเรื่องแก้ รธน. ไม่เร่งด่วน

ร่างนโยบาย รบ. วางเรื่องแก้ รธน. ไม่เร่งด่วน

กทม. 14 ก.ค.-ร่างนโยบาย รบ. วางเรื่องแก้ รธน. ไม่เร่งด่วน แม้ประชาธิปัตย์ กดดันหนัก ชี้ หากตกหลุมพรางฝ่ายค้าน อาจสร้างเงื่อนไขขัดแย้ง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฎิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่แล้วเสร็จ จากนั้นรัฐบาลจะมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ภายใน 15 วัน ทั้งนี้ แหล่งข่าว เปิดเผยว่า สำหรับร่างนโยบายรัฐบาลนั้น มีทั้งหมด 41 หน้า ที่ได้รวบรวมนโยบายจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค  โดยมีนโยบายเร่งด่วน 1 ปี กับ 4 ปี ครอบคลุม4 ด้าน ได้แก่ แก้ปัญหาปากท้อง,แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ,การสร้างอนาคตให้ประชาชน และการแก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ซึ่งนโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันทีใน 1 ปีแรก คือ 1.นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ จะต้องสานต่อในเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(บัตรคนจน) ซึ่งต้องทำให้เหมาะสมและเป็นธรรม นโยบายมารดาประชารัฐ นโยบายเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ และค่าแรงขั้นต่ำ 2.นโยบายด้านเศรษฐกิจ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิ การแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตร การส่งออกสินค้าทางการเกษตร และการทำอุโมงค์ส่งน้ำจากภาคเหนือไปยังภาคอีสาน เป็นต้น

แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า ในระหว่างการจัดทำร่างนโยบายนั้น พรรคประชาธิปัตย์ พยายามที่จะยื่นเงื่อนไขในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญภายใน 1 ปีแรกของรัฐบาลเข้ามา อย่างไรก็ตามพรรคพลังประชารัฐ และพรรคร่วมรัฐบาล มองว่าเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำ คือการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน และไม่ต้องการให้มีการเงื่อนไขความขัดแย้ง เพราะจะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน พรรคร่วมรัฐบาลจึงเห็นพ้องกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่วาระสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ และหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญควรผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอน และควรรับฟังความเห็นจากประชาชน การตั้งธงที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ และพรรคประชาธิปัตย์อาจจะเสียคะแนนนิยม หากมัวแต่เล่นเกมการเมือง 


ดังนั้น พรรคร่วมรัฐบาล เห็นว่า ควรบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพราะมีจุดแข็งเรื่องปราบปรามการทุจริต ทำให้นักการเมือง ข้าราชการ และภาคเอกชน เกรงกลัวการกระทำผิด และไม่กี่เดือนที่ผ่านมากลไกควบคุมการทุจริตเริ่มมีผลกระทบต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะกรณีของนางนาที รัชกิจประการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ที่โดนศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้จำคุก 1 เดือน พร้อมตัดสิทธิทางการเมือง ในคดีไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.

ส่วนคดีห้าม ส.ส. ถือหุ้นกิจการสื่อฯ โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทำให้ฝ่ายค้านอยากแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวด้วย เพราะหากนายธนาธรโดนตัดสินว่ามีความผิด แต่หากแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวได้ นายธนาธรอาจจะพ้นผิด ดังนั้น หากพรรคร่วมรัฐบาลตกหลุมพราง อาจจะเข้าทางของฝ่ายค้านได้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง