fbpx

กลต.เกาะติด “Libra” เตือนนักลงุทนศึกษาข้อมูลรอบคอบ

กรุงเทพฯ 23 มิ.ย. – กลต.เผย “Libra” ถือเป็นก้าวที่กล้า ของ Facebook และพันธมิตร ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ


นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และทีมโฆษก  ระบุว่า จากข่าว “Libra” (ลิบรา) คริปโทเคอร์เรนซีที่ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และพันธมิตรอีกมากมายซึ่งก็เป็นที่รู้จักทั่วโลกไม่แพ้กัน เช่น Visa Mastercard PayPal eBay Uber เป็นต้น มีแผนจะนำมาใช้ในปี 2563 นี้ อาจจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมคนถึงให้ความสำคัญกับข่าวนี้มากนัก ขณะที่ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกก็ยังออกมามีท่าทีในเชิงระมัดระวังอย่างมาก  

นายธวัชชัยกล่าวว่า Libra ถือเป็น “ก้าวที่กล้า” ของ Facebook และพันธมิตรในการพยายามนำคริปโทฯ ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เป็นระบบชำระเงินหลักของคนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงผู้คนที่เดิมไม่มีบัญชีธนาคาร / ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ โดยจะมีต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำมาก และสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ แม้กระทั่งธุรกรรมระหว่างประเทศได้ด้วยความรวดเร็ว โดยหลักการแล้ว หากเรื่องนี้เกิดขึ้นได้จริง โดยมีการจัดการข้อกังวล / ความเสี่ยงต่าง ๆ และมีการกำกับดูแลได้อย่างเหมาะสม (ขอเน้นจุดนี้เป็นพิเศษ) ก็คงจะเป็นประโยชน์และช่วยพลิกโฉมการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งทำให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเทคโนโลยีนี้ได้ไม่น้อยเลยครับ


ที่ผ่านมาหนึ่งในข้อจำกัดของคริปโทฯ อย่าง Bitcoin ที่ทำให้ยังไม่ได้รับการยอมรับให้ใช้ในชีวิตประจำวันแบบวงกว้างเท่าเงินตราที่เราคุ้นเคยกันก็คือมูลค่าที่ค่อนข้างผันผวน ในประเด็นนี้ Libra ได้พยายามสร้างกลไกมาจัดการด้วยการมีตะกร้าของเงินฝากและหลักทรัพย์ระยะสั้นที่ออกโดยรัฐบาลสำรองไว้เต็มจำนวนสำหรับทุก ๆ 1 Libra ที่สร้างขึ้นมา หรืออาจเรียกได้ว่า Libra เป็น “stable coin” (หมายถึงคริปโทฯ ที่มีมูลค่าตามสินทรัพย์ที่อ้างอิง) 

ในขณะเดียวกัน Facebook ก็จะตั้งอีก 1 บริษัทที่ชื่อ “Calibra” เพื่อเป็นผู้ให้บริการ wallet สำหรับผู้ประสงค์จะใช้ Libra ซึ่งนอกจากการใช้จ่ายผ่าน app ของ Calibra แล้ว ได้ยินว่า Libra ยังจะไปผูกกับ messaging apps ที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลกอย่าง Facebook Messenger และ Whatsapp อีกด้วย เรียกได้ว่า Facebook พยายามทำให้ใช้ Libra ทำธุรกรรมได้สะดวกเหมือนเราส่งข้อความหากันตอนนี้


ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าคริปโทฯ รวมทั้ง stable coin อย่าง Libra เป็นความท้าทายของระบบการกำกับดูแลทั่วโลก  ตั้งแต่ความสามารถของหน่วยงานกำกับดูแลในการติดตามตรวจสอบธุรกรรมต่าง ๆ ที่ผู้คนทำระหว่างกันเองโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแล ซึ่งเคยเป็นเครื่องมือหรือจุดเกาะเกี่ยวสำคัญที่หน่วยงานกำกับดูแลใช้เป็นหลักมาถึงปัจจุบัน แถมธุรกรรมยังเป็นแบบไร้พรมแดน ก็จะมีประเด็นเรื่องอำนาจในการกำกับดูแลและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งอาจไม่เท่าเทียมและไม่สอดคล้องกันเพิ่มขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง แถมเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหม่ที่มีพัฒนาการรวดเร็ว ผู้กำกับดูแลเองก็อาจยังไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอหรือเท่าทันกับพัฒนาการเหล่านี้ รวมทั้งยังไม่มีมาตรฐานสากลหรือแนวปฏิบัติที่ดีให้ยึดเป็นหลักได้อีก 

ถ้าหน่วยงานกำกับดูแลเพิกเฉย ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปโดยไม่วางแนวทางจัดการข้อกังวลและความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งหาวิธีใช้บังคับกฎหมายกฎเกณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คงไม่สามารถเรียกได้ว่า หน่วยงานนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้เลยครับหากเกิดปัญหาที่กระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจหรือประชาชนในวงกว้าง 

สำหรับประเทศไทย มีพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่เป็นกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลในเรื่องนี้ โดยมี ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว จึงมีความเกี่ยวข้องกับ Libra ที่เป็นคริปโทฯ ในบางส่วน กล่าวคือ หากในอนาคตมีผู้ใดประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับ Libra ในฐานะศูนย์ซื้อขาย (exchange) นายหน้า (broker) หรือผู้ค้า (dealer) ก็ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. ก่อน 

ทีนี้คงมีหลายท่านสงสัยว่า ในโลกไร้พรมแดน (borderless) อะไรที่เรียกว่าเป็นการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งขอเรียนว่า ในเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยและต้องดูข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีนะครับ แต่หลัก ๆ ก็ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งมาดำเนินการในประเทศไทยด้วย ดังนั้น หากท่านเข้าไปในเว็บไซต์หรือสื่ออื่น ๆ เพื่ออ่านข้อมูลหรือชมคลิปที่ชักชวนให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลโดยดำเนินการอยู่ในต่างประเทศทั้งหมด ก็ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.ก. ที่ ก.ล.ต. ดูแล ในบริบทของการทำธุรกรรมที่มีลักษณะข้ามพรมแดนหรือไร้พรมแดน จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสิ้น ไม่ใช่มีแต่เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น 

ที่สำคัญ ขออนุญาตเรียนทุกท่านให้ใช้ความระมัดระวังหากมีใครชักชวนให้ท่านลงทุนโดยอ้างว่าเป็นการร่วมลงทุนใน Securities Token Offering (STO) ของ Libra Association หรือเหรียญชื่อ Libra Investment Token โดยอ้างว่าเป็นโอกาสร่วมลงทุนกับ Facebook หรือพันธมิตรต่าง ๆ นั้น ขอให้ระวังมาก ๆ นะครับ เพราะคนทั่วไปคงไม่สามารถเข้าถึงการลงทุนนี้ได้ครับ นอกจากนี้ กรณีคริปโทฯ ที่เป็น stable coin อาจจะมีประเด็นเกี่ยวพันกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง ก.ล.ต. จะติดตามพัฒนาการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และได้ประสานงานกับบางหน่วยงานไว้แล้วครับ

สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้อีกครั้งครับว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ก่อนลงทุน ท่านควรมั่นใจว่า มีความเข้าใจและสามารถยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้เท่านั้น ผู้ที่สนใจและประสงค์จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ขอให้ติดต่อผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อและศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ เสี่ยงสูง ดอท คอม และหากผู้ลงทุนมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้ง SEC Help Center สายด่วน ก.ล.ต. 1207 เพื่อการตรวจสอบต่อไป – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้