แนะ 3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงจากเครน อันตรายใกล้ตัว

กทม.20 มิ.ย.-นายกสภาวิศวกร ชี้เครนก่อสร้าง มีความเสี่ยง เป็นอันตรายใกล้ตัว แนะ 3 แนวทางป้องกันลดความสูญเสีย ‘เข้มงวดความปลอดภัยบริเวณก่อสร้าง-จัดอบรมเรื่องความปลอดภัยผู้ขับเครน-คาดโทษผู้รับเหมาเจ้าของโครงการต้องรับผิดชอบ’ 


จากกรณีความหวาดเสียว เสี่ยงตายแบบคนกรุงเทพฯ เมื่อเครนก่อสร้างถล่มใส่ รร.อัสสัมชัญ นักเรียนบาดเจ็บหลายคน รวมไปถึงเรื่องเครนถล่ม ป้ายล้ม ตึกถล่ม เกิดขึ้นในกทม.ครั้งแล้วครั้งเล่า หลายครั้งมีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตัวเรา พ่อแม่ ลูก หรือคนที่รัก ก็ได้นั้น


นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  นายกสภาวิศวกร กล่าวแนะนำวิธีแก้ไขต้องเข้มงวดกับเรื่องความปลอดภัยบริเวณก่อสร้าง  โดยทุกสำนักงานเขตของกทม.ต้องขยันตรวจสอบ  เอาจริง กับการทำการก่อสร้างแบบไร้ความรับผิดชอบ ต้องพักการก่อสร้างไปพลางก่อน จนกว่าจะแก้ไขให้ได้มาตรฐาน 

ขณะที่ผู้ขับเครนส่วนใหญ่มักขับได้อย่างเดียว  แต่อาจไม่มีความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยจึงต้องได้รับการอบรม ผ่านกระบวนการฝึกฝนที่ได้มาตรฐาน  มีใบรับรอง เหมือนกับประเทศอื่นๆ ก็ทำกัน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน


และผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการ ต้องรับผิดชอบ กทม.จะต้องหามาตรการเด็ดขาด หากมีเหตุจากความประมาทแบบนี้ ต้อง Black List หรือคาดโทษ ไม่ให้ได้ใบอนุญาตก่อสร้างในโครงการอื่น ใน กทม. เป็นเวลากี่ปี ตามความเหมาะสม เป็นธรรม ทำให้เกรงกลัวโทษ ต้องดูแลมาตรฐานความปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน พร้อมย้ำว่า ความปลอดภัยสาธารณะเป็นเรื่องของเราทุกคนต้องช่วยกัน

ด้านนายอมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย กล่าวว่า จากเหตุการณ์เครนก่อสร้างอาคารใกล้โรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์หักตกใส่หลังคาอาคารโรงเรียน เป็นเหตุให้นักเรียนบาดเจ็บจำนวน 5 รายนั้น เหตุการณ์เครนหักระหว่างก่อสร้างเกิดขึ้นบ่อยครั้งในอดีต จากการรวบรวมข้อมูลในอดีตพบว่า ในปี 2559 เกิดเหตุ 2 ครั้ง ในปี 2560 เกิด 2 ครั้ง ในปี 2561 เกิด 5 ครั้ง และในปี 2562 ได้เกิดเหตุการณ์มาแล้ว 2 ครั้ง 

สำหรับสาเหตุเครนถล่มระหว่างก่อสร้างอาจเกิดขึ้นจาก 6 ปัจจัยหลักได้แก่ 1.การประกอบติดตั้งไม่ถูกวิธีหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต 2. การยกน้ำหนักเกินพิกัด 3. ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งาน 4.วัสดุเสื่อมสภาพ 5. ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้และประสบการณ์ และ 6. เกิดภัยธรรมชาติ  ชึ่งสาเหตุหลักคือการประกอบติดตั้งไม่ถูกวิธีคิดเป็นร้อยละ 42 ของการเกิดเหตุในอดีต ส่วนสาเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติมีเพียงร้อยละ 10 แสดงว่าสาเหตุที่เครนถล่มส่วนมากเกิดจากความผิดพลาดในการทำงาน

ในเรื่องการควบคุมการก่อสร้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.วิศวกร 2542 เพราะอาคารสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปเข้าข่ายเป็นวิศวกรรมควบคุม ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งวิศวกรควบคุมงานที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและหลักวิชาการ มิฉะนั้น ก็อาจมีโทษทางจรรยาบรรณ มีผลต่อการเพิกถอนใบอนุญาตได้

สำหรับมาตรการป้องกันปัญหาเครนถล่มนั้น สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่

1.กำหนดให้เครนหรือปั้นจั่นเข้าข่ายเป็นโครงสร้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 เพื่อให้ต้องมีการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

2.นายตรวจตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร 2522 ต้องเพิ่มความถี่ในการเข้าสุ่มตรวจอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

3.ท้องถิ่นอาจขอความร่วมมือจากสมาคมวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย ในการเข้าร่วมการตรวจสอบอาคารระหว่างการก่อสร้าง

สำหรับประชาชน ต้องหลีกเลี่ยงหรือเพิ่มความระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้พื้นที่ก่อสร้าง ถ้าพบเห็นการก่อสร้างที่ดูแล้ว ไม่ปลอดภัย เช่น มีสิ่งของร่วงลงมาเป็นประจำ ไม่มีแผงกั้นของตก ไม่มีป้ายกำกับโครงการ ไม่พบเห็นวิศวกรควบคุมงาน ควรแจ้งหน่วยงานให้ตรวจสอบต่อไป.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง