กองทุนแอลพีจีเริ่มเป็นบวกรับ รมว.พลังงานคนใหม่

กรุงเทพฯ 12  มิ.ย. – ข่าวดีรับ “สุริยะ” ว่าที่ รมว.พลังงานคนใหม่ ราคาแอลพีจีลดลง เริ่มมีเงินไหลเข้าในรอบหลายเดือน ด้าน สบนพ.ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมศึกษานิยาม “วิกฤติพลังงาน” รองรับการใช้เงินกองทุนตามกฎหมายใหม่ รวมทั้งแผนดูแลเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต


นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพน. กล่าวว่า สถานการณ์ราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ขณะนี้ปรับลดลงเป็นผลดีต่อฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยล่าสุดราคาซีพี (ตะวันออกกลาง ) เดือนมิถุนายนอยู่ที่ 422.5 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 105 ดอลลาร์/ตัน และส่งผลให้เดือนนี้เงินกองทุนฯ บัญชีก๊าซหุงต้มมีเงินไหลเข้าประมาณ 29.4 ล้านบาท จากเดิมไหลออกมานานเป็นเวลานาน จนส่งผลให้วันที่ 9 มิถุนายน บัญชีก๊าซหุงต้มติดลบประมาณ 6,600 ล้านบาท บัญชีน้ำมันมีวงเงิน 41,435 ล้านบาท ส่งผลกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิ 34,826 ล้านบาท 

“ราคาก๊าซหุงต้มที่ลดลง ทำให้การบริหารกองทุนฯ มีความคล่องตัวขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่ก็จะบริหารได้ง่ายขึ้นตามกรอบ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ ที่เป็นกฎหมายใหม่ ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 กันยายน  2562 ที่ ครม.ใหม่จะต้องออกกฤษฎีกายุบสถาบันฯ และจัดตั้งบอร์ดและสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาบริหารงานต่อ” นายวีระพล กล่าว


นายวีระพล กล่าวว่า ทางสถาบันฯ ได้ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมศึกษาการทำแผนงานตาม พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใน 3 แผนงาน หลัก คือ 1.ความหมายของคำว่าวิกฤติพลังงานจะดูเรื่องใดเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน, เรื่องการขาดแคลนหรืออื่น ๆ เพราะจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะใช้เงินกองทุนฯ เข้าไปดูแล ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ระบุว่า  “เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง” 

2.การวางยุทธศาสตร์การทำงานของสำนักงานกองทุนฯ ที่จัดตั้งขึ้น และ 3.แผนการลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพตามมาตรา 55 ที่ให้อุดหนุนต่อไปได้เป็นระยะเวลา 3 ปี และถ้าจำเป็นสามารถขอต่ออายุการชดเชยได้อีก 2 ครั้ง (ครั้งละ 2 ปี ) จากนั้นจะไม่มีการชดเชยอีก

นายวีระพล กล่าวว่า ทั้ง 3 แผนงานดังกล่าวจะต้องทำให้เสร็จภายใน 120 วันหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ คือ ก่อนวันที่ 25 มกราคม 2563 อย่างไรก็ตาม กฎหมายระบุว่าหากมีเหตุจำเป็นก็ต้องสามารถต่ออายุเรื่องแผนงานดังกล่าวได้อีก 120 วัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่ารายชื่อว่าที่ รมว.พลังงานคนใหม่ คือ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยที่ยังไม่จัดตั้งกระทรวงพลังงาน จึงกำกับงาน บมจ.ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มาก่อน โดยงานสำคัญที่ต้องเร่งตัดสินใจ คือ เรื่องการซื้อก๊าซแอลเอ็นจีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,นโยบายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้กฎหมายใหม่ที่จะต้องวางแนวทางอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างไร, ขณะที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ คือ ในส่วนที่ ปตท.ร่วมทุนกับกลุ่มกัลฟ์ ในโครงการลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง