พบเป็นรายที่ 2 ติดเชื้อเอชไอวีจากเลือดบริจาค

กทม.10 พ.ค.-ศูนย์บริการโลหิตฯ  เผยกรณีพบติดเชื้อเอชไอวี จากการรับบริจาคโลหิต พบเป็นรายที่ 2 ชี้โอกาสหลุดรอดของเชื้อเกิดขึ้นได้ ในระยะฟักตัว ไม่มีเทคโนโลยีตรวจเจอ โอกาสเกิดได้ 1ต่อ1.6 ล้านคนเท่านั้น    เชื้อเอชไอวี มีระยะฟักตัว 5-7 วัน ดังนั้นผู้บริจาคหากไม่แน่ใจ หรือมีความเสี่ยง อย่าบริจาค  


พญ.จารุพร พรหมวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวถึงกรณีพบการติดเชื้อเอชไอวี จากการรับบริจาคโลหิต ว่า  ปัจจุบันขั้นตอนการรับบริการโลหิตมีการตรวจคัดกรองจากแบบ สอบถาม และตรวจด้วยเครื่องและน้ำยาทางการแพทย์ ที่ครอบคลุม 5 โรค สำคัญ ทั้งเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ บีและซี และซิฟิลิส  แต่คาดว่าสาเหตุที่เชื้อหลุดรอด จากเลือดผู้บริจาคจนไปถึงผู้รับโลหิตได้นั้น มาจากช่วงระยะฟักตัวของโรคที่แม้แต่เทคโนโลยีก็ไม่สามารถตรวจได้หรือที่เรียก ว่า window period ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าผู้บริจาค เพิ่งผ่านความเสี่ยงของการรับเชื้อไม่นาน และมาบริจาคเลือดทันที


พญ.จารุพร กล่าวต่อว่า การติดเชื้อเอชไอวีใช้ระยะเวลาฟักตัวของเชื้อประมาณ 5-7วัน ,ไวรัสตับอักเสบบี ระยะฟักตัวของเชื้อ 24-27 วัน ,ไวรัสตับอักเสบซี ระยะฟักตัวของเชื้อ 3-5 วัน ซึ่งตรงนี้ไม่ว่าจะเทคโนโลยีอะไรก็ตามไม่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งมาตรฐานของการบริจาคโลหิตและรับโลหิตของไทยก็เทียบเท่าสากล โอกาสได้รับเชื้อเอชไอวี มีได้แค่ 1 ต่อ 1.6 ล้านประชากรเท่านั้น 


แต่อย่างไรก็ตามต้องขอวอนผู้บริจาคโลหิต ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ตรง ไปตรงมาเพื่อการตรวจคัดกรองตั้งแต่ต้นทาง หากรู้ตัวว่าเสี่ยงและเพิ่งผ่านพ้นการมีเพศสัมพันธ์ที่ลุ่มเสี่ยงก็ไม่ควรบริจาคโลหิต  โดยควรให้ปลอดภัย อย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งหมายถึง การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนคนเดียว 

พญ.จารุพร กล่าวอีกว่า กรณีการพบติดเชื้อเอชไอวีจากการับบริจาคโลหิตรายนี้ นับเป็นรายที่ 2 หลังจากมีรายแรก เมื่อปี ค.ศ.1980 โดยสำหรับผู้รับโลหิตรายนี้ทราบว่ามีการได้รับเชื้อตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) เนื่องจากป่วยเป็นโรคเลือด ต้องใช้ปริมาณเลือดจำนวนมากกว่า 100 ถุง สำหรับโรคที่จำเป็นต้องใช้ โลหิตจำนวนมากได้แก่ ฮีโมฟีเลีย ,ลูคีเมีย   เป็นต้น 

สำหรับขั้นตอนการตรวจคัดกรองโลหิตก่อนถึงมือผู้รับจะนำมาตรวจคัดกรองด้วยการปั้นเลือด ตรวจหาเชื้อ ซึ่งทุกขั้นตอนจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อส่งต่อโลหิตให้ถึงมือผู้ป่วย ดังนั้นอาจทำให้ ช่วง window period ตรวจไม่เจอและสำหรับโลหิตที่รับบริจาค และพบว่าเป็นเลือดที่มีความเสี่ยงก็จะถูกนำไปตรวจซ้ำและหากให้ผลยืนยันติดเชื้อโรคก็จะถูกนำ ไปทำลายทันที ซึ่งปริมาณเลือดที่ไม่สามารถส่งต่อให้ผู้ป่วยได้ คิดเป็นร้อยละ 1 เท่านั้น  .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น