ผลวิจัยพบการเล่นมือถือบนที่นอนเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ

นอร์เวย์ 3 เม.ย. – ผลวิจัยจากการสำรวจพฤติกรรมก่อนนอน พบว่า คนที่เล่นมือถือก่อนนอนมีความเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ และหากการนอนไม่มีคุณภาพ หลับไม่ลึก ก็มีความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์


สถาบันสาธารณสุขแห่งนอร์เวย์ (Norwegian Institute of Public Health) ได้สอบถามนักศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18-28 ปี จำนวนมากกว่า 45,000 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมก่อนนอน เพื่อศึกษาว่าระยะเวลาในการเล่นมือถือก่อนนอน ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหรือไม่ และระหว่างการใช้มือถือในที่นอนเพื่อดูสื่อโซเชียล กับ การดูจออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกมบนมือถือ อย่างไหนจะส่งผลเสียมากกว่ากันต่อคุณภาพการนอน โดยแบบสำรวจพฤติกรรมเน้นถามพฤติกรรมการนอน การจ้องจอดูมือถือ จอทีวี หรือคอมพิวเตอร์ ก่อนนอน รวมทั้งการตื่นนอน และความเหนื่อยล้า

ผลการสำรวจชี้ว่า หากก่อนนอนยิ่งจ้องจอ ส่องแอปมือถือเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ กล่าวคือ ทุก 1 ชั่วโมงที่หมดไป ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับเพิ่มขึ้นถึง 63% และทำให้เวลาการนอนหดหายไป 24 นาที ต่อทุก 1 ชั่วโมง โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่บอกว่า ชอบเล่นมือถือ หรือ ดูทีวี ใช้คอมพิวเตอร์ก่อนนอน อย่างน้อย 3 คืน ต่อสัปดาห์ มักมีปัญหานอนไม่หลับอย่างน้อย 3 เดือน อย่างไรก็ตาม แม้ผลการวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงกันจริง ระหว่างการจ้องจอบนที่นอนกับการนอนหลับไม่สนิท หรือ นอนไม่หลับ แต่นักวิจัยก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่า การเล่นมือถือ หรือ จ้องจอคอมพิวเตอร์ ดูทีวี จะเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญคลินิกการนอนแห่งหนึ่งในอังกฤษ เผยว่า ผลการศึกษาดังกล่าว ถือเป็นหลักฐานชิ้นเอก ที่ชี้ได้ว่า การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลในทางลบต่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

โดยปกติ คนเรามีวงจรการนอนหลับ 2 ช่วง คือ ช่วงการหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก (Non Rapid Eye Sleep) และ ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep : REM Sleep) ซึ่งเป็นช่วงที่การทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ จะหยุดทำงาน ยกเว้นกระบังลม กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อตา และหัวใจ ซึ่งช่วงวงจรมักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้ามืด

ดังนั้น การนอนที่มีคุณภาพสำหรับคนวัยผู้ใหญ่ คือ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และ ควรหลับลึกให้ได้ถึง 20% – 25% ของตลอดช่วงเวลาการนอนตลอดทั้งคืน ขณะที่คนวัยรุ่นและวัยเด็ก ควรนอนไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมง แต่ผลการศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุว่า หากคนเรามีช่วงการหลับลึก ในระยะที่ 2 (REM Sleep)น้อย อาจส่งผลร้าย คือ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์.-811


BBC : Screen time in bed linked to worse sleep, study finds
CNN : Alzheimer’s risk rises when amount of deep sleep falls, study suggests

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ปล่อยแถวเจ้าหน้า​ที่​รักษาความสงบเรียบร้อยช่วงสงกรานต์

นายกฯ ปล่อยแถวเจ้าหน้า​ที่​ป้องกันอาชญากรรม รักษาความสงบเรียบร้อยช่วงสงกรานต์​ ขอบคุณเสียสละช่วงวันหยุดดูแลประชาชน​ ฝากอย่าให้เกิดสิ่งผิดกฎหมาย​ สร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศ​ หลังมีข่าวลือเยอะ​

ปชช.ทยอยกลับภูมิลำเนา จราจรมุ่งหน้าเหนือ-อีสาน เริ่มหนาแน่น

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปริมาณรถมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือและอีสาน เริ่มหนาแน่น แต่ยังเคลื่อนตัวตามกันได้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลและอำนวยความสะดวกการเดินทาง

นายกฯ ระดมทีมสร้างความเชื่อมั่น ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย

“นายกฯ แพทองธาร” ระดมทีมท่องเที่ยว ทำความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์ไทยไม่อันตราย หลังแผ่นดินไหว ตั้งเป้าเพิ่มนักท่องเที่ยวแทนยอดที่หาย ดึงชาติอื่นแทนจีน