เกร็ดพระราชพิธี : ความหมายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

กรุงเทพฯ 23 เม.ย. – ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบันทึกพระราชพิธีที่เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านจดหมายเหตุ และภาพถ่ายในอดีต รวมทั้งศึกษาจากประวัติศาสตร์ที่เรียบเรียงประมวลข้อมูลผ่านหนังสือให้ความรู้ในเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระราชพิธีหลายเรื่อง โดยเฉพาะเครื่องราชกกุธภัณฑ์ มีความหมายและความสำคัญอย่างไร ติดตามจากรายงาน


พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่มีการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ตามโบราณราชประเพณี 


นี่เป็นหนึ่งในการบันทึกพระราชพิธีสำคัญ หนังสือ “เสวยราชสมบัติกษัตรา” เรียบเรียงโดยนักประวัติศาสตร์ บันทึกข้อมูลสำคัญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากการศึกษาจากจดหมายเหตุ ภาพถ่ายในอดีต โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ หมายถึง เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธีนี้ 

โดยสิ่งสำคัญ 5 สิ่ง เรียกว่า เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ที่สำคัญที่สุด คือ “มงกุฎ” สำหรับมงกุฎของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นมงกุฎทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร น้ำหนัก 7.3 กิโลกรัม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 และมีเกร็ดของประวัติในสมัยรัชกาลที่ 4


“พระแสงขรรค์ชัยศรี” เป็นพระแสงราชศัสตราวุธประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ตามประวัติ เนื้อเหล็กของพระแสงขรรค์ชัยศรี จมอยู่ในทะเลสาบเมืองเสียมราฐ สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ช่างทำด้ามพระขรรค์ และทำฝักหุ้มทองคำลงยาประดับอัญมณี สื่อความหมายเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม

“ธารพระกร” หรือ ไม้เท้า สร้างจากไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำ เป็นไม้เท้าด้ามยาว ปลายแหลม 3 แฉก มีความหมายมงคลสื่อถึงการถวายพระพรให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

“พระวาลวิชนี” เดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นพัดใบตาล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างแส้จากขนของจามรี ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือกแทน จึงมีการใช้ควบคู่กัน ทั้งพัดใบตาล และพระแส้ โดยรวมเรียกว่า วาลวิชนี

และสิ่งที่ 5 คือ “ฉลองพระบาทเชิงงอน” ทำด้วยทองคำลงยาฝังเพชร รูปทรงรองเท้าแบบอินเดียหรือเปอร์เซีย สื่อถึงพระบรมเดชานุภาพที่แผ่ไปยังทุกที่ที่เสด็จพระราชดำเนิน

นอกจากนั้นจะมีการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระแสงองค์ต่างๆ อาทิ จักรและพระแสงตรีศูล เครื่องหมายแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และตามหมายกำหนดการในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะมีการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภคแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2562 ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง