กฟผ.เตรียมแผนลงทุน 600,000 ล้านบาท 10 ปีข้างหน้า

สุราษฎร์ธานี18 ก.พ.-กฟผ.เตรียมแผนลงทุนโรงไฟฟ้าและสายส่ง 10 ปีข้างหน้า 600,000 ล้านบาทเน้นพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น
รองรับพลังงานหมุนเวียน เสริมความมั่นคง


นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.
)กล่าวว่า ตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว
20ปี (ปี 2561-2580) หรือพีดีพี2018 กฟผ.ได้รับมอบหมายสร้างโรงไฟฟ้าหลัก
8 โรง 5,400 เมกะวัตต์
สร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์ลอยน้ำ ลงทุนระบบสายส่งรองรับพลังงานทดแทน
เป็นศูนย์กลางซื้อขายอาเซียน รวมทั้งระบบกักเก็บพลังงาน
การพัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น รองรับพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งจะมีวงเงินลงทุน
10 ปีแรกรวม6แสนล้านบาท.
โดยในส่วนเงินกู้ลงทุนจะมาจากในประเทศทั้งหมดแต่จะเป็นรูปแบบไหน
คงจะพิจารณาให้เหมาะสมกับรูปแบบในช่วงนั้นๆซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลักในช่วง
5 ปีข้างหน้า.
และเขื่อนรัชชประภาก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมแผนสร้างโซลาร์ลอยน้ำเพื่อทำให้การผลิตไฟฟ้าเสริมระบบได้ยาวนานขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าจากน้ำได้
3-6 ชั่วโมงต่อวันก็จะยืดเวลาได้อีก 8 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับโรงไฟฟ้าหลักแต่ละภาค ทุกโรงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ยกเว้นแม่เมาะยังคงใช้ถ่านหิน โดยตามแผนประกอบไปด้วย โรงไฟฟ้าน้ำพอง 650 MW เข้าระบบปี 2568, โรงไฟฟ้าพระนครใต้ 2โรง กำลังผลิต700 MW ,1,400 MW เข้าระบบปี2569 และปี2570 , โรงไฟฟ้าแม่เมาะ600 MW เข้าระบบปี 2569, โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี 2 โรง โรงละ 700 MW เข้าระบบปี 2570,2572  และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 2 โรง โรงละ 700 MW. เข้าระบบปี 2571 และ2578


ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นกับการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ
และถึงแม้หากดูสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพีดีพี
2018 โดยปี2580
สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้า กฟผ. จะลดลงจากปัจจุบันที่ร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 24
แต่สัดส่วนของกำลังผลิตโรงไฟฟ้าภาคเอกชนขนาดใหญ่( ไอพีพี) ก็ลดลงเช่นกันจากร้อยละ
33เหลือร้ายละ13 ดังนั้น โอกาสของ กฟผ.ยังมีเพื่อการผลิตเพิ่มสร้างความมั่นคงของประเทศ
และคาดว่าการปรับแผนพีดีพีก็ต้องเกิดขึ้นในอนาคต

ทิศทางการขับเคลื่อนของ กฟผ.
ยังคงมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า
เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้รูปแบบการผลิตไฟฟ้ามีความหลากหลายมากขึ้น
การดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าในราคาที่เป็นธรรมและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าว

ทั้งนี้แผนพีดีพี 2018 ภารกิจของกฟผ. แบ่งเป็น 3
ภารกิจสำคัญ คือ
1.การดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้ารายภูมิภาค
โดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น (
Flexible Power
Plant) สามารถเริ่มเดินเครื่องได้รวดเร็ว
ปรับการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น
เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง 
ควบคู่กับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้มีความเสถียรมากขึ้น เช่น โครงการโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนของ
กฟผ. ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์กับน้ำในเขื่อน
โดยจะนำร่องในเขื่อนสิรินธร จำนวน
45 เมกะวัตต์
โซลาร์เซลล์จะช่วยผลิตไฟฟ้าเสริมพีคในช่วงกลางวัน
และโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะช่วยผลิตไฟฟ้าเสริมพีคในช่วงกลางคืน รวมถึงยังเป็นต้นแบบการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้าจากความไม่เสถียรของพลังงานหมุนเวียนภายในระบบส่งไฟฟ้าด้วย
ในขณะเดียวกัน กฟผ.เสนอสร้างโซลาร์ลอยน้ำตามพื้นที่เขื่อนต่างๆ เช่น
เขื่อนรัชชประภา รวม
2,700 MW จากศักยภาพทุกเขื่อนผลิตได้ 10,000
MW โดยจะก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของแผนพีดีพี 2018


2.การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (
Grid Connection) ในภูมิภาค
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมทางด้านเทคนิค กฎระเบียบ ภาษี และการพาณิชย์
 
3.การเตรียมการรองรับพลังงานหมุนเวียน
(
Grid Modernization) กฟผ. ได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Battery
Energy Storage System : BESS) ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง คือ สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ขนาด 16 เมกะวัตต์ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ขนาด 21 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จในปี 2563 ลงทุนแห่งละ800 ล้านบาทถือเป็นเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
เพื่อช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทนและบริหารจัดการสายส่งให้สามารถนำไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ กฟผ. ยังพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน (
EGAT Micro Energy
Management System : EGAT Micro-EMS) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ
(
Micro grid) ช่วยมอนิเตอร์ในภาพรวมและรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหลักไว้
สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

อัญเชิญเรือพระที่นั่งกลับพิพิธภัณฑ์

หลังสร้างความตราตรึงให้กับชาวไทยและคนทั้งโลก กับความงดงามของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กองทัพเรือ และกรมศิลปากร เริ่มอัญเชิญเรือพระที่นั่ง และเรือพระราชพิธี กลับเข้าสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ เพราะเรือทุกลำถือเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

ย้อนรอยเส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก”

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่เส้นทางตำรวจของ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ต้องยุติลง หลังถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน กรณีพัวพันเว็บพนันออนไลน์ จากนี้ชะตาชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” ขึ้นอยู่กับ ป.ป.ช. ว่าจะได้กลับมาสวมชุดตำรวจอีกหรือไม่

“ปานเทพ” เปิดหลักฐานสัญญาชัด 71 ล้านเป็นชื่อ “มาดามอ้อย”

“อ.ปานเทพ” เปิดหลักฐานหนังสือสัญญาบอกชัด 71 ล้านบาท เป็นชื่อ “มาดามอ้อย” เปิด 3 รายชื่อให้เร่งตรวจสอบ หวั่นโยกย้ายทรัพย์สิน