เจาะเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ยา เปรียบเทียบฉบับเก่า-ใหม่

สำนักข่าวไทย 3 ก.ย.- ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำ และเตรียมเสนอตามขั้นตอนเพื่อออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่มีผู้เกี่ยวข้องออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นสำคัญที่มีการคัดค้าน คือ การเปิดช่องให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ “เภสัชกร” สามารถจ่ายยาได้ รวมถึงความเชื่อมโยงที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชน


ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ มีการผลักดันโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. และปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ จะขอให้แก้ไข พ.ร.บ.ยา ฉบับเดิม ที่มาใช้ตั้งแต่ปี 2510 ให้มีความทันสมัยและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น แต่ประเด็นที่มีการเห็นต่างมากที่สุดอยู่ที่ “การให้บุคคลในวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่ “เภสัชกร” สามารถจ่ายยาได้”


ท่าทีของสภาเภสัชกรรมออกแถลงการณ์คัดค้านเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ใน 9 ประเด็น เช่น การแบ่งแยกประเภทยาที่ไม่เป็นไปตามสากล การตัดบทบาทของวิชาชีพเภสัชกรรมในการปรุงยาและจ่ายยา การให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน 1 แห่ง ทำให้เกิดอาชีพ ‘เภสัชกรแขวนป้าย’ ฯลฯ 


สำนักข่าวไทย  อสมท  เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ.2510 กับ ร่าง พ.ร.บ.ยา ….ที่กำลังเป็นประเด็น 2 เรื่อง 

1.เรื่อง การแบ่งประเภทของยาตามร่าง มาตรา 4 ว่าด้วย นิยาม

• ปี 2510 ฉบับเดิม มีการกำหนดนิยามคำเดิม มี 4 ประเภท

-ยาอันตราย

-ยาควบคุมพิเศษ

-ยาสามัญ

-ยาแผนปัจจุบัน  หรือยาที่ไม่มีอันตราย  

แต่ในร่าง พ.ร.บ.ยา ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ นี้มีการปรับปรุง โดยยึดหลักการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากการที่ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ยาตามหลักสากลส่วนใหญ่จึงแบ่งยาเป็น 3 กลุ่ม คือ

-ยาควบคุมพิเศษ คือ ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ Prescription only

-ยาอันตรายพิเศษ คือ ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร Pharmacist only

-ยาสามัญ คือ ยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง Self-medication  ซึ่งเป็นที่เข้าใจโดยง่ายของประชาชนในการได้มาซึ่งยารักษาโรค

2.เรื่องหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรมในการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ โดยบุคคลผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับยามีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 

แพทย์ – ตรวจรักษา วินิจฉัยอาการ และสั่งยา

พยาบาล – ดำเนินการสั่งยา

เภสัชกร – จัดยา จัดยาตามใบสั่งแพทย์ ร่วมวิเคราะห์การสั่งยา อธิบายสรรพคุณยาให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ

พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 บัญญัติให้หน้าที่ในการจ่ายยา-เภสัชกร แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ สั่งจ่ายยาสำหรับรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตนเท่านั้น แต่ พ.ร.บ.ยาใหม่ ผู้มีหน้าที่มีการจ่ายยา เพิ่มขึ้นมาจากเดิมอีก 4 ด้าน พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย

นพ.วันชัย สันติยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. ก็ออกมาบอกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกับเนื้อหา 90% ของ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ มีที่เห็นต่างแค่ 10% เท่านั้น จึงจะเสนอส่วนที่เห็นพ้องไปตามขั้นตอน ส่วนที่เห็นต่างก็อาจจะเขียนว่าให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับแก้ได้ภายหลัง

ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรม ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา โดยเป็นหนังสือขอคัดค้านร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ…(ฉบับใหม่) เมื่อวันวันที่ 27 สิงหาคม 2561.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี