กองสลากฯขอฟังความเห็นก่อนออกสลากชุดเอง

นนทบุรี 28 มี.ค.-สำนักงานสลากฯ ขอประชาพิจารณ์ 3 เดือน สรุปส่งบอร์ดมิ.ย.นี้ ก่อนออกสลากรวมชุดเอง หวังดึงราคาลงมาใกล้เคียงฉบับละ 80 บาทให้ได้มากที่สุด


นายธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในฐานะโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล แถลงข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำสลากแบบรวมชุดว่า การแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลขายเกินราคาใบละ 80 บาท ในช่วงที่ผ่านมาในส่วนสลากใบแก้ไขปัญหาไปได้มาก โดยราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ใบละ 80 บาท แต่ในส่วนของสลากชุด ยังมีการขายเกินราคาอยู่ แต่การรวมชุดจำนวนใบลดลง ส่วนใหญ่อยู่ที่ชุดละ 2 ใบ 3 ใบ และ ชุดละ 5ใบ ราคาขายคิดเฉลี่ยต่อใบก็ลดลงเช่นกัน จากเดิมราคาเคยอยู่ช่วงใบละ 120 ถึงใบละ 150 บาท ปัจจุบันลดลงมาเหลือเฉลี่ยใบละ 100 ถึง120 บาท แต่ภาพรวมสลากที่วางขายตามแผง กลับพบว่า จำนวนสลากใบลดลง จากที่เคยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 70 ขณะที่สลากชุดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามกระแสที่สังคมสนใจผู้ถูกรางวัลสลากชุด 180 ล้านบาท และผลจากการติดตามข่าวกรณีถูกรางวัล 30 ล้านบาทระหว่างครูปรีชาและหมวดจรูญ  ผู้ขายสลากจึงตั้งราคาขายสูงเพื่อขายแก่ประชาชนที่พร้อมซื้อ

ดังนั้นคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงเห็นชอบให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจัดทำสลากชุดเอง และกระจายไปยังผู้ค้าสลากต่อไป ในราคาต้นทุนเพื่อให้ราคาสลากชุดมีราคาลดลงใกล้เคียงกับใบละ 80 บาทให้ได้มากที่สุด ซึ่งในช่วง  3 เดือนนับจากนี้ไปคือ เมษายนถึงมิถุนายนนี้ สำนักงานสลากฯ จะดำเนินการในการเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น หรือประชาพิจารณ์ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.glo.or.th หรือสามารถส่งความเห็นผ่านตู้ปณ. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างทั่วถึงรวมถึงจะสอบถามไปด้วยในครั้งนี้ว่า ต้องการซื้อสลากในรูปแบบไหนในอนาคต  ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายพิมพ์สลากฯเพิ่มขึ้นไปอีก ยังคงไว้ที่งวดละ 80 ล้านใบ และยังไม่มีนโยบายขายสลากแบบออนไลน์ อย่างลอตโต้


นอกจากนี้ ทีมโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล คณะทำงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร จะเดินทางลงพื้นที่ เพื่อรับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น  ผู้ซื้อ ผู้ขาย เจ้าหน้าที่จังหวัด นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ในภูมิภาคต่างๆ  ทั่วประเทศอีกด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป และภายใน เดือนมิถุนายนนี้สำนักงานสลากฯ จะสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวข้างต้น  เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสลากพิจารณาซึ่งจะนำไปสู่การทำสลากชุดที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและความเหมาะสมกับสังคมไทยต่อไป

“การสอบถามจะถาม 3 กลุ่มคือ ผู้ซื้อ สอบถามว่า ต้องการซื้อสลากชุดหรือไม่ ซื้อในรูปแบบไหน ในรูปแบบ 1 ใหญ่ แทน 5 ใบรวมชุด หรือเป็นรวมชุด 5 ใบเล็ก หรือรูปแบบอื่น ๆ  รวมถึงสอบถามว่า ต้องการซื้อสลากในรูปแบบไหนในอนาคต ส่วนผู้ขายโดยเฉพาะคนพิการรายย่อยและสมาชิกองค์กรการกุศลต่าง ๆ ทั้งนิติบุคคลและรายบุคคล ก็จะสอบถามว่า ถ้าหากทางสำนักงานสลากฯ จะทำสลากชุดเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร รูปแบบสลากชุด การจัดจำหน่ายอย่างไร  ตู้เอทีเอ็ม โควต้า หรือการจำหน่ายเฉพาะเจาะจงที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษและมีความซื่อสัตย์ในการจำหน่าย และกลุ่มเอ็นจีโอ จะสอบถามว่า ถ้าหากสำนักงานสลากฯ ออกสลากชุดเอง จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ จะเป็นการมอมเมาสังคมหรือไม่ จะถามให้ครบถ้วน ผ่าน 3 รูปแบบทั้ง ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.glo.or.th ให้ทุกคนแสดงความเห็น จดหมายเปิดผนึกโดยขอให้ลงชื่อผู้แสดงความเห็น และทีมโฆษกสำนักงานสลากฯและคณะทำงานจะลงพื้นที่สำคัญๆ ที่มีการซื้อขายสลากจำนวนมากและการทำโฟกัสกรุ๊ป จากนั้นในเดือนท้ายๆ ของช่วง 3 เดือนนี้(เม.ย.ถึง มิ.ย.) จะส่งแนวทางดำเนินการของสำนักงานสลากฯไปสอบถามอีกครั้ง จากนั้นจะสรุปส่งให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณามิ.ย.นี้เพื่อพิจารณาตัดสินต่อไป  สลากชุด จะดำเนินการออกโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลค่อนข้างแน่ ถ้าไม่มีกระแสคัดค้านจากกลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มประชาชนอย่างรุนแรง” นายธนวรรธน์ กล่าว

สำหรับมาตรการในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคานั้น โฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาสลากเกินราคานั้น เกิดจากปัจจัยแวดล้อมหลายประการ การแก้ไขปัญหาจึงต้องใช้มาตรการหลายอย่างประกอบกันในทุกมิติ รวมทั้งต้องมีความต่อเนื่องในการดำเนินการ ในห้วงที่ผ่านมา จาก road map ระยะที่ 2 สำนักงานฯ ได้สร้างโอกาสในการเข้าถึงสลากอย่างเป็นธรรม ด้วยระบบซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านระบบธุรกรรมของธนาคารกรุงไทยและจัดส่งสลากผ่านไปรษณีย์ ถึงผู้รับโดยตรง ในราคาต้นทุน ฉบับละ 70.40 บาท ตลอดจนการปรับปริมาณสลากในตลาดให้เข้าสู่สมดุล จาก 37 ล้านฉบับ เป็น 50 ล้านบับ ในเดือนตุลาคม 2558 และ 80 ล้านฉบับ ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ตามความต้องการของตลาด เพื่อสร้างสมดุลราคาในตลาดขายปลีกสำหรับผู้ซื้อ และสมดุลราคาที่ผู้ขายพอใจมากขึ้น 


จากนี้ไป จะเข้าสู่ road map ระยะที่ 3 จะมีการพัฒนาระบบซื้อ-จองล่วงหน้าฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งจะมีการคัดกรองผู้ขายจริงให้อยู่ในระบบที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้โดยประชาชนรวมถึงภาคประชาสังคม ทั้งนี้ จะยังคงความเข้มข้นในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดสัญญา  เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเกินราคาอย่างเป็นระบบและกระจายโอกาสในการเข้าถึงการซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอย่างเป็นธรรมและเป็นระบบยิ่งขึ้น-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง