ช่องโหว่การเบิกจ่ายงบช่วยคนยากไร้

กรุงเทพฯ 26 ก.พ. – การให้สิทธิเบ็ดเสร็จกับผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ในการตรวจสอบ เบิกจ่ายงบช่วยเหลือ เป็นช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตเงินสงเคราะห์ฯ ทำให้ผู้ยากไร้ได้รับความช่วยเหลือไม่เต็มที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเดินหน้าตรวจสอบอย่างเข้มงวด


การจ่ายเงินสงเคราะห์ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ยึดตามระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ว่าด้วยการสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2552 เมื่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ หรืออาสาสมัคร พม.ไปพบผู้ยากไร้ หรือผู้ยากไร้เข้ามาขอความช่วยเหลือเองที่ศูนย์ฯ จากนั้นศูนย์ฯ จะส่งนักสังคมสงเคราะห์ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริงและบันทึกข้อมูล หากเข้าข่ายยากจน จะขอเอกสารสำคัญ คือ สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ก่อนมากำหนดแนวทางช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งช่วยเป็นเงินและสิ่งของ โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นผู้อนุมัติ ก่อนจ่ายเงินหรือมอบสิ่งของให้ผู้มีสิทธิ รายละไม่เกิน 3,000 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 3 ครั้ง/ปีงบประมาณ 


การให้อำนาจสิทธิขาดกับผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจเอกสารการขอเงิน พิจารณาว่าจะจ่ายให้ใคร เท่าไหร่ และให้แบบไหน แม้ง่ายต่อการทำงานและรวดเร็ว แต่กลับเป็นดาบสองคม เพราะการเบิกจ่ายเบ็ดเสร็จที่เจ้าหน้าที่ จึงเอื้อต่อการทุจริต ทั้งการสวมสิทธิ ปลอมเอกสาร และจ่ายเงินไม่ครบตามที่ขอเบิก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้


กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้รับเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ ยากจน ผู้ป่วยเอดส์ และคนไร้ที่พึ่ง ต่อเนื่องทุกปี โดยปีงบประมาณ 2559 ได้งบทั้งสิ้น 599 ล้านบาท ช่วยประชาชนได้ 298,022 ราย ขณะที่ปีงบประมาณ 2560 ได้รับ 493 ล้านบาท จัดสรรให้หน่วยงานในสังกัด ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั้ง 77 จังหวัด โดยมี 6 จังหวัดได้รับงบเกิน 5 ล้านบาท คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และยะลา แต่จากการตรวจสอบพบส่อแววทุจริตแล้ว 14 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี ที่ได้งบอุดหนุนสูงถึง 10.5 ล้านบาท รองลงมา คือ เชียงใหม่ 8.5 ล้านบาท อุดรธานี 7.3 ล้านบาท ขอนแก่น 6.9 ล้านบาท สระบุรี 2.5 ล้านบาท หนองคาย 1.5 ล้านบาท บึงกาฬ 1.5 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยา 1.3 ล้านบาท กระบี่ 1.2 ล้านบาท ตรัง 1.2 ล้านบาท น่าน 1 ล้านบาท ตราด 920,000 บาท ร้อยเอ็ด 700,000 บาท และสระแก้ว 630,000 บาท 

โครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้โครงการนี้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปี แต่ที่ถูกตรวจสอบเบื้องต้นเฉพาะในปีงบประมาณ 2560 อย่างไรก็ตาม อาจตรวจสอบย้อนหลังได้ หากพบข้อมูลหรือเบาะแสส่อพิรุธ และปีงบประมาณนี้ โครงการก็ยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางการจับตาและตรวจสอบว่า ความช่วยเหลือจะถึงมือผู้ยากไร้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง