กรุงเทพฯ
29 ต.ค.-ปัญหาเมืองขยายตัว กระทบ ผู้ค้าก๊าซแอลพีจีรายใหม่ตั้งโรงบรรจุ
มีผลต่อแผนส่งเสริมการแข่งขัน ธพ.ถกเปิดเสรีโรงบรรจุ
แต่หวั่นปัญหาซ่อมบำรุงถังก๊าซ
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
กล่าวว่า ในขณะนี้
ปัญหาหาการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ทั่วประเทศส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโรงบรรจุก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี
โรงใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการตามมาตรา 7 ไม่สามารถเปิดโรงบรรจุก๊าซได้ในทุกพื้นที่
กระทบต่อแผนการส่งเสริมการแข่งขัน ดังนั้น เมื่อเร็วๆนี้ กรมฯ ได้หารือร่วมกับประกอบการตามมาตตรา7
กว่า 20 ราย เพื่อให้กำหนดวิธีการบริหารจัดการถังก๊าซแอลพีจี และโรงบรรจุก๊าซ
โดย ให้ร่วมกันคิดว่าหากเปิดการบรรจุก๊าซเสรี
โดยไม่ต้องอิงกับสัญญาตัวแทนมาตรา7 จะทำได้หรือไม่ เบื้องต้นเท่าที่ทราบคือ
หากบรรจุข้ามแบรนด์ ก็จะมีปัญหาว่า
ใครจะเป็นผู้บำรุงรักษาถังก๊าซที่จำหน่ายต่อประชาชน เพราะเดิม ผู้ค้ามาตรา7
เจ้าของแบรนด์จะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด
“
หากไม่มีการปลดล็อกการบรรจุก๊าซแอลพีจีให้เสรี ในอนาคตปัญหาการแอบบรรจุก๊าซข้ามแบรนด์ก็ยังมีอยู่
รายเล็กอาจจะเอาเปรียบผู้ค้ารายใหญ่ ส่วนโรงบรรจุก็ไม่อยากรับถังเก่า
เพราะมีต้นทุนค่าซ่อมบำรุง ผู้บริโภคก็จะเสียประโยชน์ โดย กรมฯจะหารือร่วมกับผู้ประกอบการอีกครั้งปลายเดือนพ.ย.นี้
ก่อนจะสรุปรูปแบบที่ชัดเจนต่อไป”นายวิฑูรย์ กล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ
นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) กล่าวว่า สมาคมฯ มีความเป็นห่วงหากรัฐเปิดให้บรรจุก๊าซได้เสรี
อาจทำให้เกิดปัญหาซ้ำรอยในอดีตที่ไม่มีผู้ดูแลรักษาถังก๊าซ
จนรัฐต้องออกระเบียบไม่ให้มีการบรรจุก๊าซข้ามแบรนด์ รวมถึงต้องจัดทำโครงการ
“รัฐช่วยราษฎร์ แลกถังขาวฟรี” เมื่อปี 2554 เพื่อเรียกคืนถังก๊าซที่ไม่มีคุณภาพออกจากตลาดกว่า
1.2 ล้านใบ
ปัจจุบัน
ถังก๊าซแอลพีจีมีราว 25 ล้านใบ และ ผู้ค้ามาตรา7 เช่น ปตท. สนามแก๊ส ยูนิคแก๊ส
เป็นผู้ดูแลซ่อมบำรุงถังก๊าซ
ซึ่งจะมีการตรวจเช็คสภาพถังก๊าซในทุกรอบการบรรจุอยู่แล้ว รวมถึงทดสอบคุณภาพครั้งใหญ่ตามกฎหมายกำหนดในทุกๆ
5 ปี– สำนักข่าวไทย