ธปท.เผยระบบการเงินไทยปี 2567 มีเสถียรภาพ

กรุงเทพฯ 3 ม.ค. – ธปท.เผยแพร่รายงานระบบการเงินไทยปี 2567 มีเสถียรภาพ ฐานะการเงินมั่นคง มีสภาพคล่องเพียงพอ ไม่มีสัญญาณเกิดฟองสบู่-เก็งกำไร จับตาความเสี่ยงทั้งสินเชื่อขยายตัวชะลอลง-คุณภาพสินเชื่อด้อยลง-หนี้ครัวเรือน


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการติดตามเสถียรภาพระบบการเงินไทยปี 2567 โดยระบุว่า ระบบการเงินไทยในภาพรวมมีเสถียรภาพและสามารถทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงได้ทั้งภาคสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ และบริษัทประกันภัย โดยรวมมีฐานะการเงินที่ดีมีความมั่นคง และมีสภาพคล่องเพียงพอ ระบบการเงินไม่ได้มีสัญญาณของการเกิดฟองสบู่ (asset price bubble) หรือการเก็งกำไร (search for yield) สะท้อนจากราคาสินทรัพย์ทางการเงินและอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านการก่อหนี้ของภาคครัวเรือน (household leverage) ลดลง สะท้อนกระบวนการปรับลดหนี้ครัวเรือน (household deleveraging) ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว

อย่างไรก็ดี ระบบการเงินไทยในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงในบางจุด ได้แก่ (1) การขยายตัวของสินเชื่อและการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ชะลอลง และส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยมีสาเหตุจากทั้งความต้องการสินเชื่อที่ลดลง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ยังไม่มีความต้องการลงทุนเพิ่มจากแนวโน้มทาง ธุรกิจที่ไม่เอื้อ หรือมีความต้องการลงทุนโดยใช้แหล่งเงินอื่น การชำระคืนหนี้ที่กู้ยืมไปในช่วงวิกฤตโควิด-19 และความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้บางกลุ่มที่อยู่ในระดับสูง อาทิ ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางและธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small and medium enterprises : SMEs) ในบางอุตสาหกรรม ประกอบกับ นักลงทุนยังมีความระมัดระวังในการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน จากการฟื้นตัวช้าในบางภาคธุรกิจการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ และปัญหาธรรมาภิบาลของบางบริษัท ทำให้การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมีต้นทุนสูงขึ้น (2) คุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง โดยคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ ลูกหนี้ SMEs ที่ฟื้นตัวช้าหรือเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้าจีน รวมถึงครัวเรือนที่รายได้ฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับรายจ่ายและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาระหนี้สูงหรือเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินมาก่อน ทำให้ลูกหนี้กลุ่มนี้อาจได้รับสภาพคล่องและมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนบางรายส่งผลให้นักลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น แม้จะเป็นปัญหาเฉพาะของบางบริษัท และ (3) หนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ของธุรกิจขนาดใหญ่บางรายที่อยู่ในระดับสูง โดยหนี้ครัวเรือนของไทยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (gross domestic product : GDP) ยังสูงเป็นอันดับต้น ๆเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แม้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนี้ภาคครัวเรือนในระดับสูงลดทอนกำลังซื้อของครัวเรือน และอาจกระทบต่อกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงในระยะข้างหน้า ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงทำให้ครัวเรือนมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงลดลงหากมีปัจจัยที่กระทบต่อรายได้ในอนาคต (income shocks) ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่บางรายในปัจจุบันมีฐานะการเงินที่ค่อนข้างดีและมีสภาพคล่องเพียงพอ แต่มีการก่อหนี้ในระดับสูง ทั้งในส่วนของสินเชื่อและตราสารหนี้ ซึ่งอาจเป็นการสะสมความเปราะบางทางการเงิน จึงต้องมีการติดตามความเสี่ยงดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง


มองไปข้างหน้า ยังต้องติดตามพัฒนาการความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อระบบการเงินไทย ดังนี้ (1) พัฒนาการ ด้านสินเชื่อและตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่อาจยังชะลอลงและส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่รายได้อาจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ มีภาระหนี้และค่าใช้จ่ายสูง อาจมีสภาพคล่องลดลง โดยต้องติดตามผลกระทบที่จะ มีต่อการใช้จ่าย การลงทุน รวมถึงผลกระทบที่อาจมีต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจโดยรวม (2) ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลงอาจส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อด้อยลงอีก โดยเฉพาะธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนเปราะบางหรือมีความเสี่ยงด้านการจ้างงาน ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้มากกว่า 1 วงเงิน (cross default) หรือในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เคย ผิดนัดชำระหนี้มาก่อน และ (3) การระดมทุนผ่านตราสารหนี้ภาคเอกชนที่อาจทำได้ยากขึ้นหรือมีต้นทุนที่สูงขึ้น จากทั้งปัจจัยภายในประเทศที่มาจากความกังวลด้านการบริหารสภาพคล่อง การดำเนินธุรกิจและการบริหารภาระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้บางราย ทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มระมัดระวังในการลงทุนและเลือก ถือครองสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยลบจากภายนอกประเทศ อาทิ ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical risk) และทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ การค้า และการเมืองของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีความไม่แน่นอนสูง ที่อาจส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนกว่าช่วงที่ผ่านมา.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท

สั่งปิดกิจการโรงงานลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์

“เอกนัฏ” ลุยจับโรงงานลักลอบขนย้ายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกยึดอายัดจากปราจีนบุรี มามหาชัย จ.สมุทรสาคร พบเป็นเครือข่ายเดียวกับ 2 โรงงานที่ถูกสั่งปิดก่อนหน้านี้ ขยายผลตามจับจนเจอขยะอิเล็กทรอนิกส์ลอตใหม่อีกกว่า 1,200 ตัน สั่งปิดกิจการทันที

ข่าวแนะนำ

อธิการบดี ม.สยาม ยันไม่เกี่ยวข้องคอร์สอบรมอาสาตำรวจ

อธิการบดี ม.สยาม แถลงโต้ หลังตกเป็นข่าวมีคอร์สอบรมอาสาตำรวจคนจีนในมหาวิทยาลัย ลั่นมหาวิทยาลัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เตรียมดำเนินคดีกับทุกบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พบนายกฯ

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าพบนายกรัฐมนตรี ยืนยันความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และการป้องกันภัยจาก online scams

“เม้งการยาง” ยันไม่ทราบขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น

“เม้งการยาง” พบตำรวจไซเบอร์ เผยไม่ทราบว่าขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น หลังถ่ายรายการยังให้เงินน้องไป 2,000 บาท ด้าน “เมลาย รัชดา” เผยจะเลิกคอนเทนต์ขยะ และเลิกจัดทริปน้ำไม่อาบ

“ภูมิธรรม” ขอไม่ลงรายละเอียด ช่วย 4 ลูกเรือประมงไทย

“ภูมิธรรม” รมว.กลาโหม เผยปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย ต้องรอจบกระบวนการ ย้ำรัฐบาล-กต.ประสานอยู่ตลอด แต่ขอไม่ลงรายละเอียด เพราะอาจกระทบการเจรจา