“ชัยธวัช” เปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน

รัฐสภา 3 ส.ค.-“ชัยธวัช” เปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ชี้ “ปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ” 5 มติ ต้องคุ้มค่า-ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่-เสริมพลังประชาชน-สร้างเสถียรภาพ-สร้างประชาธิปไตย ซัดต้องไม่ตอบโจทย์ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง “บ้านใหญ่”

นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวปาฐกถาพิเศษ โครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพบประชาชนประจำปีงบประมาณ 2567 ในหัวข้อปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ ว่า การปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ ไม่อยากให้หมายถึงแค่เรื่องการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเท่านั้นแต่อยากเชิญชวนประชาชนให้คิดถึงการปลดล็อกระบบงบประมาณของประเทศที่จะยกเครื่องและปฏิรูปกันอย่างครั้งใหญ่ ซึ่งการดำเนินนโยบายสาธารณะและการผลักดันนโยบายต่างๆ ต้องคำนึงอย่างน้อย 3 เรื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ คือ คน กฎ และ งบ


โดย คน หมายถึงหน่วยงานผู้ที่จะเข้ามาดำเนินนโยบาย ส่วนกฎ คือ กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และงบฯ ก็คืองบประมาณที่ต้องนำมาใช้

นายชัยธวัช กล่าวว่า ฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องคือเรื่องกฎ และงบประมาณ และถึงแม้งบประมาณจะเสนอมาจากฝ่ายบริหาร แต่ผู้ที่จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณคือสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาในฐานะที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามา ด้วยความสำคัญของงบประมาณซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงและสถานการณ์ปัจจุบันยังอยู่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ซึ่งเป็นที่มาของการจัดเวทีในวันนี้


นายชัยธวัช ยังกล่าวว่า เวลาเราพูดถึงงบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในสภาวะที่เศรษฐกิจทดถอยหลายคนอาจนึกถึง ตัวG ใหญ่ นั่นคือค่าใช้จ่ายในภาครัฐ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศแต่สำหรับเวทีในวันนี้อยากจะชวนคุย ชวนคิดถึงงบประมาณของรัฐที่ไม่ใช่ตัว G ใหญ่ในสมการทางเศรษฐศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่อยากให้คิดถึงเรื่องของงบประมาณใน 5 มิติ คือ เรื่องของความคุ้มค่า เพราะงบประมาณมาจากภาษีของประชาชน แต่การจัดสรรงบประมาณของภาครัฐที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าไม่คุ้มค่าโดยมีสาเหตุมาจากอย่างน้อย 4 เรื่องประกอบด้วยการตั้งประมาณการของโครงการที่เกินจริง และการประเมินการต้นทุนโครงการที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไม่มีการใช้อย่างคุ้มค่าแบบที่มีการคาดการณ์เอาไว้ก่อนดำเนินโครงการ , ภาครัฐมักจัดทำตัวชี้วัดโดยเน้นแต่ผลผลิต เช่น ตั้งโครงการอบรมสัมมนาและตั้งตัวชี้วัดว่าจะสามารถจัดได้กี่ครั้งมีคนเข้ามาร่วมกี่คนแต่ไม่สนใจตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพธ์ ว่า คนที่เข้าอบรมจะมีศักยภาพเท่าไหร่และได้อะไรจากการผ่านการอบรม ,ความซ้ำซ้อนการดำเนินงานทั้งของรัฐบาลและหน่วยงานในกระทรวงต่างๆ

ส่วนมติที่ 2 งบประมาณจะต้องตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆของประเทศและต้องใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การจัดสรรงบประมาณ ระบบงบประมาณ ที่ต้องพร้อมจะรับมือกับความท้าทายใหม่ๆและสร้างโอกาสกับประเทศ ไม่ใช่การตั้งงบประมาณซ้ำแบบเดิม ตามความเคยชินแบบไม่มียุทธศาสตร์

สำหรับมิติที่ 3 คือ คือการเสริมพลังประชาชนให้กลุ่มที่ขาด ต้องใช้งบประมาณเข้าไปเสริมระบบ แต่การจัดสรร งบประมาณปี67และปี68 ไม่มีงบที่จะเข้ามาเสริมพลังประชาชนมากเท่าที่ควร ยังขาดการยกระดับเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการเสริมพลังอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสรรงบประมาณต้องไม่คิดแทนประชาชนเองหมดทุกเรื่อง เช่น โจทก์เรื่องสวัสดิการสำหรับเด็กเล็ก สวัสดิการการเลี้ยงดูบุตร พอไปดูไส้ในแล้วกลับไม่มีงบประมาณให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้โดยเฉพาะการส่งเสริมให้คนมีบุตร รวมถึงกลุ่มแรงงานที่จะต้องมีการพัฒนาอัพสกิล-รีสกิล พบว่ามีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีอัตราการเก็บภาษีใกล้เคียงกัน


การยกระดับรายได้ของเกษตรกร พบว่ามีปัญหาจำนวนมากทั้งภัยแล้ง หนี้เยอะ ไม่มีเทคโนโลยี แต่กลับไม่เห็นงบประมาณหรือแผนการในการดำเนินการเกี่ยวกับภาคการเกษตร แม้รัฐบาลจะมีโครงการชดเชยความเสียหายไร่ละ 1,000 บาทและโครงการปุ๋ยคนละครึ่งที่ตั้งงบประมาณเอาไว้ 3 หมื่นล้านบาทเป็นโครงการที่ไม่เข้าใจปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง เป็นการตั้งโครงการภายหลังจากที่เกษตรกรไม่ต้องการในการใช้ปุ๋ยไปแล้ว ซึ่งเราเคยชินกับการใช้งบประมาณและเสพติดกับการใช้งบประมาณในการอุดหนุนโดยไม่มีการสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นงบประมาณที่เราอยากเห็นต้องตอบโจทย์ประเทศจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ

มิติที่ 4 คือ ระบบงบประมาณที่ดีต้องสร้างเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจด้วยการบริหารให้ มีพื้นที่ทางการคลังที่เพียงพอเพราะโลกในปัจจุบัน มีความไม่แน่นอนสูง เช่น โรคอุบัติใหม่ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง เป็นต้น ซึ่งเราไม่รู้ว่าเราจะเจออะไรใหม่ๆแบบฉับพลัน ตนไม่ได้บอกว่าเราจะต้องบริหารงบประมาณแบบอนุรักษ์นิยมคือ
ไม่ใช้จ่ายเพียงแต่ ต้องมีสมดุลย์และพร้อมเสมอในการเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของโลกยุคใหม่ที่จะเกิดขึ้น และต้องเชื่อมโยงกับโลกด้วย

“งบประมาณในการสร้างประชาธิปไตยต้องไม่เป็นแบบระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม ปฏิเสธไม่ได้ว่างบประมาณถูกนำไปใช้ในการสร้างระบบอุปถัมภ์ค้ำชูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการอุปถัมภ์การระหว่างรัฐมนตรีกับ สส. หรือการอุปถัมภ์การระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ รวมถึงการใช้งบประมาณสร้างฐานการเมืองในพื้นที่ เสริมสร้างระบบการเมืองอุปถัมภ์ที่เรามักจะพูดกันว่า ”บ้านใหญ่“ ซึ่ง สส. ฝ่ายค้านได้ทดลองนำงบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองในการพัฒนาเมืองจัดสรรว่า งบประมาณถูกไปกระจุกตัวอยู่จุดใดบ้าง ในแง่การพัฒนาตอบโจทย์ชัดเจนการอุปถัมภ์ทางการเมืองหรือไม่ ” นายชัยธวัช ระบุ

นายชัยธวัช ยังระบุว่า ไม่อยากชวนมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแต่จะให้มาร่วมกันคิดว่าเราจะจัดสรรงบประมาณอย่างไรด้วยความเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองและการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการกระจายอำนาจ การกระจายงบประมาณไปสู่ประชาชน ไปสู่ท้องถิ่น ในอนาคตเหล่านี้จะทำให้ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาตอบโจทย์ของสังคมและประชาชนมากขึ้น

จากนั้น ช่วงเช้าเป็นเวทีเสวนาความคืบหน้าและความผิดปกติของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2568 โดยมีนายวรภาพ วิริยะโรจน์ สส. พรรคก้าวไกล, นายวุฒิพงศ์นามบุตร สส. พรรคประชาธิปัตย์, นายฐากร ตัณฑสิทธิ สส.พรรคไทยสร้างไทย แลั ผศ.ดร.อาทิตย์ ทองอินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ขณะที่ช่วงบ่ายจะเป็นการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมและมีวิทยากรซึ่งเป็น สส. จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยกลุ่มที่หนึ่งเป็นหัวข้อการปรับกระบวนการและวิธีการงบประมาณปี 2569, กลุ่มที่สอง เป็นตัวอย่างกระบวนการงบประมาณเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างสรรค์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่, กลุ่มที่สามตัวอย่างกระบวนการงบประมาณเพื่อการพัฒนาทักษะฝีมือของแรงงาน, กลุ่มที่สี่ตัวอย่างกระบวนการงบประมาณในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและการควบคุมอาชญากรรมออนไลน์.-316.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี